อธิบดีกรมประมงเป็นประธานเปิดโครงการ "ประมงร่วมอาสา...พาปลากลับบ้านจากโขงสู่หนองหาร” ประจำปี 2567

 กลุ่มบูรณะแหล่งน้ำเพื่อการประมง


อธิบดีกรมประมงเป็นประธานเปิดโครงการ "ประมงร่วมอาสา...พาปลากลับบ้านจากโขงสู่หนองหาร” ประจำปี 2567 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

อธิบดีกรมประมงเป็นประธานเปิดโครงการ

กรมประมง จับมือ 35 ชุมชนอนุรักษ์
Kick Off “ประมงร่วมอาสา...พาปลากลับบ้านจากโขงสู่หนองหาร” ประจำปี 2567
เตรียมเพิ่มประชากร “ปลาไทย” กว่า 2 ล้านตัว ลงสู่หนองหาร จ.สกลนคร
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 น. ณ ท่าน้ำหน้าวัดมหาพรหมโพธิราช บ้านท่าวัดเหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรประมงแหล่งน้ำสำคัญหนองหาร จังหวัดสกลนคร ประจำปี 2567 ประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้านจากโขงสู่หนองหาร” พร้อมด้วยนางฐิติพร หลาวประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง คณะผู้บริหารกรมประมง พร้อมด้วยนายวรัณยู ขุนเจริญรักษ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด นายบุญทอม  ชุติฤทธิชัย หัวหน้าหน่วยบูรณะแหล่งน้ำเพื่อการประมงชัยภูมิ นายเฉลิมชัย  ดวงมณี หัวหน้าหน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชหนองหาร ตลอดจนผู้นำชุมชน ข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่ จำนวนกว่า 200 คน ร่วมให้คำถวายสัตย์ปฏิญาณและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กว่า 2 ล้านตัว ลงสู่หนองหาร จังหวัดสกลนคร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมมอบพันธุ์ปลาและเอกสารชุดความรู้ เรื่อง ชนิดสัตว์น้ำ ให้กับตัวแทนชุมชนเขตอนุรักษ์ฯ จำนวน 35 ชุมชน ตลอดจนเยี่ยมชมระบบ Mobile hatchery การผสมเทียมพ่อแม่พันธุ์ปลา เพื่อเพาะพันธุ์ปลาที่มีการอพยพขึ้นมาวางไข่ และนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ปลาในหนองหาร เผยจากการดำเนินโครงการฯ มากว่า 4 ปี สามารถเพิ่มจำนวนประชากรปลาเพื่อให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนแล้วกว่า 124,181,000 ตัว
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเมื่อปี 2564 กรมประมงได้ดำเนินโครงการ “ประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้าน” เพื่อฟื้นฟูผลผลิตสัตว์น้ำคืนความอุดมสมบูรณ์สู่ระบบนิเวศต้นน้ำและแม่น้ำสาขา ด้วยการร่วมกับชุมชนในพื้นที่ ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดของไทย ด้วย “ชุดอุปกรณ์เพาะพันธุ์ปลาแบบเคลื่อนที่” (Mobile hatchery) และนำผลผลิตลูกปลาวัยอ่อนที่ได้ปล่อยคืนสู่ต้นน้ำที่เป็นแหล่งกำเนิด ซึ่ง 2 พื้นที่เป้าหมาย คือ หนองหาร จังหวัดสกลนคร และกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โดยตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ดำเนินการโครงการ ผลปรากฏว่า สามารถสร้างผลผลิตทรัพยากรปลาไทยและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้มากถึง 249,541,000 ล้านตัว สามารถเพิ่มอาหารโปรตีนราคาถูกและเพิ่มรายได้ให้ประชาชน โดยดึงคนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมง เกิดการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำสำคัญให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นแหล่งการทำประมงที่สำคัญในภูมิภาค สร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมงและประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องกับนโยบาย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนในพื้นที่ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในกระเป๋ามีเงิน”
สำหรับปี 2567 นี้ กรมประมง มีแผนที่จะปล่อยปลา “ประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้านจากโขงสู่หนองหาร” ภายใต้โครงการฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรประมงในแหล่งน้ำสำคัญ “หนองหาร” จำนวน 40,000,000 ตัว ในพื้นที่เป้าหมาย 24 แห่ง ได้แก่ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหน้าวัดมหาพรหมโพธิราช, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำดอนงิ้วพัฒนา, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำดอนแก้ว, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำท่าตะวันรอน, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำท่าศาลา, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้านท่าวัดใต้, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหน้าวัดสว่างอารมณ์, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหนองโนนทอง, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหน้าวัดเทพนิมิตร, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหน้าวัดราชินีสายประคำศักดิ์สิทธิ์, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้านดอนตาลโง๊ะ, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหนองหารหลวง, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำท่าเรือ, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหนองดอนโพนทัน, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำสำนักสงฆ์พระศรีอารย์, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำอุทยานวังมัจฉา, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหนองแจ้ง, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำท่าเกวียน, เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบึงไฮ (แก้มลิง), ลำน้ำพุงบริเวณโครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุง-น้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ลำน้ำพุงบริเวณลานพญาเต่างอย, ลำน้ำก่ำ ,ลำน้ำบังและหนองเบ็น
โดยกำหนดชนิดพันธุ์ปลาที่ได้ดำเนินการเพาะขยายพันธุ์และปล่อยลงแหล่งน้ำ จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มปลาหนัง ได้แก่ ปลากดเหลือง ปลาเทโพ ปลาสวาย และ 2. กลุ่มปลากินพืช ได้แก่ ปลากาดำ ปลาตะเพียนทอง ปลากระแห ปลาบ้า ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการเพิ่มผลผลิตในโครงการนี้ และได้ดำเนินการในบริเวณพื้นที่ปากแม่น้ำสายหลักหรือปากแม่น้ำโขง ด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ร่วมกับชุมชนประมงอนุรักษ์ในพื้นที่รวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาไข่แก่ น้ำเชื้อสมบูรณ์ ฉีดฮอร์โมนผสมเทียม รีดไข่ เพาะฟักจนออกเป็นตัวอ่อน และนำลูกปลาวัยอ่อนบรรจุถุงควบคุมอุณหภูมิแล้วนำไปปล่อยลงในพื้นที่เป้าหมาย นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ได้เรียนรู้ในทุกกระบวนการขั้นตอน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งนี้ กรมประมงได้มีการสนับสนุนการสร้างแหล่งอาหารสำรองเพื่อรองรับจำนวนลูกปลาที่จะนำมาปล่อย เป็นการเพิ่มอัตราการรอดและการเติบโตของลูกปลาจำนวนมาก หลังจากนำไปปล่อยในพื้นที่แหล่งต้นน้ำ และจะมีการประเมินความชุกชุมการแพร่กระจายและการเติบโตของพันธุ์ที่นำมาปล่อยอีกด้วย ภายใต้การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นและผู้นำชุมชน

 Tags

  •   Hits
  • สทนช. ถอดบทเรียนแผนรับมือฤดูฝนปี 2567 เตรียมพร้อมตั้งรับฤดูฝนปี 2568 เพิ่มประสิทธิภาพการคาดการณ์ บูรณาการบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤตแบบ Single Command สทนช. ถอดบทเรียนแผนรับมือฤดูฝนปี 2567 เตรียมพร้อมตั้งรับฤดูฝนปี 2568 เพิ่มประสิท... จำนวนผู้อ่าน 98  การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หนองหาร จังหวัดสกลนคร และกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ครั้งที่ 1/2568 การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หนองหาร จังห... จำนวนผู้อ่าน 42 การประชุมคณะทำงานเพื่อศึกษาการถ่ายโอนภารกิจและการอนุญาตการใช้ประโยชน์ในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และหนองหาร จังหวัดสกลนคร ครั้งที่ 1/2568 การประชุมคณะทำงานเพื่อศึกษาการถ่ายโอนภารกิจและการอนุญาตการใช้ประโยชน์ในกว๊านพะเย... จำนวนผู้อ่าน 32 การตรวจผลการปฏิบัติงานบูรณะแหล่งน้ำธรรมชาติ หนองหาร จังหวัดสกลนคร ประจำเดือนมกราคม 2568 การตรวจผลการปฏิบัติงานบูรณะแหล่งน้ำธรรมชาติ หนองหาร จังหวัดสกลนคร ประจำเดือนมกรา... จำนวนผู้อ่าน 29 โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านประมง ประจำปี 2568 โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านประมง ประจำปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 26 ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเข้าพบผู้บริหารกรมประมง และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในกรมประมง ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเข้าพบผู้บริหารกรมประมง และสักการะสิ่งศักด... จำนวนผู้อ่าน 24 การประชุมกลุ่มบูรณะแหล่งน้ำเพื่อการประมง ครั้งที่ 1/2568 การประชุมกลุ่มบูรณะแหล่งน้ำเพื่อการประมง ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 23 การประชุมกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ครั้งที่ 1/2568  การประชุมกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ครั้งที่ 1/2568   จำนวนผู้อ่าน 22 นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่อีสานตอนบน ”สกลนคร – นครพนม- มุกดาหาร“ วันจันทร์นี้ ก่อนการประชุม ครม.สัญจรจังหวัดนครพนม พร้อมเร่งขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่อีสานตอนบน ”สกลนคร – นครพนม- มุกดาหาร“ วันจันทร์นี้ ก่อนการ... จำนวนผู้อ่าน 20 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชุมติดตามความก้าวหน้าของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จังหวัดสกลนคร  หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชุมติดตามความก้าวหน้าของหน่วยงานต่าง... จำนวนผู้อ่าน 18 การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หนองหาร จังหวัดสกลนคร และกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ครั้งที่ 3/2568 การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หนองหาร จังห... จำนวนผู้อ่าน 18 กิจกรรมปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตามโครงการฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามในจังหวัดพะเยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กิจกรรมปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตามโครงการฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามในจังหวัดพะเยา ปีงบปร... จำนวนผู้อ่าน 16 การปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตามโครงการฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามในจังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 การปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตามโครงการฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามในจังหวัดพะเยา ประจำปีงบป... จำนวนผู้อ่าน 16 รองอธิบดีกรมประมงประชุมเตรียมการติดตามความพร้อมในการลงพื้นที่ตรวจราชการของนายกรัฐมนตรี รองอธิบดีกรมประมงประชุมเตรียมการติดตามความพร้อมในการลงพื้นที่ตรวจราชการของนายกรั... จำนวนผู้อ่าน 16 การประชุมกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ครั้งที่ 2/2568 การประชุมกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ครั้งที่ 2/2568  จำนวนผู้อ่าน 15


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กลุ่มบูรณะแหล่งน้ำเพื่อการประมง

    รายละเอียด   กลุ่มบูรณะแหล่งน้ำ   กรมประมง อาคารปรีดา กรรณสูต ชั้น 5 เลขที่ 50 เกษตรกลาง บางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900      โทร : 0 2561 4159    ภายใน :13507,13521   brnbkk@hotmail.com  email  brnbkk@hotmail.com  โทรศัพท์ 13507 และ 13521  FAX 025614159
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6