ประชุมชี้แจงงานวิจัยการสร้างความมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังติดตามประเมินสภาวะการคุกคามและนำแนวทางการควบคุมและกำจัดประชากรปลาหมอสีคางดำ ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ชายฝั่งและบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลแบบกึ่งพัฒนา


[2023-05-24] การประชุมรับฟังสรุปสถานการณ์แม่น้ำโขงและแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์.. [2023-04-05] ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมประมง (Fisheries Co-ordinator :.. [2023-04-05] ประชุมวิชาการนานาชาติของการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่.. [2023-04-04] ประชุมชี้แจงงานวิจัยการสร้างความมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังติดตามประเมินส.. [2023-03-28] กิจกรรมติดตามโครงการกำจัดวัชพืชบริเวณหนองหารตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐ.. [2023-03-28] ประชุมกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ครั้งที่ 2/2566 ผ่านระบบการประชุม Hy.. [2023-03-28] ประชุมชี้แจงงานวิจัยการสร้างความมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังติดตามประเมินส.. [2023-03-28] ประชุมชี้แจงงานวิจัยการสร้างความมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังติดตามประเมินส.. [2023-03-28] ประชุมชี้แจงงานวิจัยการสร้างความมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังติดตามประเมินส.. [2023-02-27] ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด.. อ่านทั้งหมด 

ประชุมชี้แจงงานวิจัยการสร้างความมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังติดตามประเมินสภาวะการคุกคามและนำแนวทางการควบคุมและกำจัดประชากรปลาหมอสีคางดำ ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ชายฝั่งและบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลแบบกึ่งพัฒนา  

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนกลาง

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ 2566 เวลา 09.00 น ณ ชมรมอนุรักษ์กุ้งก้ามกรามอำเภอสวี จังหวัดชุมพร กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ได้จัดประชุมชี้แจงงานวิจัยการสร้างความมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังติดตามประเมินสภาวะการคุกคามและนำแนวทางการควบคุมและกำจัดประชากรปลาหมอสีคางดำ ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ชายฝั่งและบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลแบบกึ่งพัฒนา โดยมีนางสาวเกสศิณี แท่นนิล ประมงจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยนางสาวทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา หัวหน้ากลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์น้ำจืด นายนพดล จินดาพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี นางสาวสุธิดาโส๊ะบีน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี และคณะ โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยภายใต้แผนงานการพัฒนาแนวทาง การคุกคามการรุกรานของปลาหมอสีคางดำ ในเขตพื้นที่ชายฝั่งเพื่อสร้างความสมดุลของระบบนิเวศแหล่งน้ำและความยั่งยืนของฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลแบบกึ่งพัฒนา และสร้างการรับรู้ สร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ พร้อมนี้ได้มีการจัดแบ่งกลุ่มถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหา แลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้แทนชมรมอนุรักษ์พันธุ์กุ้งก้ามกรามอำเภอสวี ชาวประมง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และสถาบันการศึกษา เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาเป็นองค์ความรู้แนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ เพื่อให้เกิดการยอมรับและผู้ได้รับผลกระทบสามารถนำไปใช้ได้จริง