การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รูปแบบนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ”

[2025-07-16] การประชุมคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2568.. [2025-07-01] การประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการปร.. [2025-05-13] นการประชุมระดมความคิดเห็น (Brainstorming) เพื่อกำหนดแนวทางการรับมือต่อ.. [2025-05-13] การประชุมชี้แจงการดำเนินการตามข้อเสนอแนะการปิดตรวจรายงานการเงินประจำปึ.. [2025-04-30] การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องต่อผู้ประ.. [2025-04-17] การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบ.. [2025-01-28] การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะ.. [2025-01-14] การประชุมหารือแนวทาง ฟื้นฟูผลกระทบปลาหมอคางดำ".. [2025-01-14] การอบรมหลักสูตร Training on Digital Data Collection using Kobo Toolbox.. [2025-01-08] “ขับเคลื่อนการประมงท้องถิ่น! ส่งเสริมการแปรรูปสัตว์น้ำในภาคอีสาน”.. อ่านทั้งหมด 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รูปแบบนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ”  

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมกุลาดำ อาคารจุฬาภรณ์ ชั้น 7 กรมประมง

นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธาน กล่าวเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รูปแบบนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ซึ่งจัดโดยกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ในรูปแบบเผชิญหน้า (On-site) และผ่านระบบประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meetings โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ จำนวนทั้งสิ้น 55 ราย ประกอบด้วย นางสุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง นายพุทธ ส่องแสงจินดา ที่ปรึกษาด้านการจัดระบบการเลี้ยงกุ้งทะเล นางสาวกาญจนารี พงษ์ฉวี ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้แทนเอกชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่สังกัดกรมประมง

โดยการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัญหาการใช้พลังงานในการเลี้ยงสัตว์น้ำ รูปแบบนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงการคัดเลือกรูปแบบนวัตกรรมฯ ที่เหมาะสม สำหรับนำไปสาธิตในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (กุ้งทะเลและกุ้งก้ามกราม) และแนวทางการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และพัฒนาการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญภายใต้โครงการฯ ได้กำหนดรูปแบบนวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไว้ จำนวน 5 รูปแบบ ได้แก่

1. ระบบโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กสำหรับเครื่องเติมอากาศในบ่อเลี้ยงกุ้ง

2. ระบบโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่สำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้ง

3. ระบบควบคุมเครื่องเติมอากาศอัจฉริยะในบ่อเลี้ยงกุ้ง

4. ระบบผสมผสานระหว่างโซลาร์เซลล์และการควบคุมเครื่องเติมอากาศอัจฉริยะสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้ง

5. ปั๊มพ่นฟองอากาศขนาดเล็กในบ่อเลี้ยงกุ้ง

อย่างไรก็ตาม การจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ภายใต้การดำเนินโครงการ “Support to upscaling and adoption of innovations and good practices on energy use efficiency in aquaculture in Thailand” (Energy use efficiency in aquaculture) ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง กรมประมง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยการทำงานร่วมกันนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ซึ่งโครงการนี้มีแผนดำเนินงานในพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่ง จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ ตราด, จันทบุรี, สมุทรสาคร, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ตรัง และสงขลา และพื้นที่น้ำจืด จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี และกาฬสินธุ

#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา