การรับมือสถานการณ์อุทกภัย ด้านการประมง

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปราจีนบุรี


การรับมือสถานการณ์อุทกภัย ด้านการประมง 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

การรับมือสถานการณ์อุทกภัย ด้านการประมง..คลิก

ผลกระทบสัตว์น้ำที่พบบ่อยในฤดูฝน

        ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565 ซึ่งในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกต่อเนื่องทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ส่งผลให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ ยอมรับการเกิดโรคง่าย หรือตายอย่างฉับพลันได้ โดยโรคที่มักเกิดในฤดูฝน ได้แก่

1.โรคที่เกิดจากปรสิต

อาการ  ซึม ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวผิวน้ำ ขับเมือกมาก มีแผลเลือดออก

การรักษา  ใช้ฟอร์มาลีน 25 – 50 มิลลิเมตรต่อน้ำ 1 ตัน แช่และเปลี่ยนถ่ายน้ำ โดยทำซ้ำ 2 – 3 ครั้ง หรือด่างทับทิม 1 – 2 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน

2.โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย

อาการ  ไม่กินอาหาร ซึม มีแผลตามลำตัว ตกเลือดที่ลำตัวและครีบ ตัวด่างขาวที่ลำตัว สีซีดหรือเข้มผิดปกติ ทยอยตาย

การรักษา  นำปลาไปตรวจวินิจฉัยโรค ก่อนนำยาที่มีทะเบียนไปใช้รักษา

3.โรคไวรัส

อาการ  สีตัวเข้มหรือซีดผิดปกติ ว่ายน้ำผิดปกติ มีแผลตามลำตัว อัตราการตายสูง

การรักษา  โรคไวรัสในปลายังไม่มีทางรักษา

4.โรคน๊อคน้ำ

อาการ  ปลาจะลอยหัว เปิด – ปิดกะพุ้งแก้มเร็ว ภาวะออกซิเจนหรือตะกอนในน้ำทำให้การแลกเปลี่ยนของเหงือกลดลง อาจทำให้ปลาตายอย่างกะทันหัน

การรักษา  ไม่มีทางรักษาแต่เฝ้าระวังและป้องกันได้

 

วิธีป้องกันและเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำ

       1.วางแผนการลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับจำหน่ายได้ก่อนฤดูน้ำหลาก

       2.ควรคัดเลือกลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้

       3.ควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมหรือน้อยกว่าปกติ เพื่อลดความสูญเสียจากคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

       4.เลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพที่ดี มีทะเบียน และให้อาหารสัตว์น้ำในปริมาณที่เหมาะสม เสริมสารอาหารหรือวิตามินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

       5.วางแผนจัดการคุณภาพน้ำให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยง เช่น ในกรณีอากาศปิดควรเปิดเครื่องตีน้ำช่วยเพิ่มออกซิเจน

       6.ระหว่างเลี้ยงควรทำความสะอาดพื้นบ่อ กรณีที่เลี้ยงในกระชังให้ทำความสะอาดกระชังอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ เศษอาหาร มูลของเสีย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของเชื้อโรค

      7.ควรหมั่นสังเกตสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ กรณีสัตว์น้ำป่วยตายให้รีบกำจัดโดยฝังหรือเผา ไม่ควรทิ้งสัตว์น้ำป่วยไว้ในบ่อ เนื่องจากจะทำให้โรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

      8.กรณีเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรหมั่นดูแลความคงทนแข็งแรงของกระชัง และกระชังควรมีระยะห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำหมุนเวียนถ่ายเทสะดวก

 Tags

  •   Hits
  • โครงการพัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้านการประมง โครงการพัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้านการประมง  จำนวนผู้อ่าน 27  ติดตามการดำเนินงานกิจกรรมของกลุ่มปริญญาปลาแดกบ้านโมกสูง ติดตามการดำเนินงานกิจกรรมของกลุ่มปริญญาปลาแดกบ้านโมกสูง  จำนวนผู้อ่าน 26 คลีนิกเกษตรเคลื่อนที่ คลีนิกเกษตรเคลื่อนที่  จำนวนผู้อ่าน 22 Kick Off  Kick Off "ฟางมาปลาโต"  จำนวนผู้อ่าน 22 เกษตรกรยุคใหม่ เกษตรกรยุคใหม่  จำนวนผู้อ่าน 22 เข้าตรวจต่ออายุการรับรองสุขอนามัยฟาร์มและสุขภาพสัตว์น้ำ (สอ.3) เข้าตรวจต่ออายุการรับรองสุขอนามัยฟาร์มและสุขภาพสัตว์น้ำ (สอ.3)  จำนวนผู้อ่าน 21 ประเมินผลผลิตสัตว์น้ำ (CPUE) ประเมินผลผลิตสัตว์น้ำ (CPUE)  จำนวนผู้อ่าน 20 ตรวจรับรองและติดตามฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตรวจรับรองและติดตามฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  จำนวนผู้อ่าน 20 สร้างอาหารธรรมชาติ สร้างอาหารธรรมชาติ  จำนวนผู้อ่าน 20 การบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และพัฒนาการผลิตอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และพัฒนากา... จำนวนผู้อ่าน 17 CPUE CPUE  จำนวนผู้อ่าน 17 อบรมเกษตรกร อบรมเกษตรกร  จำนวนผู้อ่าน 17 Kick Off  Kick Off "ฟางมาปลาโต"  จำนวนผู้อ่าน 16  "ลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอ... จำนวนผู้อ่าน 16 ติดตามผลการปฏิบัติงาน ติดตามผลการปฏิบัติงาน  จำนวนผู้อ่าน 15


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปราจีนบุรี

    รายละเอียด  เลขที่ ๒๓๖ หมู่ที่ ๗ บ้านโคกป่าแพง  ตำบลกบินทร์  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี ๒๕๑๑๐  โทร/โทรสาร. ๐ ๓๗๔๕ ๒๕๙๐ ๑  Email : ifprachinburi@gmail.com  email  ifprachinburi@gmail.com  โทรศัพท์ 037-452590-1  FAX 037-452590-1  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6