ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินโครงการ Sharing Knowledge experiences on small – scale marine fisheries data collection and management for sustainable development in the APEC region โดยกองประมงต่างประเทศ และ Too Big Too Ignore Global Foundation (TBTI Global Foundation) สาขาประเทศไทย

 Fisheries Foreign Affairs Division


ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินโครงการ Sharing Knowledge experiences on small – scale marine fisheries data collection and management for sustainable development in the APEC region โดยกองประมงต่างประเทศ และ Too Big Too Ignore Global Foundation (TBTI Global Foundation) สาขาประเทศไทย 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินโครงการ Sharing Knowledge experiences on small – scale marine fisheries data collection and management for sustainable development in the APEC region โดยกองประมงต่างประเทศ และ Too Big Too Ignore Global Foundation (TBTI Global Foundation)  สาขาประเทศไทย..คลิก

            โครงการฯ บรรลุเป้าหมายวัตถุประสงค์ในการได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีการและเครื่องมือที่มีอยู่ซึ่งใช้ในการรวบรวมข้อมูลและการกำกับดูแลการประมงทะเลพื้นบ้านในภูมิภาคเอเปค เพื่อช่วยปรับปรุงการรวบรวมและการจัดการข้อมูลสำหรับการประมงทะเลพื้นบ้านในภูมิภาคเอเปค โดยการเติมเต็มช่องว่างข้อมูลที่มีอยู่และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ผู้เข้าร่วมการสำรวจและการประชุมเชิงปฏิบัติการได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการรวบรวมและการจัดการข้อมูล ซึ่งนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูลการประมงทางทะเลพื้นบ้าน (Best Practices on Small-Scale Marine Capture Fisheries Data Collection and Management) ซึ่งประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้

          1) การให้ความชัดเจนของประมงทะเลพื้นบ้านและความสำคัญของประมงทะเลพื้นบ้าน (Defining small-scale fisheries and their importance) เนื่องจากประมงทะเลพื้นบ้านเป็นการประมงอย่างไม่เป็นทางการในหลายเขตเศรษฐกิจทำให้การพิจารณาขึ้นอยู่กับกรอบกฎหมายที่แตกต่างกันของแต่ละเขตเศรษฐกิจ ซึ่งทุกเขตเศรษฐกิจเอเปคมีการประมงทะเลพื้นบ้านที่สำคัญต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นทั้งสิ้น ทำให้ทุกภาคส่วนควรตระหนักถึงความเข้าใจคุณค่าของประมงทะเลพื้นบ้าน ประโยชน์ของประมงทะเลพื้นบ้าน โอกาสและความท้าทายการจัดการทรัพยากรประมงสำหรับประมงทะเลพื้นบ้าน และการจัดเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน เช่น ประเทศไทยได้ให้ความชัดเจนของประมงทะเลพื้นบ้าน คือการทำการประมงที่เกิดขึ้นในทะเลชายฝั่งซึ่งมีการใช้เรือประมง หรือใช้อุปกรณ์ทำการประมงโดยไม่มีเรือประมง หากใช้เรือประมงจะต้องมีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ในขณะที่ญี่ปุ่นไม่มีคำจำกัดความทางกฎหมายของการประมงทะเลพื้นบ้านในญี่ปุ่น

          2) การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการจัดเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน (Improving effectiveness of the data collection system) โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการจัดการประมงทะเลพื้นบ้าน ความสม่ำเสมอในการจัดเก็บข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บ การจัดอบรมการเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน เพื่อความถูกต้อง แม่นยำ และการนำมาตรฐานสากลมาปรับใช้ในการจัดเก็บข้อมูล การระบุความท้าท้ายในการเก็บข้อมูล และจริยธรรมและการเก็บรักษาข้อมูล

โครงการฯ บรรลุเป้าหมายวัตถุประสงค์ในการได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีการและเครื่องมือที่มีอยู่ซึ่งใช้ในการรวบรวมข้อมูลและการกำกับดูแลการประมงทะเลพื้นบ้านในภูมิภาคเอเปค เพื่อช่วยปรับปรุงการรวบรวมและการจัดการข้อมูลสำหรับการประมงทะเลพื้นบ้านในภูมิภาคเอเปค โดยการเติมเต็มช่องว่างข้อมูลที่มีอยู่และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ผู้เข้าร่วมการสำรวจและการประชุมเชิงปฏิบัติการได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการรวบรวมและการจัดการข้อมูล ซึ่งนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูลการประมงทางทะเลพื้นบ้าน (Best Practices on Small-Scale Marine Capture Fisheries Data Collection and Management) ซึ่งประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้

          1) การให้ความชัดเจนของประมงทะเลพื้นบ้านและความสำคัญของประมงทะเลพื้นบ้าน (Defining small-scale fisheries and their importance) เนื่องจากประมงทะเลพื้นบ้านเป็นการประมงอย่างไม่เป็นทางการในหลายเขตเศรษฐกิจทำให้การพิจารณาขึ้นอยู่กับกรอบกฎหมายที่แตกต่างกันของแต่ละเขตเศรษฐกิจ ซึ่งทุกเขตเศรษฐกิจเอเปคมีการประมงทะเลพื้นบ้านที่สำคัญต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นทั้งสิ้น ทำให้ทุกภาคส่วนควรตระหนักถึงความเข้าใจคุณค่าของประมงทะเลพื้นบ้าน ประโยชน์ของประมงทะเลพื้นบ้าน โอกาสและความท้าทายการจัดการทรัพยากรประมงสำหรับประมงทะเลพื้นบ้าน และการจัดเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน เช่น ประเทศไทยได้ให้ความชัดเจนของประมงทะเลพื้นบ้าน คือการทำการประมงที่เกิดขึ้นในทะเลชายฝั่งซึ่งมีการใช้เรือประมง หรือใช้อุปกรณ์ทำการประมงโดยไม่มีเรือประมง หากใช้เรือประมงจะต้องมีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ในขณะที่ญี่ปุ่นไม่มีคำจำกัดความทางกฎหมายของการประมงทะเลพื้นบ้านในญี่ปุ่น

          2) การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการจัดเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน (Improving effectiveness of the data collection system) โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการจัดการประมงทะเลพื้นบ้าน ความสม่ำเสมอในการจัดเก็บข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บ การจัดอบรมการเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน เพื่อความถูกต้อง แม่นยำ และการนำมาตรฐานสากลมาปรับใช้ในการจัดเก็บข้อมูล การระบุความท้าท้ายในการเก็บข้อมูล และจริยธรรมและการเก็บรักษาข้อมูล

          3) แนวทางการทำงานร่วมกันในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Employing collaborative approach for data collection) ผ่านการรวบรวมข้อมูล ปัญหา อุปสรรคในการจัดเก็บข้อมูล จากผู้ปฏิบัติ เช่น ชาวประมงพื้นบ้าน และเจ้าของเรือประมง รวมถึงการบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และท้องถิ่นเพื่อจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อนและบรรลุความยั่งยืนอย่างชัดเจนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และเงินสนับสนุนสำหรับการทำงานร่วมกันช่วยให้มั่นใจได้ถึงการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

          4) การปรับปรุงธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของชาวประมงทะเลพื้นบ้าน (Improving governance and advocacy) กำหนดให้มีนโยบายการเก็บข้อมูลอย่างโปร่งใสและเชื่อถือได้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การมีนโยบายประมงทะเลพื้นบ้านที่ชัดเจนและมีกฎหมายสนับสนุนประมงทะเลพื้นบ้าน และการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน

          5) การก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน (Moving forward together) ของการเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน โดยให้ชาวประมงทะเลพื้นบ้านได้มีส่วนร่วมในการจัดทำยุทธศาสตร์ประมงทะเลพื้นบ้าน การเสริมสร้างศักยภาพชาวประมงทะเลพื้นบ้านเพื่อการจัดเก็บและจัดการข้อมูล สร้างบรรยากาศเพื่อความร่วมมือและความไว้วางใจให้กับชาวประมงเพื่อการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลประมงทะเลพื้นบ้าน และการนำเอกสารแนวปฏิบัติที่ดีไปปรับใช้กับชุมชนประมงทะเลพื้นบ้าน นำมาสู่แนวปฏิบัติที่ดีด้านการจัดเก็บข้อมูลและการจัดการประมงทะเลพื้นบ้านในสมาชิกเอเปค

จากแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูลการประมงทางทะเลพื้นบ้านที่ได้นั้นประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับประมงทางทะเลพื้นบ้านมาเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ประเทศไทยควรพัฒนาศักยภาพจากเทคโนโลยีในการจัดการประมงทะเลพื้นบ้าน เช่น การจัดทำแอปพลิเคชั่นเก็บข้อมูลการประมงทางทะเลพื้นบ้านอย่างโปร่งใสและเชื่อถือได้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ซึ่งโครงการ ฯ มีที่ปรึกษาโครงการ 2 ท่าน คือ ศาสตราจารย์ ดร. กังวาลย์ จันทรโชติ ที่ปรึกษากรมประมง และอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศาสตราจารย์ ดร.รัตนา ชื่นภักดี มหาวิทยาลัย Memorial University of Newfoundland และผู้ร่วมก่อตั้ง TBTI Global Foundation สาขาประเทศไทย

 โครงการนี้ มีผู้เข้าร่วมจากภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สถาบันการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ จาก 24 ราย จากสาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเชีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐจีน ( ไต้หวัน) สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศเนการาบรูไนดารุสซาลาม ญี่ปุ่น และราชอาณาจักรไทย รวม 20 ราย และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ จำนวน 4 ราย

 

สามารถดาวโหลดเอกสารฉบับเต็มสามารถเข้าถึงได้ตามลิงค์

https://www.apec.org/publications/2024/06/sharing-knowledge-and-experiences-on-small-scale-marine-fisheries-data-collection-and-management-for-sustainable-development-in-the-apec-region

     

 

 Tags

  •   Hits
  • ยังไม่มีการจัดลำดับบทความ


    คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา