การปรับปรุงพันธุ์อนูเบียส เพื่อเพิ่มอัตราการแตกหน่อ

 กลุ่มวิชาการ กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ

การปรับปรุงพันธุ์อนูเบียส เพื่อเพิ่มอัตราการแตกหน่อ 

บทความวิชาการ

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

การปรับปรุงพันธุ์อนูเบียส เพื่อเพิ่มอัตราการแตกหน่อ

การฉายรังสีแกรมม่าแบบเฉียบพลันต่อผลอัตราการเจริญเติบโตและการแตกหน่อไม้น้ำอนูเบียส คอฟฟี่ (Anubias coffefolia) ดำเนินการ ณ กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ ตั้งแต่ ตุลาคม 2554-มีนาคม 2558 โดยนำต้นอ่อนอนูเบียสไปฉายรังสีแกมม่าแบบเฉียบพลัน ที่ระดับ 0, 20, 40, 60, 80 และ 100 rads พบว่าระดับรังสีที่ 45.24 rads มีผลให้ต้นอ่อนมีการเจริญเติบโตมากขึ้น 21.98% จากนั้นศึกษาผลกระทบของรังสีในช่วง ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มการแตกหน่อ โดยการนำต้นอ่อนไปฉายรังสีแกมม่าที่ระดับ 0, 30, 40 และ 50 rads (373 rads/นาที) แล้วนำมาเลี้ยงต่อในสภาพห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่าต้นอ่อนที่ผ่านการฉายรังสี (30, 40 และ 50 rads) มีจำนวนยอดเฉลี่ยสูงกว่าต้นอ่อนที่ไม่ผ่านการฉายรังสี และต้นอ่อนที่ผ่านการฉายรังสีที่ระดับ 40 rads มีน้ำหนักสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) และเมื่อย้ายไม้น้ำอนูเบียสดังกล่าวไปเลี้ยงต่อในสภาพโรงเรือน เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าพันธุ์ไม้น้ำอนูเบียสที่ผ่านการฉายรังสีที่ระดับ 40 rads ยังคงมีการเจริญเติบโตให้จำนวนยอดและน้ำหนักมากที่สุด มีจำนวนยอดคิดเป็น 2 เท่าของต้นที่ไม่ผ่านการฉายรังสี ผลการศึกษาพบว่าการฉายรังสีแกมมาต้นอ่อนมีผลช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและอัตราการแตกหน่อของ พันธุ์ไม้น้ำอนูเบียส คอฟฟี่ ซึ่งเทคนิคดังกล่าวนี้ สามารถนำใช้ในการผลิตไม้น้ำเชิงพาณิชย์ได้

 Tags

  •   Hits
  • ยังไม่มีการจัดลำดับบทความ


    คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา