การดำเนินงานโครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม ณ แหล่งน้ำหนองบัว บ้านไคร้ป่าคา หมู่ 3 ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา

 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

การดำเนินงานโครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม ณ แหล่งน้ำหนองบัว บ้านไคร้ป่าคา หมู่ 3 ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT การดำเนินงานโครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม ณ แหล่งน้ำหนองบัว บ้านไคร้ป่าคา หมู่ 3 ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา..คลิก

กรมประมงเดินหน้าขับเคลื่อน “โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วมในปีที่ 5” เพื่อให้ชุมชนสามารถบริการจัดการแหล่งน้ำชุมชนให้เป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำชุมชน ให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนและเป็นธนาคารสัตว์น้ำสร้างรายได้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของชุมชน ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและการบูรณาการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 นายธเนศ พุ่มทอง ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พร้อมด้วย นายสุภาพ แก้วละเอียด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด น.ส. มาลาศรี คำศรี หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพัฒนาธุรกิจ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม ณ แหล่งน้ำหนองบัว บ้านไคร้ป่าคา หมู่ 3 ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา พร้อมร่วมปล่อยพันธุ์ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนและปลาสร้อยขาว รวม 50,000 ตัว ลงในแหล่งน้ำ และในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานกิจกรรมของแหล่งน้ำ โดยมีนายมนตรี ชัยกิจวัฒนะ รักษาราชการประมงจังหวัดพะเยา ประมงอำเภอเชียง คณะกรรมการแหล่งน้ำ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเชียงคำ ผู้นำชุมชนจาก 13 หมู่บ้าน และประชาชนหมู่บ้านไคร้ป่า ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวข้องในระหว่างการลงพื้นที่ในครั้งนี้     

นายธเนศ พุ่มทอง เปิดเผยว่า โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม เป็นโครงการตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกรมประมงได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเริ่มเข้าปีที่ 5 แล้ว โดยดำเนินการภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้แหล่งน้ำชุมชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้ชุมชนเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการ กำหนดกติกาของชุมชนร่วมกันในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ภายใต้หลักการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์” ในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตั้งแต่ “การร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามแก้ปัญหา และร่วมประเมินผล” ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา 4 ปี นับว่าเป็นโครงการที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีที่มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ จนทำให้กรมประมงได้รับรางวัลเลิศรัฐ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบผลสำเร็จ สาขาบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม 4 ปีซ้อน ซึ่งมีผลงานเชิงประจักษ์ทำให้ชุมชนมีความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ สามารถบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กในชุมชนของตัวเองให้มีการใช้ประโยชน์ด้านการประมงเป็นแหล่งผลิตอาหารสัตว์น้ำของชุมชนให้มีเพียงพอต่อการบริโภคในชุมชน สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน มีรายได้เข้ากองทุนหมุนเวียนของชุมชนในการบริหารจัดการในปีต่อไป มีการจัดสรรผลประโยชน์คืนให้แก่สมาชิก และส่วนหนึ่งคืนกลับให้กับชุมชนเพื่อเป็นสวัสดิการและนำไปพัฒนาชุมชน นำไปสู่การบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน สร้างความมั่นคงทางอาหารและสร้างรายได้ให้กับชุมชนทำให้ความเป็นอยู่ของราษฎรให้อยู่ดีกินดี มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ต่อไป

 ทั้งนี้ นายมนตรี ชัยกิจวัฒนะ รักษาราชการประมงจังหวัดพะเยา กล่าวว่าเพิ่มเติมว่าแหล่งน้ำหนองบัว พื้นที่ 29 ไร่ ซึ่ง เป็น 1 ใน 120 แห่งทั่วประเทศที่ร่วมโครงการฯ เข้าร่วมโครงการฯ เมื่อปี 2564 มีสมาชิกสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 126 ครัวเรือน มีการระดมเงินหุ้นละ 100 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 10 หุ้น มีเงินหุ้นร่วมโครงการแล้วกว่า  21,000 บาท กิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้โครงการ เช่น การเพาะพันธุ์ปลาโดยใช้ Mobile Hatchery เพื่ออนุบาลปล่อยลงในแหล่งน้ำและจำหน่าย การเลี้ยงหอยขมในถุงตาข่าย การทำแอ๊ปปลาดุกทรงเครื่องจำหน่าย การเลี้ยงแหนแดงและไข่ผำ ซึ่งทำให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ากองทุนโครงการฯ หนองบัว แล้วกว่า 35,000 บาท และ ชุมชนคาดหวังว่าจะมีรายได้ส่วนใหญ่จากกิจกรรมการปล่อยเลี้ยงปลาในแหล่งน้ำ ซึ่งมีแผนการเปิดขายบัตรตกปลาในเดือนเมษายน 2565 เพื่อเป็นรายได้เข้ากองทุนนำไปบริหารจัดการภายใต้การดำเนินโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

กรมประมงเดินหน้าขับเคลื่อน “โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วมในปีที่ 5” เพื่อให้ชุมชนสามารถบริการจัดการแหล่งน้ำชุมชนให้เป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำชุมชน ให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนและเป็นธนาคารสัตว์น้ำสร้างรายได้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของชุมชน ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและการบูรณาการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 นายธเนศ พุ่มทอง ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พร้อมด้วย นายสุภาพ แก้วละเอียด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด น.ส. มาลาศรี คำศรี หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพัฒนาธุรกิจ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม ณ แหล่งน้ำหนองบัว บ้านไคร้ป่าคา หมู่ 3 ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา พร้อมร่วมปล่อยพันธุ์ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนและปลาสร้อยขาว รวม 50,000 ตัว ลงในแหล่งน้ำ และในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานกิจกรรมของแหล่งน้ำ โดยมีนายมนตรี ชัยกิจวัฒนะ รักษาราชการประมงจังหวัดพะเยา ประมงอำเภอเชียง คณะกรรมการแหล่งน้ำ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเชียงคำ ผู้นำชุมชนจาก 13 หมู่บ้าน และประชาชนหมู่บ้านไคร้ป่า ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวข้องในระหว่างการลงพื้นที่ในครั้งนี้     

นายธเนศ พุ่มทอง เปิดเผยว่า โครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม เป็นโครงการตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกรมประมงได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเริ่มเข้าปีที่ 5 แล้ว โดยดำเนินการภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้แหล่งน้ำชุมชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้ชุมชนเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการ กำหนดกติกาของชุมชนร่วมกันในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ภายใต้หลักการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์” ในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตั้งแต่ “การร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามแก้ปัญหา และร่วมประเมินผล” ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา 4 ปี นับว่าเป็นโครงการที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีที่มีผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ จนทำให้กรมประมงได้รับรางวัลเลิศรัฐ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบผลสำเร็จ สาขาบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม 4 ปีซ้อน ซึ่งมีผลงานเชิงประจักษ์ทำให้ชุมชนมีความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ สามารถบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กในชุมชนของตัวเองให้มีการใช้ประโยชน์ด้านการประมงเป็นแหล่งผลิตอาหารสัตว์น้ำของชุมชนให้มีเพียงพอต่อการบริโภคในชุมชน สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน มีรายได้เข้ากองทุนหมุนเวียนของชุมชนในการบริหารจัดการในปีต่อไป มีการจัดสรรผลประโยชน์คืนให้แก่สมาชิก และส่วนหนึ่งคืนกลับให้กับชุมชนเพื่อเป็นสวัสดิการและนำไปพัฒนาชุมชน นำไปสู่การบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน สร้างความมั่นคงทางอาหารและสร้างรายได้ให้กับชุมชนทำให้ความเป็นอยู่ของราษฎรให้อยู่ดีกินดี มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ต่อไป

 ทั้งนี้ นายมนตรี ชัยกิจวัฒนะ รักษาราชการประมงจังหวัดพะเยา กล่าวว่าเพิ่มเติมว่าแหล่งน้ำหนองบัว พื้นที่ 29 ไร่ ซึ่ง เป็น 1 ใน 120 แห่งทั่วประเทศที่ร่วมโครงการฯ เข้าร่วมโครงการฯ เมื่อปี 2564 มีสมาชิกสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 126 ครัวเรือน มีการระดมเงินหุ้นละ 100 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 10 หุ้น มีเงินหุ้นร่วมโครงการแล้วกว่า  21,000 บาท กิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้โครงการ เช่น การเพาะพันธุ์ปลาโดยใช้ Mobile Hatchery เพื่ออนุบาลปล่อยลงในแหล่งน้ำและจำหน่าย การเลี้ยงหอยขมในถุงตาข่าย การทำแอ๊ปปลาดุกทรงเครื่องจำหน่าย การเลี้ยงแหนแดงและไข่ผำ ซึ่งทำให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ากองทุนโครงการฯ หนองบัว แล้วกว่า 35,000 บาท และ ชุมชนคาดหวังว่าจะมีรายได้ส่วนใหญ่จากกิจกรรมการปล่อยเลี้ยงปลาในแหล่งน้ำ ซึ่งมีแผนการเปิดขายบัตรตกปลาในเดือนเมษายน 2565 เพื่อเป็นรายได้เข้ากองทุนนำไปบริหารจัดการภายใต้การดำเนินโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

 Tags

  •   Hits
  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะ และกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะ เพื่อเลือกสรรบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่งเจ้าพนักงานประมง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะ และกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และร... จำนวนผู้อ่าน 206  กรมประมง มุ่งพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ Smart Farmer ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จัดอบรมหลักสูตรเข้มข้น เสริมสร้างความรู้ เทคนิค และทักษะ ผสานเทคโนโลยี ยกระดับเกษตรกรยุคใหม่ก้าวสู่การเป็น Smart Farmer อย่างยั่งยืน กรมประมง มุ่งพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ Smart Farmer ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จัดอบร... จำนวนผู้อ่าน 124 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลและประเมินผลการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำด้วยวิธีประเมิน Catch per unit of effort (CPUE) ประชุมชี้แจงการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลและประเมินผลการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำด้วยวิธีป... จำนวนผู้อ่าน 98 ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณ ปี 2568 ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณ ปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 97 ประชุมคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นด้านการประมงระดับประเทศ ประเภทอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประชุมคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นด้านการประมงระดับประเทศ ประเภทอาชีพเ... จำนวนผู้อ่าน 84 ข้าราชการพลเรือนดีเด่นกรมประมง ประจำปี พ.ศ. 2567 ข้าราชการพลเรือนดีเด่นกรมประมง ประจำปี พ.ศ. 2567  จำนวนผู้อ่าน 83 พนักงานราชการดีเด่นกรมประมง พ.ศ. 2567 พนักงานราชการดีเด่นกรมประมง พ.ศ. 2567  จำนวนผู้อ่าน 74 นายวิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด มอบหมายให้นายสุภาพ แก้วละเอียด รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พร้อมคณะตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกลุ่มแปรรูป และตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของแหล่งน้ำห้วยทรายฝายบ้าน หมู่ 11 ตำบลพรเจริญ อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ โดยมีชาวบ้านให้การต้อนรับ และสอบถามความก้าวหน้าในการดำเนินการ นายวิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด มอบห... จำนวนผู้อ่าน 71 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568  นายวิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยเเละพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พร้อมด้วยนายนิติกร  ผิวผ่อง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดพระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดราชบุรี วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 นายวิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยเเละพัฒนาก... จำนวนผู้อ่าน 68 ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกาฬสินธุ์ ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกาฬสินธุ์  จำนวนผู้อ่าน 68 ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดร้อยเอ็ด ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดร้อยเอ็ด  จำนวนผู้อ่าน 66 ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดขอนแก่น ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดขอนแก่น  จำนวนผู้อ่าน 62 ข้าราชการผลเรือนดีเด่น พ.ศ. 2567 ข้าราชการผลเรือนดีเด่น พ.ศ. 2567  จำนวนผู้อ่าน 60 วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 นายสุชาติ แสงจันทร์ ผู้ตรวจราชการกรม พร้อมด้วยนายวิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด นายสุภาพ แก้วละเอียดพร้อมคณะ ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมฟาร์มเกษตรกรที่เข้ารับการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการประมง ระดับประเทศ ประเภทอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 นายสุชาติ แสงจันทร์ ผู้ตรวจราชการกรม พร้อมด้วยนาย... จำนวนผู้อ่าน 58 ประชุมหารือการจัดทำข้อมูลเพื่อตอบแบบสำรวจความต้องการและ ความคิดเห็นของหน่วยงานระดับกอง ฯ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบ วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านการประมง (Fisheries Big Data Analytics System) ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Al) ฯลฯ ประชุมหารือการจัดทำข้อมูลเพื่อตอบแบบสำรวจความต้องการและ ความคิดเห็นของหน่วยงานระ... จำนวนผู้อ่าน 58


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

    รายละเอียด กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ชั้น 3 อาคารจรัลธาดา กรรณสูต กรมประมง เลขที่ 50 เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  email  inland.information2@gmail.com  โทรศัพท์ 0 2562 0585  FAX 0 2562 0585  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6