กรมประมง...เตรียมแผนคุมภัยแล้ง ปี 63 หวั่น!! น้ำน้อย แล้งลากยาว เสี่ยงกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตือนเกษตรกรเฝ้าระวังพร้อมรับมือ

 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร


กรมประมง...เตรียมแผนคุมภัยแล้ง ปี 63 หวั่น!! น้ำน้อย แล้งลากยาว เสี่ยงกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตือนเกษตรกรเฝ้าระวังพร้อมรับมือ 

ข่าวประชาสัมพันธ์

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT กรมประมง...เตรียมแผนคุมภัยแล้ง ปี 63 หวั่น!! น้ำน้อย แล้งลากยาว เสี่ยงกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตือนเกษตรกรเฝ้าระวังพร้อมรับมือ..คลิก

นายบรรจง จำนงศิตธรรม รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะมีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และอาจต่อเนื่องยาวนานไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำชลประทานลดน้อยลงและอาจไม่เพียงพอต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นอกจากนี้ จากสภาวะดังกล่าวยังทำให้อุณหภูมิน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำที่เกษตรกรเลี้ยงไว้เกิดความเครียด อ่อนแอ และตายได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น กรมประมงจึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง ประจำปี 2563 ไว้ 3 ระยะ คือ 1. การเตรียมรับสถานการณ์ก่อนเกิดภัยแล้ง 2. การให้ความช่วยเหลือขณะเกิดภัยแล้ง และ 3. การให้ความช่วยเหลือหลังเกิดภัยแล้ง ทั้งนี้ กรมฯ ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ อีกทั้งหาวิธีการป้องกัน แก้ไข และหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเฝ้าระวังสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์โครงการปลาหน้าวัด
นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำทางวิชาการแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเตรียมการป้องกันอีกด้วย
การเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดิน ควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรพิจารณาปริมาณน้ำที่ใช้และคุณภาพน้ำตลอดการเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ หากมีปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอให้ชะลอการเลี้ยงสัตว์น้ำออกไปก่อน หรือปรับลดขนาดการผลิต หรืองดเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำการตากบ่อและตกแต่งบ่อเลี้ยงในช่วงฤดูแล้งแทน เพื่อเตรียมไว้เลี้ยงสัตว์น้ำในรอบต่อไป
2. หากจำเป็นต้องทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในหน้าแล้ง ควรคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง
จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ และควรเริ่มต้นการเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดระยะเวลาการเลี้ยงให้น้อยลง ซึ่งจะทนต่อสภาพแล้งได้มากกว่า และควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงที่ความหนาแน่นน้อยกว่าปกติ
3. ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมคันบ่อเพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำ และจัดทำร่มเงาให้กับสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง
4. จัดเตรียมแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้เพิ่มเติม และเฝ้าระวังเรื่องคุณภาพน้ำให้มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตลอดการเลี้ยงสัตว์น้ำแต่ละชนิด
5. ในระหว่างการเลี้ยงสัตว์น้ำควรพิจารณาคัดขนาดสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่ทยอยออกจำหน่ายก่อน
เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียสัตว์น้ำและการลงทุน
6. เลือกใช้อาหารสัตว์น้ำที่มีคุณภาพดี และลดปริมาณการให้อาหารสัตว์น้ำลง โดยเฉพาะอาหารสดเพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสีย
7. จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในบ่อ
8. ควรงดเว้นการขนถ่ายสัตว์น้ำ ถ้าจำเป็นต้องระมัดระวังให้มาก เนื่องจากมีผลกระทบกับการกินอาหารและการเจริญเติบโตของสัตวืน้ำโดยตรง
9. หมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบสิ่งผิดปกติควรรีบหาสาเหตุและแก้ไขทันที กรณีมีสัตว์น้ำป่วยตายควรกำจัดโดยการฝังกลบหรือเผาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

?การเลี้ยงในกระชัง ควรปฏิบัติดังนี้
?1. ควรพิจารณาปริมาณน้ำที่ใช้และคุณภาพน้ำตลอดในการเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นปัจจัยสำคัญ หากมีปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอให้ชะลอการเลี้ยงสัตว์น้ำออกไปก่อน หรือปรับลดขนาดการผลิต หรืองดเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำความสะอาดและซ่อมแซมกระชังในช่วงฤดูแล้งแทน เพื่อเตรียมไว้เลี้ยงสัตว์น้ำในรอบต่อไป
2. หากจำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์น้ำควรคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ และควรเริ่มต้นการเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดระยะเวลาการเลี้ยงให้น้อยลง และจะทนต่อสภาพแล้งได้มากกว่า และควรปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงที่ความหนาแน่นน้อยกว่าปกติ
3. ควรเลือกแหล่งน้ำที่ตั้งกระชังที่มีระดับความลึกเพียงพอ เมื่อตั้งกระชังแล้วพื้นกระชังควรสูงจากพื้นน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำถ่ายเทได้สะดวกตลอดเวลา และไม่วางชิดกันจนหนาแน่นมากเกินไป เพราะจะไปขัดขวางการไหลของกระแสน้ำ
4. ก่อนปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยงในกระชัง ควรปรับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะคุณสมบัติของน้ำในภาชนะลำเลียงสัตว์น้ำ ควรมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันกับน้ำที่ต้องการปล่อยสัตว์น้ำ เช่น อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรดด่าง เป็นต้น และต้องคอยเฝ้าระวังเรื่องคุณภาพน้ำให้มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตลอดการเลี้ยงสัตว์น้ำแต่ละชนิด
5. ควรเลือกใช้อาหารสัตว์น้ำที่มีคุณภาพดีและให้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอาหารสดเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
6. ต้องเพิ่มความสนใจ สังเกตอาการต่าง ๆ ของสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติจะได้แก้ไขและให้การรักษาได้ทันท่วงที
7. ควรทำความสะอาดกระชังสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดตะกอนและเศษอาหาร ซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิตปรสิตและเชื้อโรค นอกจากนี้ช่วยให้กระแสน้ำไหลผ่านกระชังได้ดี มีผลต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพสัตว์น้ำ
8. ควรงดเว้นการขนถ่ายสัตว์น้ำ ถ้าจำเป็นต้องระมัดระวังให้มากเนื่องจากจะมีผลกระทบกับการกินอาหารและการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำโดยตรง
9. ในระหว่างการเลี้ยงสัตว์น้ำควรพิจารณาคัดขนาดสัตว์น้ำขนาดใหญ่ทยอยออกจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียสัตว์น้ำและการลงทุน โดยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในกระชัง
10. ควรหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบสิ่งผิดปกติ ให้รีบหาสาเหตุและแก้ไขได้ทันที
ในขณะเดียวกันควรแจ้งให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงทราบ เพื่อที่จะได้หามาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรค กรณีที่มีสัตว์น้ำป่วยตายควรกำจัดโดยการฝังหรือเผา ไม่ควรทิ้งสัตว์น้ำป่วยในบริเวณแม่น้ำที่เลี้ยงเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคทำให้การระบาดของโรคเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว?

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโรคสัตว์น้ำที่ควรเฝ้าระวังในฤดูแล้ง ได้แก่
1. โรคที่เกิดจากปรสิต เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส เห็บปลา เหาปลา และหมัดปลา เป็นต้น โดยสัตว์น้ำที่มีปรสิตจะมีลักษณะอาการว่ายน้ำผิดปกติ ว่ายแฉลบ หรือรวมกลุ่มที่ผิวน้ำ หายใจถี่ มีจุดแดง แผลถลอกตามผิวลำตัว เป็นต้น สำหรับแนวทางการรักษาโรคสามารถปฏิบัติได้โดยการตัดวงจรชีวิตปรสิต กำจัดตะกอนและเศษอาหารที่เกาะติดตามกระชัง ซึ่งเป็นอาหารที่อยู่อาศัยและสืบพันธุ์วางไข่ และใช้สารเคมี เช่น
ไตรคลอร์ฟอน (กลุ่มยาฆ่าแมลง) อัตราการใช้ 0.5 - 0.75 ส่วนในล้านส่วน (0.5-0.75 กรัมต่อปริมาตรน้ำ 1 ตัน) ทำทุก ๆ 1 สัปดาห์ ทำซ้ำติดต่อกัน 3 - 4 ครั้ง หรือ ฟอร์มาลินเข้มข้น 200-250 ส่วนในล้านส่วน (พีพีเอ็ม) (200 - 250 มิลลิลิตร (ซีซี) ต่อปริมาตรน้ำ 1 ตัน) นาน 15 - 30 นาที ถ้าเป็นปลาที่เลี้ยงในกระชัง ควรนำปลาขึ้นจากกระชังชั่วคราว พักใส่ถังหรือบ่อ หรือใช้ผ้าใบล้อมกระชังปลาแล้วจึงใช้สารเคมี
ไม่ควรใส่ยาหรือสารเคมีลงในแหล่งน้ำโดยตรง

2. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น สเตรปโตคอสคัส (Streptococcus sp.) แอโรโมแนส (Aeromonas hydrophila) วิบริโอ (Vibrio sp.) เป็นต้น ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มแบคทีเรีย
นักฉวยโอกาส (Opportunistic bacteria) ที่พบและอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำทั่วไป โดยจะเข้าทำอันตรายสัตว์น้ำเมื่ออ่อนแอ และสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วผ่านกระแสเลือด โดยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสัตว์น้ำ ลักษณะสัตว์น้ำที่เป็นโรคเกิดจากแบคทีเรียจะมีอาการ ซึม ไม่กินอาหาร ว่ายน้ำควงสว่าน มีแผลเลือดออกตามผิวลำตัวและอวัยวะต่าง ๆ มีตุ่มฝีที่บริเวณใต้คางและผิวลำตัว ตาขุ่น โปน ครีบกร่อน ท้องบวม เป็นต้น แนวทางการรักษาทำได้โดยใช้ยาต้านจุลชีพ ผสมอาหารให้กินตามคำแนะนำในฉลากยา

หากมีเกษตรกรมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด /สัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดทุกแห่งทั่วประเทศ โทรศัพท์ 0-2562-0600 ในวันและเวลาราชการ

Cr : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง

 Tags

  •   Hits
  • นายยุคล เหมบัณฑิต ประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมแสดงความยินดี กับ นายพัฒนพงศ์ ชูแสง เนื่องในโอกาสรับตำแหน่งเป็น “ผู้ตรวจราชการกรม” นายยุคล เหมบัณฑิต ประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมแสดงความยินดี กับ นายพัฒนพงศ์ ชู... จำนวนผู้อ่าน 62  สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมแสดงความยินดีและให้การต้อนรับ นายยุคล เหมบัณฑิต เข้ารับตำแหน่ง ประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ อาคารเชิดชาย อมาตยกุล กรมประมง สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมแสดงความยินดีและให้การต้อนรับ นายยุคล เหมบ... จำนวนผู้อ่าน 52 รายงานผลสำเร็จ การประเมินองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 (สปก.) รายงานผลสำเร็จ การประเมินองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 (สปก.)  จำนวนผู้อ่าน 46 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อสร้างอาชีพ” ภายใต้โครงการพัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้านการประมง ปีงบประมาณ 2568 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การแปรรูปสัตว์น้ำ... จำนวนผู้อ่าน 40 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครลงพื้นที่ตรวจสอบ และควบคุมการรวบรวมปลาหมอคางดำ เพื่อจำหน่ายในโครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครลงพื้นที่ตรวจสอบ และควบคุมการรวบรวมปลาหมอคางดำ ... จำนวนผู้อ่าน 39 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร เฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร เฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็... จำนวนผู้อ่าน 36 ประชุมชี้แจงกรรมการสิทธิมนุษยชน กรณีการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประชุมชี้แจงกรรมการสิทธิมนุษยชน กรณีการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในเขต... จำนวนผู้อ่าน 33 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ ระดับกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2568 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใ... จำนวนผู้อ่าน 33 ประมงกรุงเทพฯ ตั้งคณะทำงานเร่งตรวจสอบบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้การช่วยเหลือจากเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติด้านประมง ประมงกรุงเทพฯ ตั้งคณะทำงานเร่งตรวจสอบบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้การช่วยเหลือจากเกษ... จำนวนผู้อ่าน 32 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร การผลิต การตลาด รวมถึงการให้ความรู้และหาแนวทางการปรับปรุงแหล่งน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทา... จำนวนผู้อ่าน 30 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ และให้บริการเกษตรกร สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครง... จำนวนผู้อ่าน 29 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ ระดับอำเภอ ครั้งที่ 2/2568 ณ ศพก.เครือข่าย (สวนน้อยรักษา) แขวงบางบอนเหนือ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเค... จำนวนผู้อ่าน 29 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง พร้อมด้วยสำนักงานประมงเขตพื้นที่ 1 ลงพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมองค์ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน กิจกรรมพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2568 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง พร้อมด้ว... จำนวนผู้อ่าน 29 สำนักงานประมงเขตพื้นที่ 1 กลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง และกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ลงพื้นที่เขตดินแดง แขวงรัชดา สำนักงานประมงเขตพื้นที่ 1 กลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง และกองวิจัยและพัฒนาประมง... จำนวนผู้อ่าน 28 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครลงพื้นที่ให้บริการเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในพื้นที่เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครลงพื้นที่ให้บริการเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ... จำนวนผู้อ่าน 27


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร

    รายละเอียด สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ชั้น 1 อาคารเชิดชาย อมาตยกุล กรมประมง เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร 10900  email  fisheriesbkk999@gmail.com  โทรศัพท์ 02-558-0197-8  FAX 02-225-0197-8  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6