อากาศร้อนจัดแตะ 40 องศา อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น กรมประมง...เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ระวัง ! โรคตับวายเฉียบพลัน (AHPND) หรือ โรคกุ้งตายด่วน (EMS)

 กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ


อากาศร้อนจัดแตะ 40 องศา อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น กรมประมง...เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ระวัง ! โรคตับวายเฉียบพลัน (AHPND) หรือ โรคกุ้งตายด่วน (EMS) 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

อากาศร้อนจัดแตะ 40 องศา อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น กรมประมง...เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ระวัง ! โรคตับวายเฉียบพลัน (AHPND) หรือ โรคกุ้งตายด่วน (EMS)..คลิก

           นายบัญชา  สุขแก้ว  อธิบดีกรมประมง  กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นเอื้อต่อการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. หลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Vibrio parahaemolyticus ที่สร้างสารพิษได้ (VpAHPND) ก่อให้เกิดโรคตับวายเฉียบพลัน หรือ โรคกุ้งตายด่วน (AHPND/EMS) ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงต่อผลผลิตของกุ้งทะเล 
          โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรค ได้แก่ อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น การให้อาหารปริมาณมาก คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดแพลงก์ตอนบลูม ปริมาณแอมโมเนียและไนไตรท์ในน้ำสูง กุ้งเครียดและอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันลดลง มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้ ส่วนใหญ่จะพบการติดเชื้อในกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำระยะโพสลาวา (PL) ช่วงอายุ 30 – 35 วันหลังปล่อยกุ้งลงบ่อดิน  ลักษณะของกุ้งที่ป่วยเป็นโรคตับวายเฉียบพลัน จะเกิดการฝ่อและตายของท่อตับและตับอ่อน บางครั้งมองเห็นเป็นขีดสีดำบริเวณตับและตับอ่อนในกุ้ง ลำไส้ไม่มีอาหาร เปลือกกุ้งนิ่ม กุ้งโตช้า ว่ายน้ำเฉื่อยโรคตับวายเฉียบพลันในกุ้งสามารถติดต่อได้ทางน้ำและการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมทั้งการกินกันเองของกุ้ง  
          เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันความเสียหายจากโรคนี้ในช่วงฤดูร้อน ขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมง ดังนี้
          1. เมื่อพบกุ้งที่มีอาการผิดปกติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมประมงในพื้นที่ หรือ แจ้งผ่านระบบการรายงานสัตว์น้ำป่วย กพส.สร.1 ตาม QR-code  ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าฟาร์มเก็บตัวอย่างกุ้ง ส่งตรวจหาสาเหตุของโรคและให้คำแนะนำในเบื้องต้น
          2. ไม่เคลื่อนย้ายกุ้งชุดที่มีการตายผิดปกติออกจากบ่อเลี้ยงและฟาร์ม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
          3. ไม่ถ่ายน้ำจากบ่อที่มีกุ้งตายผิดปกติออกสู่ภายนอกฟาร์มในขณะที่รอผลการตรวจ กรณีได้รับผลตรวจยืนยันว่ากุ้งป่วยจากโรคนี้ ต้องฆ่าเชื้อในน้ำโดยใช้คลอรีน ปริมาณ 200 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน (200 PPM) แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 24 - 48 ชั่วโมง เพื่อมั่นใจว่าไม่มีคลอรีนเหลืออยู่ ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
           4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในบ่อที่มีการตายของกุ้งด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีนปริมาณ 200 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน (200 PPM)  แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที แล้วล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า
          อธิบดีฯ กล่าวเน้นย้ำในตอนท้าย ว่าเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ควรหมั่นสังเกตและดูแลกุ้งอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ควบคุมการให้ปริมาณอาหารอย่างเหมาะสม หรืออาจผสมสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเช่น วิตามินซี เบตากลูเคน  จุลินทรีย์โพรไบโอติก ฯลฯ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมประมง เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้กับกุ้ง อย่างไรก็ตามหากพบกุ้งป่วยหรือมีอาการผิดปกติ หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถแจ้งหรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด หรือ ศูนย์วิจัยฯ สัตว์น้ำของกรมประมงในพื้นที่ หรือ กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพฯ โทร.  0 2579 4122นายบัญชา  สุขแก้ว  อธิบดีกรมประมง  กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นเอื้อต่อการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. หลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Vibrio parahaemolyticus ที่สร้างสารพิษได้ (VpAHPND) ก่อให้เกิดโรคตับวายเฉียบพลัน หรือ โรคกุ้งตายด่วน (AHPND/EMS) ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงต่อผลผลิตของกุ้งทะเล 
          โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรค ได้แก่ อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น การให้อาหารปริมาณมาก คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดแพลงก์ตอนบลูม ปริมาณแอมโมเนียและไนไตรท์ในน้ำสูง กุ้งเครียดและอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันลดลง มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้ ส่วนใหญ่จะพบการติดเชื้อในกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำระยะโพสลาวา (PL) ช่วงอายุ 30 – 35 วันหลังปล่อยกุ้งลงบ่อดิน  ลักษณะของกุ้งที่ป่วยเป็นโรคตับวายเฉียบพลัน จะเกิดการฝ่อและตายของท่อตับและตับอ่อน บางครั้งมองเห็นเป็นขีดสีดำบริเวณตับและตับอ่อนในกุ้ง ลำไส้ไม่มีอาหาร เปลือกกุ้งนิ่ม กุ้งโตช้า ว่ายน้ำเฉื่อยโรคตับวายเฉียบพลันในกุ้งสามารถติดต่อได้ทางน้ำและการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมทั้งการกินกันเองของกุ้ง  
          เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันความเสียหายจากโรคนี้ในช่วงฤดูร้อน ขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมง ดังนี้
          1. เมื่อพบกุ้งที่มีอาการผิดปกติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมประมงในพื้นที่ หรือ แจ้งผ่านระบบการรายงานสัตว์น้ำป่วย กพส.สร.1 ตาม QR-code  ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าฟาร์มเก็บตัวอย่างกุ้ง ส่งตรวจหาสาเหตุของโรคและให้คำแนะนำในเบื้องต้น
          2. ไม่เคลื่อนย้ายกุ้งชุดที่มีการตายผิดปกติออกจากบ่อเลี้ยงและฟาร์ม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
          3. ไม่ถ่ายน้ำจากบ่อที่มีกุ้งตายผิดปกติออกสู่ภายนอกฟาร์มในขณะที่รอผลการตรวจ กรณีได้รับผลตรวจยืนยันว่ากุ้งป่วยจากโรคนี้ ต้องฆ่าเชื้อในน้ำโดยใช้คลอรีน ปริมาณ 200 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน (200 PPM) แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 24 - 48 ชั่วโมง เพื่อมั่นใจว่าไม่มีคลอรีนเหลืออยู่ ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
           4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในบ่อที่มีการตายของกุ้งด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีนปริมาณ 200 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน (200 PPM)  แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที แล้วล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า
          อธิบดีฯ กล่าวเน้นย้ำในตอนท้าย ว่าเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ควรหมั่นสังเกตและดูแลกุ้งอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ควบคุมการให้ปริมาณอาหารอย่างเหมาะสม หรืออาจผสมสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเช่น วิตามินซี เบตากลูเคน จุลินทรีย์โพรไบโอติก ฯลฯ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมประมง เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้กับกุ้ง อย่างไรก็ตามหากพบกุ้งป่วยหรือมีอาการผิดปกติ หรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถแจ้งหรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด หรือ ศูนย์วิจัยฯ สัตว์น้ำของกรมประมงในพื้นที่ หรือ กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพฯ โทร.  0 2579 4122

 Tags

  •   Hits
  • คู่มือการใช้ยาต้านจุลชีพและสารเคมีอย่างสมเหตุผลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คู่มือการใช้ยาต้านจุลชีพและสารเคมีอย่างสมเหตุผลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  จำนวนผู้อ่าน 234  ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำสงขลา จัดกิจกรรมคลินิกเคลื่อนที่และการประชุมการแก้ไขปัญหาโรคกุ้งทะเล ภายใต้หัวข้อ “ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาโรคกุ้งทะเล” ในพื้นที่ จังหวัดตรัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำสงขลา จัดกิจกรรมคลินิกเคลื่อนที่และการประชุมการแ... จำนวนผู้อ่าน 128 เกษตรกรยุคใหม่ เลี้ยงสัตว์น้ำใส่ใจ ไม่ใช้  เกษตรกรยุคใหม่ เลี้ยงสัตว์น้ำใส่ใจ ไม่ใช้ "ยาด๊อกซี่"  จำนวนผู้อ่าน 106 รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำสำหรับส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไปยังสาธารณรัฐเกาหลี ฉบับใหม่ รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำสำหรับส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไปยังสาธารณรัฐเกาหล... จำนวนผู้อ่าน 97 รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำไปยังสาธารณรัฐเซอร์เบีย รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำไปยังสาธารณรัฐเซอร์เบีย  จำนวนผู้อ่าน 80 ปรสิตภายนอกที่พบบ่อยในปลาสวยงาม ปรสิตภายนอกที่พบบ่อยในปลาสวยงาม  จำนวนผู้อ่าน 76 การตรวจวิเคราะห์โรคก่อนการส่งออกกุ้งก้ามกรามมีชีวิตเพื่อการบริโภค ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน การตรวจวิเคราะห์โรคก่อนการส่งออกกุ้งก้ามกรามมีชีวิตเพื่อการบริโภค ไปยังสาธารณรัฐ... จำนวนผู้อ่าน 69 รับสมัครงาน ตำแหน่งแม่บ้านทำความสะอาด (จ้างเหมาบริการ) จำนวน 1 อัตรา รับสมัครงาน ตำแหน่งแม่บ้านทำความสะอาด (จ้างเหมาบริการ) จำนวน 1 อัตรา  จำนวนผู้อ่าน 68 รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำสำหรับส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต  ไปยังราชอาณาจักรเบลเยียม รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำสำหรับส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไปยังราชอาณาจักรเบ... จำนวนผู้อ่าน 68 กิจกรรมจัดแสดงหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 2 และปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลา ในโอกาสรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสงขลา กิจกรรมจัดแสดงหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 2 และปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลา ในโอกาสรัฐมนตรี... จำนวนผู้อ่าน 67 รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำไปยังประเทศปลายทาง สหภาพยุโรป รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำไปยังประเทศปลายทาง สหภาพย... จำนวนผู้อ่าน 66 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 56 รายชื่อยาต้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปี 2568 รายชื่อยาต้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 53 รายงานผลสำเร็จการดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายงานผลสำเร็จการดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ... จำนวนผู้อ่าน 53 กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ ลงพื้นที่ตรวจสอบการตายผิดปกติของปลาสลิด ผ่านการรายงานระบบรายงานสัตว์น้ำป่วย (กพส.สร.1) ในจังหวัดสมุทรสาคร กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ ลงพื้นที่ตรวจสอบการตายผิดปกติของปลาสลิด ผ่านการรา... จำนวนผู้อ่าน 49


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ

    รายละเอียด 50 กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรมประมง เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  email  aahrdd.dof@gmail.com  โทรศัพท์ 02 579 4122  FAX 02 561 3993  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6