ด่านตรวจประมงกระบี่
การลงทะเบียนเข้าใช้ระบบ FSW
ลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้ระบบเชื่อมโยงคําขอกลางและระบบสนับสนุนใบอนุญาตและใบรับรองผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมประมง (FSW) เพื่อทําพิธีการประมงทางอิเล็กทรอนิกส์
#ผู้ประกอบการ หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่ดําเนินกิจการเกี่ยวกับนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่าน และให้หมายความรวมถึงโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำด้วย
#ตัวแทนออกของ หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่รับหน้าที่ในการนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่าน แทนผู้ประกอบการที่ดําเนินกิจการเกี่ยวกับนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่าน
#ตัวแทนสายเรือ หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่รับหน้าที่ในการดําเนินพิธี การแจ้งเรือเข้าออก หรือนําผ่านท่าเทียบเรือ
#แบบคำขอลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ FSW
แบบคำขอลงทะเบียน หมายเลข 1 (ผู้ประกอบการนิติบุคคล) http://file.fisheries.go.th/f/8e06633eb0/
แบบคำขอลงทะเบียน หมายเลข 2 (ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดา)
http://file.fisheries.go.th/f/a1e68d4a66/
แบบคำขอลงทะเบียน หมายเลข 3 (ตัวแทนออกของนิติบุคคล)
http://file.fisheries.go.th/f/5049bc87a5/
แบบคำขอลงทะเบียน หมายเลข 4 (ตัวแทนออกของบุคคลธรรมดา)
http://file.fisheries.go.th/f/cd1287f0d7/
แบบคำขอลงทะเบียน หมายเลข 5 (ตัวแทนสายเรือนิติบุคคล)
http://file.fisheries.go.th/f/ac059c2f87/
แบบคำขอลงทะเบียน หมายเลข 6 (ตัวแทนสายเรือบุคคลธรรมดา)
http://file.fisheries.go.th/f/62e508e694/
เอกสารแนบแบบคำขอลงทะเบียนทั้งหมด
http://file.fisheries.go.th/f/8e322d891c/
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลังจากลงทะเบียน
**ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการลงทะเบียนภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติลงทะเบียน ให้ผู้ประกอบการ ตัวแทนออกของ หรือตัวแทนสายเรือยื่นคําขอตามแบบคําขอเปลี่ยนแปลงทะเบียน หมายเลข 7 ณ หน่วยงานที่ได้ยื่นลงทะเบียนในครั้งแรก
แบบคำขอเปลี่ยนแปลงทะเบียน หมายเลข 7
http://file.fisheries.go.th/f/836cb1ff30/
ยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ ที่ด่านตรวจประมงตามที่ท่านสะดวก หรือ กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต (กรมประมง เกษตรกลาง)
***กรณีมีความประสงค์จะทําการรับส่งข้อมูลการผ่านพิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์กับกรมประมงด้วยตนเอง #แต่ไม่ต้องการลง
#ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์กับกรมประมง
ให้ยื่นคําร้องขอ หน้า 1 - 3 และ หน้า 6 คําร้องการผ่านพิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และ/หรือการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ระบุ
รายละเอียดข้อที่ (1), (2) และ (3.1) เท่านั้น พร้อมลงนามกรรมการผู้มีอํานาจลงนามและประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
หมายเหตุ ชื่อประเภทเอกสารที่ต้องการใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับกรมประมง สามารถดูเพิ่มเติม ได้ที่
http://fsw.fisheries.go.th จากนั้นให้เลือกที่ไอคอน FSW >> ระบบจะแสดงหน้าจอเข้าสู่ระบบ ที่หน้าจอนี้ให้คลิกที่ปุ่ม “ดาวน์โหลด”
เพื่อดูหรือดาวน์โหลดประเภทเอกสาร ชื่อ “รหัสเอกสารใบคําขอ ใบอนุญาตและใบรับรองในระบบ” ซึ่งกรมประมงจะมีการเพิ่มเติม
ประเภทเอกสารที่พร้อมให้บริการเป็นระยะ และให้ระบุข้อมูลประเภทเอกสารที่ต้องการ ในส่วนระบุ โดยให้นํารหัสเอกสารใช้
อ้างอิงในระบบ FSW (ชื่อย่อ/รหัสเอกสารใช้ออกเลขที่ 3 หลัก) มากรอกและใช้สัญลักษณ์ , คั่นระหว่างข้อมูล กรณีที่มีมากกว่า
1 ประเภทเอกสาร กรณีที่ไม่มีชื่อย่อให้ใช้สัญลักษณ์ - แทน ตย. DOF0102001 (แบบ ก./001), DOF0102004 (-/004) เป็นต้น
***กรณีมีความประสงค์จะทําการรับส่งข้อมูลการผ่านพิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์กับกรมประมงด้วยตนเอง และต้องการลง
#ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์กับกรมประมงด้วย
ให้ยื่นคําร้องขอ หน้า 1 - 3 และ หน้า 6 คําร้องการผ่านพิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และ/หรือการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ระบุ
รายละเอียดข้อที่ (1), (2), (3.1) และ (3.2) พร้อมลงนามกรรมการผู้มีอํานาจลงนามและประทับตราบริษัท (ถ้ามี) พร้อม COPY
แผ่นซีดีบรรจุไฟล์ข้อมูลกุญแจสาธารณะ (Public Key) ที่ตรงกับหมายเลขสมาชิก CA (Serial No.) ที่ต้องการจะใช้ลงลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์กับกรมประมง จํานวน 1 ไฟล์ ต่อ 1 แผ่น หรือตามจํานวน Serial No. ที่แจ้ง
****สำคัญอย่าลืมส่งไฟล์ทางด่านตรวจ ทางค่าย ส่งจาก E-mail เช่น TOT คือไฟล์ ....ชื่อ..... .p12 เป็นต้น เพื่อใช้ในระบแนบไฟล์ระบบ FSW ****
#การยื่นเอกสาร ****หนังสือมอบอำนาจ ****
1.หนังสือมอบอำนาจ
โปรดติด อากรแสตมป์ ให้ครบ 30 บาท พร้อม ตราปั้ม บริษัท ดังกล่าว
พร้อมลงชื่อ ผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับอำนาจ
2.สำเนา ปชช ผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับอำนาจ
#สำเนา*** (ภพ.20 ตัวแทนออกของ)***
ภ.พ. 20 ตัวแทนออกของ โปรด ให้กรรมการทั้ง2 บริษัท ลงลายมือชื่อและประทับตรา ในสำเนาภ.พ.20 ร่วมกัน (เอกสารสำคัญ)
#ประชาสัมพันธ์รูปแบบสื่อ การควบคุมวัตุอันตรายและการค้าปัจจัยการผลิต และ QR Code สื่อแผ่นพับและโปสเตอร์
1.กฎหมายและการควบคุมวัตถุอันตรายทางการประมง
2.การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการประมง
3.แนะนำวัตถุอันตรายที่ใช้ทางการประมง
4.แนะนำการเลือกซื้อปัจจัยการผลิตทางการประมง
5.แนวทางการตรวจร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการประมง