ปลาเรืองแสง GMOs

 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

ปลาเรืองแสง GMOs 

แบนเนอร์

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT ปลาเรืองแสง GMOs..คลิก

https://forms.gle/fpeTK5wEZMESeii39กรมประมง...ออกโรงเตือน “ปลาเรืองแสง” สวยอันตราย ตัดต่อพันธุกรรม GMOs
ห่วง ! ถูกกีดกันทางการค้า หวั่น ! กระทบอุตสาหกรรมปลาสวยงามไทยทั้งระบบ
หากมีในครอบครองให้ส่งคืนกรมประมง

กรมประมง เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร และผู้ประกอบการ ถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (สัตว์น้ำ GMOs) หรือ “ปลาเรืองแสง” ออกสู่ตลาดปลาสวยงาม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ จากนานาชาติ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามของไทย ที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท/ปี และผู้เพาะเลี้ยงจะมีความผิดทางกฎหมายอีกด้วย หากมีไว้ในครอบครองให้ส่งให้กรมประมงได้ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน - 30 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง ทั่วประเทศ หรือ สำนักงานประมงจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ได้รับการรายงานว่า ขณะนี้พบมีผู้ที่ทำการเพาะเลี้ยง “ปลาเรืองแสง” หรือ ปลาที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms : GMOs) ด้วยเทคนิคการนำยีนส์ที่ได้จากแมงกะพรุนหรือดอกไม้ทะเลบางชนิดไปใส่ไว้ใน DNA ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของปลา และจะสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเด่นขึ้นมา เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงไฟ Blacklight จะทำให้ตัวปลาเรืองแสงสะท้อนขึ้นมาเกิดความแปลกตา สวยงาม ซึ่งชนิดของสีเรืองแสงที่มีการค้าในปัจจุบัน มี 6 สี ได้แก่ สีเขียว (Electric Green) สีฟ้า (Cosmic Blue) สีแดง (Starfire Red) สีส้ม (Sunburst Orange) สีชมพู (Moonrise Pink) สีมม่วง (Galactic Purple)
ในปัจจุบันนานาชาติโดยส่วนใหญ่ไม่ให้การยอมรับเรื่องของ GMOs ในสิ่งมีชีวิต เพราะอาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาสวยงาม หากเข้าไปแทรกอยู่ในยีนส์แล้ว ยากที่จะเอาออกทำให้สูญเสียความเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมไป ถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่น่ากังวล ประกอบกับ ประเทศไทยได้มีการลงนามในพิธีสารคาร์ตาเฮน่า ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) มีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการที่ GMOs จะก่อให้เกิดอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของมนุษย์ ดังนั้น หากประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลา GMOs อาจส่งผลกระทบทำให้ถูกกีดกันทางการค้าจากนานาชาติ ทั้งในเรื่องของความเข้มงวดของการนำเข้าปลาสวยงาม หรืออาจร้ายแรงไปจนถึงการห้ามค้าขายปลาสวยงามที่เป็นหรือเสี่ยงที่จะเป็นปลา GMOs เลยทีเดียว ทั้งนี้ การตรวจสอบสัตว์น้ำตัดต่อพันธุกรรมเรืองแสงในปลาที่เรืองแสงชัดเจน มีขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบโดยละเอียด ด้วยวิธีตรวจสอบจากสารพันธุกรรม (DNA) โดยเทคนิค PCR หรือ Real time PCR ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูง ส่วนการตรวจสอบเบื้องต้น สามารถใช้ไฟฉาย UV Black light ส่องดูได้
ในปัจจุบันมีปลาสวยงามหลากหลายชนิดที่นำมาพัฒนาพันธุ์ด้วยวิธีการตัดต่อพันธุกรรมเป็นปลาเรืองแสง เช่น ปลาเสือเยอรมัน (Tiger Barb) ปลาม้าลาย (Danio) ปลากลุ่มเตตร้า (Longfin Tetra & Tetra) ปลาเทวดา (Angelfish) ปลากาแดง (Redfin Shark) และที่น่ากังวล คือ ปลากัด (Betta) เป็นสัตว์น้ำชนิดใหม่ล่าสุดที่นำมาดัดแปลงพันธุกรรมเรืองแสง กลายเป็น “ปลากัดเรืองแสง” และเริ่มออกขายในตลาดปลาสวยงาม กว่า 1 ปี เป็นสิ่งที่อันตราย ต่อวงการปลากัดไทยอย่างมาก เพราะปลากัดของไทยโด่งดังไกลทั่วโลก เนื่องจากมีลักษณะ ลวดลาย สีสันที่สวยงาม จนมีลูกค้าจากทั่วโลกที่ต้องการปลากัดของไทย มีตลาดค้าขายปลากัดไทยทั้งออนไลน์และออฟไลน์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 200 ล้านบาท/ปี ถือเป็นปลาสวยงามที่สร้างมูลค่าการส่งออกหลักให้การค้าสัตว์น้ำสวยงามของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ซึ่งทราบกันว่า ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ อีกด้วย
หากไม่ยับยั้งคาดว่าในอนาคตอาจเกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่น และก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามของไทยอย่างแน่นอน อีกทั้ง ผู้เพาะเลี้ยงยังมีความผิดทางกฎหมาย ตามมาตรา 65 และ มาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 และบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 เพื่อป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ มีโทษทั้งจำคุก ไม่เกิน 1 – 2 ปี ปรับไม่เกิน 1 – 2 ล้านบาท
กรมประมง จึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ผู้ประกอบการปลาสวยงาม และกลุ่มลูกค้าปลาสวยงาม ว่าปลาสวยงามมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ที่สำคัญเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดมีความสามารถเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอยู่แล้ว เช่น ที่ผ่านมามีการพัฒนาปลากัดเป็นลายธงชาติไทย หากพัฒนาให้เป็นลายธงชาติประเทศต่างๆ หรือจะผลิตลวดลายสีสันใหม่ๆ ที่สวยงาม แปลกตา สามารถสร้างมูลค่าในตัวเองได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการตัดต่อพันธุกรรมซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคต ดังนั้น หากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ผู้ประกอบการปลาสวยงาม และกลุ่มลูกค้าท่านใดที่เพาะเลี้ยงและมีครอบครองอยู่ขอให้ส่งให้กรมประมงได้ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง ทั่วประเทศ หรือ สำนักงานประมงจังหวัด 77 จังหวัด ทั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง โทร. 0 2562 0426
หรือ Facebook Page : https://www.facebook.com/aquaticplantandornamentalfish

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_qr_group/131/9714]

แบบฟอร์มรับมอบปลาดัดแปลงพันธุกรรม : https://forms.gle/fpeTK5wEZMESeii39

 Tags

  •   Hits
  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะ และกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะ เพื่อเลือกสรรบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่งเจ้าพนักงานประมง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะ และกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และร... จำนวนผู้อ่าน 221  กรมประมง มุ่งพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ Smart Farmer ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จัดอบรมหลักสูตรเข้มข้น เสริมสร้างความรู้ เทคนิค และทักษะ ผสานเทคโนโลยี ยกระดับเกษตรกรยุคใหม่ก้าวสู่การเป็น Smart Farmer อย่างยั่งยืน กรมประมง มุ่งพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ Smart Farmer ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จัดอบร... จำนวนผู้อ่าน 139 ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณ ปี 2568 ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณ ปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 110 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลและประเมินผลการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำด้วยวิธีประเมิน Catch per unit of effort (CPUE) ประชุมชี้แจงการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลและประเมินผลการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำด้วยวิธีป... จำนวนผู้อ่าน 106 ประชุมคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นด้านการประมงระดับประเทศ ประเภทอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประชุมคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นด้านการประมงระดับประเทศ ประเภทอาชีพเ... จำนวนผู้อ่าน 92 ข้าราชการพลเรือนดีเด่นกรมประมง ประจำปี พ.ศ. 2567 ข้าราชการพลเรือนดีเด่นกรมประมง ประจำปี พ.ศ. 2567  จำนวนผู้อ่าน 90 พนักงานราชการดีเด่นกรมประมง พ.ศ. 2567 พนักงานราชการดีเด่นกรมประมง พ.ศ. 2567  จำนวนผู้อ่าน 81 ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดร้อยเอ็ด ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดร้อยเอ็ด  จำนวนผู้อ่าน 79 ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกาฬสินธุ์ ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกาฬสินธุ์  จำนวนผู้อ่าน 76 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568  นายวิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยเเละพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พร้อมด้วยนายนิติกร  ผิวผ่อง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดพระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดราชบุรี วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 นายวิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยเเละพัฒนาก... จำนวนผู้อ่าน 74 ประชุมหารือการจัดทำข้อมูลเพื่อตอบแบบสำรวจความต้องการและ ความคิดเห็นของหน่วยงานระดับกอง ฯ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบ วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านการประมง (Fisheries Big Data Analytics System) ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Al) ฯลฯ ประชุมหารือการจัดทำข้อมูลเพื่อตอบแบบสำรวจความต้องการและ ความคิดเห็นของหน่วยงานระ... จำนวนผู้อ่าน 72 ใบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ ใบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ  จำนวนผู้อ่าน 71 ข้าราชการผลเรือนดีเด่น พ.ศ. 2567 ข้าราชการผลเรือนดีเด่น พ.ศ. 2567  จำนวนผู้อ่าน 68 ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดขอนแก่น ติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดขอนแก่น  จำนวนผู้อ่าน 66 วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 นายสุชาติ แสงจันทร์ ผู้ตรวจราชการกรม พร้อมด้วยนายวิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด นายสุภาพ แก้วละเอียดพร้อมคณะ ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมฟาร์มเกษตรกรที่เข้ารับการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการประมง ระดับประเทศ ประเภทอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 นายสุชาติ แสงจันทร์ ผู้ตรวจราชการกรม พร้อมด้วยนาย... จำนวนผู้อ่าน 62


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

    รายละเอียด กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ชั้น 3 อาคารจรัลธาดา กรรณสูต กรมประมง เลขที่ 50 เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  email  inland.information2@gmail.com  โทรศัพท์ 0 2562 0585  FAX 0 2562 0585  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6