สำเร็จแล้ว !!! ทีมวิจัยกรมประมงผลิตปลาหมอคางดำ 4n


[2025-07-23] ประชุมซักซ้อมการออก?ใบรับรองสถานที่รวบรวมซากของสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกแ.. [2025-07-21] *ประชาสัมพันธ์สื่ออินโฟกราฟฟิก การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม: ตัวอย่างพฤต.. [2025-07-16] ประชาสัมพันธ์มาตรฐานทางจริยธรรม 7 ประการ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริ.. [2025-07-15] ประชาสัมพันธ์ แนวทางปฏิบัติการเบิกค่าใช้จ่าย ค้างเบิกข้ามปี.. [2025-07-09] จดหมายข่าวประจำเดือน มิถุนายน 2568.. [2025-07-08] การจัดกิจกรรมจิตอาสา เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพ.. [2025-07-07] บริการทางวิชาการ บรรยายและให้ความรู้แก่นักศึกษาและคณะอาจารย์สาขาวิชาว.. [2025-07-04] ติดตามสินค้าปลากะพงขาวนำเข้าที่อายัด ติดตามสถานที่จัดจำหน่ายของผู้ประก.. [2025-07-03] ประชาสัมพันธ์ สรุปการนำเข้าและส่งออกสัตว์น้ำ ประเทศมาเลเซีย ประจำเดือน.. [2025-07-02] ผอ. ธนดล นำทีม ลงพิ้นที่ จ. นราธิวาส ในการตรวจป้องกันการลักลอบนำเข้าสั.. อ่านทั้งหมด 

สำเร็จแล้ว !!! ทีมวิจัยกรมประมงผลิตปลาหมอคางดำ 4n  

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

 

        นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมและรับฟังรายงานความก้าวหน้าโครงการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ โดยมีนายอาคม ชุ่มธิ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ นายคงภพ อำพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำและประธานคณะทำงานโครงการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ให้การต้อนรับพร้อมรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ ว่า จากนโยบายของนายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่กำกับดูแลกรมประมงและประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ กรมประมงจึงได้ดำเนินโครงการวิจัยการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ เป็นไปตามมาตรการที่ 6 จากทั้งหมด 7 มาตรการในการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำ โดยการนำหลักพันธุศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการควบคุมการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำ โดยใช้เทคนิคการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซมจากเดิมที่มีจำนวนชุดโครโมโซมตามธรรมชาติ 2 ชุด หรือ 2n ให้เป็นปลาหมอคางดำที่มีชุดโครโมโซม 4 ชุด หรือ 4n โดยจะนำปลาหมอคางดำ 4n เพศผู้ ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำเพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำซึ่งมีชุดโครโมโซม 2n ในธรรมชาติ โดยลูกปลาหมอคางดำที่ได้จากการผสมในลักษณะนี้จะได้ลูกปลาฯ ที่มีชุดโครโมโซม 3 ชุด หรือ 3n มีลักษณะที่เป็นหมันไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้

สำหรับการดำเนินการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซมปลาหมอคางดำในครั้งนี้ ดำเนินการเหนี่ยวนำด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 40 °C เป็นระยะเวลา 5 นาที ณ เวลา 80 นาทีหลังผสม ได้ปลาหมอคางดำที่สามารถเจริญเติบโตจนมีอายุ 3 เดือนจำนวน 1,112 ตัว และมีจำนวนปลาหมอคางดำที่มีขนาดที่เหมาะสมสำหรับติดเครื่องหมาย PIT tag ได้ 703 ตัว และสามารถเก็บตัวอย่างเลือดด้วยวิธี pool sample ได้ทั้งหมด 135 กลุ่มตัวอย่าง จากปลาหมอคางดำ 551 ตัว เพื่อตรวจจำนวนชุดโครโมโซมด้วยเครื่อง flow cytometer พบรูปแบบที่มีการแสดงผลเป็นโครโมโซม 4n จำนวน 20 กลุ่มตัวอย่าง และตรวจสอบยืนยันจำนวนโครโมโซมรายตัวเรียบร้อยแล้ว จำนวน 1 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งขณะนี้ ทางศูนย์ฯ กำลังดำเนินการเร่งตรวจสอบยืนยันผลรายตัวจนครบ 20 กลุ่มตัวอย่าง ภายในเดือนมีนาคม 2568 ขณะเดียวกันคณะทำงานได้ดำเนินการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการเหนี่ยวนำโครโมโซม เพิ่มเติมจำนวน 9 รูปแบบ โดยมีการตรวจสอบจำนวนชุดโครโมโซมเป็นระยะ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนปลาหมอคางดำที่มีชุดโครโมโซมให้เหมาะสมเเละเพียงพอเพื่อขยายปล่อยลงเเหล่งน้ำ ควบคุมจำนวนปลาหมอคางดำในเเหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป ที่สำคัญในวันนี้กรมประมงได้ดำเนินการปล่อยปลาหมอคางดำเพศผู้ที่มีโครโมโซม 4n เข้าผสมกับปลาหมอคางดำเพศเมียที่มีโครโมโซม 2n ในหน่วยทดลองเพื่อศึกษาการเข้าคู่ผสมพันธุ์ เเละความสามารถในการเเข่งขันการเข้าคู่ผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีชุดโครโมโซม 3n ซึ่งมีลักษะเป็นหมันต่อไป

นอกจากนี้ อธิบดีกรมประมงยังได้มอบพันธุ์ปลากะพงขาวที่เป็นปลาผู้ล่าในธรรมชาติ ตามมาตรการเเก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ มาตรการที่ 1 ให้เกษตรกรนำไปปล่อยในเเหล่งน้ำธรรมชาติเเละบ่อที่ถูกบุกรุกเพื่อกำจัดเเละควบคุมปริมาณปลาหมอคางดำในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา