ประเทศไทย 4.0

 กลุ่มพัฒนาระบบงานสารสนเทศ


ประเทศไทย 4.0 



HOT ประเทศไทย 4.0..คลิก

ประเทศไทย 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีมาตรฐานระดับสากล มีความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศแบบไซเบอร์ มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเชิงดิจิตอล โดยนำเซนเซอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์และเครื่องจักรผ่านการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต Internet of Things (IoT) ในขณะที่ความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าขึ้นจะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การขนส่ง การขาย ภาคการผลิต   จะทำได้เร็วขึ้น การขนส่งสามารถตรวจสอบได้ และเพิ่มช่องทางการขาย นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแบบ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

อุตสาหกรรมดิจิตอลแบบใหม่ จะอยู่ในรูปแบบความชาญฉลาด (Smart) ต่างๆ เช่น (Smart Farmer) เป็นการบริหารจัดการและนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาปรับใช้ เปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) โดยนำการเกษตรผนวกเข้ากับเทคโนโลยีดิจิตอลและเทคโนโลยีการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและนำข้อมูลสารสนเทศมาปรับใช้ เช่นการจำหน่ายสินค้าเกษตร โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ หรือระบบ อี-คอมเมิร์ซ (e-Commerce) ทำให้เกษตรกรมีโอกาสและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การจัดการ การค้าในลักษณะออนไลน์ เพื่อขยาย กลุ่มผู้ค้าและผู้บริโภคให้กว้างขึ้น การจำหน่ายสินค้าออนไลน์นอกจากจะเป็นช่องทางหนึ่งในการตลาดแล้ว ยังช่วยสนับสนุนระบบการค้าออนไลน์ เช่นการขนส่งสินค้าผ่านระบบไปรษณีย์ การตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ว่ามาจากแหล่งผลิตใด มีความปลอดภัยในสินค้าหรือไม่ และช่วยสร้างชุมชนให้เรียนรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดการผลิตสินค้าบริการผ่านระบบดิจิตอล หรือที่เรียกว่าเกษตรดิจิตอล นวัตกรรมตลาดสินค้าเกษตรผ่านไอที  

         การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้โมเดลประเทศไทย 4.0 เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม จะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้อย่าง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน


ที่มาข้อมูล ดร.สุวิทย์ เมษอินท์

 Tags

  •  บทความหน้าหลัก Hits 10 อันดับ (6 เดือน)
  • ยังไม่มีการจัดลำดับบทความรอบ 6 เดือน!


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2566 กลุ่มพัฒนาระบบงานสารสนเทศ

    รายละเอียด ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร กรมประมง กรมประมง เกษตรกลาง ถนนพหลโยธิน เเขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900  email  coin300787@hotmail.com  โทรศัพท์ 025795591  FAX 025795591  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6