กรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลาง ปี 2566

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสาคร


กรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลาง ปี 2566 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT กรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลาง ปี 2566..คลิก

          กรมประมง ประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนกลาง (มาตรการปิดอ่าว) โดยครอบคลุมเขตพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี เป็นเวลา  2 ช่วง

 

ช่วงแรก ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม 2566 (ระยะเวลา 90 วัน)

ตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึง อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เป็นพื้นที่ 26,400 ตารางกิโลเมตร เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูได้วางไข่

 

ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. – 14 มิ.ย. 2566 (ระยะเวลา 30 วัน)

อาณาเขตตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางและเขตต่อเนื่องตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พื้นที่ 5,300 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้ลูกปลาทูได้มีโอกาสเจริญเติบโตเดินทางเข้าสู่พื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก เพื่อให้ปลาทูสาวได้เจริญเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป โดยมีการควบคุมการทำประมงเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ

 

ข้อกำหนด

    ช่วงแรก ***ห้าม***ใช้เครื่องมือที่มีผลกระทบต่อพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน และอนุญาตให้ใช้เฉพาะเครื่องมือประมงบางชนิดของกลุ่มเรือประมงขนาดเล็กซึ่งไม่กระทบกับมาตรการปิดอ่าวไทยตอนกลาง ดังนี้

   (1) เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่างที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 16 เมตร ต้องทำการประมงในเวลากลางคืนและทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

   (2) เครื่องมืออวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส มีช่องตาอวนตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไป สำหรับกรณีการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งความยาวอวนที่ใช้จะต้องไม่เกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ และหากจะใช้ความยาวอวนเกินกว่า 2,500 เมตร จะต้องใช้บริเวณนอกเขตทะเลชายฝั่ง เท่านั้น

   (3) เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง

   (4) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า(เครื่องปั่นไฟ) ต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

   (5) ลอบปู ต้องทำการประมงตามเงื่อนไขที่กำหนด

   (6) ลอบหมึกทุกชนิด

   (7) ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง

   (8) คราดหอย ต้องทำการประมงตามเงื่อนไขที่กำหนด

   (9) อวนรุนเคย ต้องทำการประมงตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยประกาศกระทรวงฯ

   (10) จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก และเครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง

   (11) เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือตามประเภท วิธีการทำการประมงที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดให้เป็นประมงพาณิชย์ทำการประมง ยกเว้น อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) และเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 ที่ไม่สามารถทำการประมงได้  

     ช่วงที่ 2 (16 พ.ค. – 14 มิ.ย. 2566)  มีข้อกำหนดที่เป็นรายละเอียดมากกว่าข้างต้น ดังนี้

• อนุญาตให้เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง ไม่ได้จำกัดความยาวของเรือที่ใช้ทำการประมง และเวลาในการทำการประมง ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งของพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

• เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ประกอบเรือกลที่มีขนาด 10 ตันกรอส อนุญาตให้ทำการประมงได้นอกเขตทะเลชายฝั่ง เฉพาะบริเวณเขตต่อเนื่องปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

          

         ....อธิบดีกรมประมง..กล่าวขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดมา และขอให้พี่น้องชาวประมง ระมัดระวังการทำประมงโดยให้ทำประมงเฉพาะเครื่องมือที่ประกาศให้ใช้ได้เท่านั้น เครื่องมืออื่นๆ ห้ามทำโดยเด็ดขาด หากผู้ใดฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 30 ล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องได้รับโทษทางปกครองอีกด้วย อย่างไรก็ดี กรมประมงยังมุ่งหวังให้มาตรการปิดอ่าวไทยฯ ในแต่ละห้วงเวลานั้นสามารถทำให้เกิดกระบวนการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตปลาทูแต่ละช่วงวัย ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ชาวประมงเกิดความตระหนักในการทำประมงได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำและเกิดความสมดุลกับการประกอบอาชีพของพี่น้อง และได้เน้นย้ำการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ยึดหลัก 3 ป. คือ การป้องกัน การป้องปราม และการปราบปราม พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นสำคัญด้วย ตามนโยบายของ  ดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 Tags

  •   Hits
  • โครงการมหาดไทยสีขาว สร้างพื้นที่ปลอดภัย หยุดยั้งยาเสพติด (Safe Zone No Drugs) โครงการมหาดไทยสีขาว สร้างพื้นที่ปลอดภัย หยุดยั้งยาเสพติด (Safe Zone No Drugs)  จำนวนผู้อ่าน 99  ปฏิทินลูกพันธุ์สัตว์น้ำ ปฏิทินลูกพันธุ์สัตว์น้ำ  จำนวนผู้อ่าน 87 เอกสารวิชาการ การประเมินความพร้อมของเกษตรกรและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปูทะเลแบบผสมผสานเพื่อการเพิ่มผลผลิตที่เหมาะสม เอกสารวิชาการ การประเมินความพร้อมของเกษตรกรและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปู... จำนวนผู้อ่าน 62 เอกสารวิชาการ รูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหลายชนิดรวมกันในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย เอกสารวิชาการ รูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหลายชนิดรวมกันในพื้นที่ชายฝั่งของประ... จำนวนผู้อ่าน 59 กิจกรรมปลูกต้นไม้ กิจกรรมปลูกต้นไม้  จำนวนผู้อ่าน 45 นางสาวมนทกานติ ท้ามติ้น ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง นายไวทัศน์ หนูกล่ำ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสาคร พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ต้อนรับคณะนักวิจัยชาวญี่ปุ่น นางสาวมนทกานติ ท้ามติ้น ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ... จำนวนผู้อ่าน 36 ศึกษาดูงาน ศึกษาดูงาน  จำนวนผู้อ่าน 35 กิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย กิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย  จำนวนผู้อ่าน 34 กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ   จำนวนผู้อ่าน 31 กิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย กิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย  จำนวนผู้อ่าน 28 กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ   จำนวนผู้อ่าน 27 ศึกษาดูงาน ศึกษาดูงาน  จำนวนผู้อ่าน 27 กิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย กิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย  จำนวนผู้อ่าน 23 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เพื่อรับฟังบรรยายและศึกษาดูงานกิจกรรมภายในศูนย์ฯ พร้อมทั้งเยี่ยมชมฟาร์มเกษตรกรในพื้นที่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เพื่อรับฟังบรรยายและศึกษาดูงานกิจกรรมภายในศูนย์ฯ... จำนวนผู้อ่าน 21 กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ   จำนวนผู้อ่าน 21


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสาคร

    รายละเอียด 127 หมู่ 8 ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 https://goo.gl/maps/8pPBiqzk8iS2  email  cf-samutsa@dof.in.th  โทรศัพท์ 034410266, 034426220  FAX 034-410-267  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6