ประขาสัมพันธ์ มาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ประจำปี พ.ศ. 2568

 ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลระยอง


ประขาสัมพันธ์ มาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ประจำปี พ.ศ. 2568 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ประขาสัมพันธ์ มาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ประจำปี พ.ศ. 2568..คลิก

15 มิ.ย.เป็นต้นไป กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก” ในพื้นที่ 8 จังหวัด
ควบคุมการทำประมงในช่วงฤดูปลามีไข่ เผยปีที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 %

          กรมประมงประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) ประจำปี 2568 ใน 2 ห้วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 : วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2568 และ ช่วงที่ 2 : วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2568 ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  กรุงเทพมหานคร  สมุทรปราการ  ฉะเชิงเทรา และชลบุรี มั่นใจ มาตรการฯ บังคับใช้ที่ผ่านมา สามารถฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 8,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.1 (ปริมาณการจับสัตว์น้ำจากการทำประมงทะเลปี 2566 และปี 2567 เท่ากับ 194,502 และ 202,538 ตัน ตามลำดับ) ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวไทย จึงขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงของประเทศเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  

          นายบัญชา  สุขแก้ว  อธิบดีกรมประมง  กล่าวว่า กรมประมงประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ประจำปี 2568 จำนวน 2 ช่วง ดังนี้
          • ช่วงที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2568 ในพื้นที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน ฝั่งตะวันตก บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร โดยเริ่มจากอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,350 ตารางกิโลเมตร
          • ช่วงที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2566 ในพื้นที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน ด้านเหนือบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร  กรุงเทพมหานคร  สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยเริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และสิ้นสุดที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,650 ตารางกิโลเมตร

          ทั้งนี้ อนุญาตให้ใช้เฉพาะเครื่องมือประมงบางชนิด ดังนี้
          1. อวนลากแผ่นตะเฆ่ที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียว ขนาดต่ำกว่า 20 ตันกรอส ให้สามารถทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืนและบริเวณนอกเขตทะเลชายฝั่ง
          2. อวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกล ขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส และมีขนาดช่องตาอวนตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวอวนไม่เกิน 2,000 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทั้งนี้ ห้ามทำการประมงโดยวิธีล้อมติด หรือวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน
          3. อวนติดตาชนิด อวนปู อวนกุ้ง อวนหมึก
          4. อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
          5. ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป และใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้
          6. ลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบ ตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป  ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
          7. เครื่องมือลอบหมึกทุกชนิด
          8. ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบการทำประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
          9. เครื่องมือคราดหอย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอย ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำร่วมด้วย
          10. เครื่องมืออวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบของอวน ขนาดของเรือ วิธีที่ใช้ บริเวณพื้นที่ และระยะเวลาในการทำการประมงที่ผู้ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนรุนเคยที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงต้องปฏิบัติร่วมด้วย
          11. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก
          12. เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
          13. เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ประกอบกับเครื่องมือประมงที่ไม่ใช่เครื่องมือประมงประเภทอวนล้อมจับ อวนลากคู่ อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) เรือประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เรือปั่นไฟ) และเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 71 (1) แห่งพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558

          สำหรับการใช้เครื่องมือในข้อ 2 3 4 5 6 และ 7 จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯ ที่ออกตามมาตรา 71 (1) และเครื่องมือที่ใช้ทำการประมงต้องไม่ใช่เครื่องมือที่กำหนดห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 67 มาตรา 69 หรือ มาตรา 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  
           โดยหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าและต้องได้รับโทษทางปกครองอีกด้วย

          จากข้อมูลทางวิชาการ พบว่า ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน หากพิจารณาจากอัตราการจับสัตว์น้ำจากเครื่องมืออวนล้อมจับก่อนและหลังมาตรการฯ พบว่า ในช่วงที่ 1 อัตราการจับสัตว์น้ำหลังมาตรการฯ เท่ากับ 6,845.89 กิโลกรัม/วัน สูงกว่าก่อนมาตรการฯ 2,152.47  กิโลกรัม/วัน เพิ่มขึ้น 2.18 เท่า ในช่วงที่ 2 อัตราการจับสัตว์น้ำหลังมาตรการฯ เท่ากับ 9,115.99 กิโลกรัม/วัน สูงกว่าก่อนมาตรการฯ 5,054.61 กิโลกรัม/วัน เพิ่มขึ้น 0.8 เท่า ซึ่งโดยภาพรวม การปิดอ่าวฯ ส่งผลให้การจับปลาเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มของกลุ่มปลาผิวน้ำ เช่น ปลาสีกุนเขียว ปลาหลังเขียว และปลามงโกรย
          ทั้งนี้ ลูกปลาทูที่เกิดใหม่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี) จะเริ่มเดินทางเข้าหาฝั่ง ซึ่งกรมประมงประกาศปิดต่อเนื่องบริเวณเขตชายฝั่งทะเลของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เพื่ออนุรักษ์ลูกปลาทูที่เกิดใหม่ รวมทั้งประกาศปิดเขตต่อเนื่องบริเวณปลายแหลมเขาตาม่องล่าย ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เพื่อรักษาปลาทูสาวให้หากินและเลี้ยงตัว จนมีขนาด 10 – 13 ซม. หลังจากนั้นจะเริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) ฝั่งตะวันตก ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมในช่วงเวลาดังกล่าวพบปลาทูที่มีขนาด 13 – 14 ซม. ซึ่งเรียกว่า ปลาทูสาว และอยู่หากินในพื้นที่ จนโตเต็มวัย และเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ก้นอ่าว หรือพื้นที่ปิดฝั่งเหนือช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ในช่วงเวลาดังกล่าวพบปลาทูมีขนาด 15-17 ซม. ซึ่งเป็นขนาดพ่อแม่พันธุ์ ปลาทูกลุ่มนี้เลี้ยงตัวอยู่ในบริเวณอ่าวไทยตอนในจนถึงช่วงปลายปี เมื่อมีความพร้อมสืบพันธุ์ วางไข่ จึงเริ่มอพยพเคลื่อนตัวลงสู่แหล่งวางไข่ในอ่าวไทยตอนกลางอีกครั้ง ตามวงจรชีวิตปลาทู
          ดังนั้น การดำเนินตามมาตรการจึงต้องมีต่อไป เพื่อคุ้มครองสัตว์น้ำ  มิให้ถูกจับก่อนที่จะมีโอกาสได้ผสมพันธุ์และวางไข่ หรือถูกจับก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ และจะเป็นหนทางในการนำปลาทูกลับฟื้นคืนความสมบูรณ์ โดยที่ผ่านมาเกิดจากความร่วมมือของพี่น้องชาวประมงส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติตามมาตรการฯ มาตลอด เมื่อภาครัฐดำเนินการและภาคประชาชนขานรับให้การสนับสนุนจะนำไปสู่ความสำเร็จ  การขับเคลื่อนการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้เกิดความสมดุลกับกำลังการผลิตของธรรมชาติ สัตว์น้ำ และเกิดความยั่งยืนของการประกอบอาชีพประมง ซึ่งกรมประมงต้องขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงทุกคนมา ณ ที่นี้  และในห้วงระยะเวลาประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวตัว ก ประจำปี 2568 จึงขอให้พี่น้องชาวประมงโปรดปฏิบัติตามกฎหมายและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ภาครัฐอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม และระมัดระวังการทำการประมง โดยให้ใช้เฉพาะเครื่องมือที่ประกาศให้สามารถทำการประมงได้เท่านั้น และขอฝากประชาสัมพันธ์มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) ประจำปี พ.ศ. 2568 นี้ เพื่อสร้างความรู้ให้แก่พี่น้องชาวประมงและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์น้ำ ตลอดจนช่วยสร้างจิตสำนึกในการหวงแหนอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน ทั้งนี้ เนื่องจากการกำหนดฤดูปลาวางไข่ในช่วงปิดอ่าวไทยรูปตัว ก นั้น เป็นหนึ่งในมาตรการที่ใช้ควบคุมการทำการประมงเพื่อลดการทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำตามกฎหมายเท่านั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรที่แท้จริงต้องเริ่มที่ประชาชนทุกคน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่รู้จักใช้ ร่วมกันดูแลและรักษาไว้ให้มีอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานของตนต่อไป...อธิบดีฯ กล่าว

 Tags

  •   Hits
  • ประกาศกรมประมง เรื่อง การขายทอดตลาดครุภัณฑ์ชำรุด จำนวน 30 รายการ โดยวิธีประมูลด้วยวาจา ประกาศกรมประมง เรื่อง การขายทอดตลาดครุภัณฑ์ชำรุด จำนวน 30 รายการ โดยวิธีประมูลด้... จำนวนผู้อ่าน 102  รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้าง (สขร.๑) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้าง (สขร.๑) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖  จำนวนผู้อ่าน 76 รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้าง (สขร.๑) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้าง (สขร.๑) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗  จำนวนผู้อ่าน 60 ดำเนินการขายทอดตลาดพัสดุครุภัณฑ์ที่ชำรุดเสื่อมสภาพหรือหมดความจำเป็นที่ต้องใช้ในราชการ ดำเนินการขายทอดตลาดพัสดุครุภัณฑ์ที่ชำรุดเสื่อมสภาพหรือหมดความจำเป็นที่ต้องใช้ในร... จำนวนผู้อ่าน 38  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับจังหวัด (SCP) และคณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับอำเภอ (SCD) จังหวัดระยอง ครั้งที่ 1/2568  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับจังหวัด (SCP) และคณะทำงาน... จำนวนผู้อ่าน 31 เข้าร่วมพิธีส่งมอบปลากะตักแห้ง ปลาทูเค็ม และอาหารทะเลที่มีสารไอโอดีนให้กับผู้แทนกองทัพเรือ เข้าร่วมพิธีส่งมอบปลากะตักแห้ง ปลาทูเค็ม และอาหารทะเลที่มีสารไอโอดีนให้กับผู้แทน... จำนวนผู้อ่าน 29 ออกปฏิบัติงานสนับสนุนการตรวจสอบเรือประมงที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทำประมงผิดกฎหมายในเขตทะเลชายฝั่ง พื้นที่รับผิดชอบของ ศรชล.ภาค 1 ต.บ้านเพ - เกาะเสม็ด ออกปฏิบัติงานสนับสนุนการตรวจสอบเรือประมงที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทำประมงผิดกฎหมายในเขต... จำนวนผู้อ่าน 29 ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ”  จำนวนผู้อ่าน 29 ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเนื่องในงานประเพณีเทศกาลสงกรานต์  2568 สมาคมประมงสุนทรภู่ ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเนื่องในงานประเพณีเทศกาลสงกรานต์ 2568 สมาคมประมงส... จำนวนผู้อ่าน 28 ติดตามและร่วมกิจกรรมทำซั้งเชือก บ้านปลาโครงการเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนประมง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ติดตามและร่วมกิจกรรมทำซั้งเชือก บ้านปลาโครงการเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนประมง ปร... จำนวนผู้อ่าน 27 ติดตามการดำเนินกิจกรรมโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนประมง ติดตามการดำเนินกิจกรรมโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนประมง  จำนวนผู้อ่าน 27 ปฏิบัติงานโครงการเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนประมง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ปฏิบัติงานโครงการเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนประมง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  จำนวนผู้อ่าน 25 ร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมประมง (Fisheries Co-ordinator:FC) จังหวัดระยอง ร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมประมง (Fisheries Co-ordinator:FC) จังห... จำนวนผู้อ่าน 24 ดำเนินการขายทอดตลาดพัสดุครุภัณฑ์ที่ชำรุดเสื่อมสภาพหรือหมดความจำเป็นที่ต้องใช้ในราชการ ดำเนินการขายทอดตลาดพัสดุครุภัณฑ์ที่ชำรุดเสื่อมสภาพหรือหมดความจำเป็นที่ต้องใช้ในร... จำนวนผู้อ่าน 24 จับกุมผู้กระทำความผิดใช้เครื่องมือประมงลอบปูที่มีขนาดช่องตาโดยรอบต่ำกว่า 2.5 นิ้ว ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง จับกุมผู้กระทำความผิดใช้เครื่องมือประมงลอบปูที่มีขนาดช่องตาโดยรอบต่ำกว่า 2.5 นิ้... จำนวนผู้อ่าน 23


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลระยอง

    รายละเอียด เลขที่ 2  หมู่ 2  ตำบลเพ  อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง  21160  email  rayong_hq@hotmail.com  โทรศัพท์ 038-652-139  FAX 038-652-138  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6