รายการเอกสารประกอบการนำเข้ากุ้งมีชีวิต (พ่อแม่พันธุ์/ลูกพันธุ์) ไปยังมาเลเซีย

 กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ


รายการเอกสารประกอบการนำเข้ากุ้งมีชีวิต (พ่อแม่พันธุ์/ลูกพันธุ์) ไปยังมาเลเซีย 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

รายการเอกสารประกอบการนำเข้ากุ้งมีชีวิต (พ่อแม่พันธุ์/ลูกพันธุ์) ไปยังมาเลเซีย..คลิก

ข้อกำหนดการนำเข้าสำหรับการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิต (ครัสตาเชียน) ไปยังประเทศมาเลเซีย

          กรมประมงมาเลเซีย กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรมาเลเซีย ประกาศข้อกำหนดการนำเข้าสำหรับการนำเข้า
สัตว์น้ำมีชีวิต (ครัสตาเชียน) ไปยังประเทศมาเลเซีย ดังนี้ (ตามอำนาจมาตรา 40 ของการควบคุมสัตว์น้ำมีชีวิตภายใต้พระราชบัญญัติประมง 1985)

     ก. สัตว์น้ำมีชีวิต: ครัสตาเชียน

     ข. ประเทศผู้ส่งออก: ทั้งหมด

     ค. กฎระเบียบสำหรับการนำเข้า

          1. ใบอนุญาตนำเข้าและมาตรการการนำเข้า

               1.1. ผู้นำเข้าต้องขึ้นทะเบียนกับ:

                    1.1.1. กรมประมงมาเลเซีย (สำหรับคาบสมุทรมาเลเซียและซาราวัก)

                    1.1.2. กรมประมงซาบาห์

                    1.1.3. กรมเกษตรซาราวักสำหรับการประมงจืด

               1.2. ผู้นำเข้าต้องมีพื้นที่กักกันที่รับรองโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจส่วนกลางของมาเลเซีย

               1.3. สินค้าจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าที่ออกโดยอธิบดีกรมบริการกักกันและตรวจสอบมาเลเซีย หรืออธิบดีกรมประมงซาบาห์ หรืออธิบดีกรมเกษตรซาราวัก

               1.4. หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำที่ออกโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออกและยังไม่หมดอายุ

          2. รายละเอียดของสัตว์

               2.1. ไม่มีข้อมูล

          3. เงื่อนไขสำหรับการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตมายังมาเลเซีย (WTO 20)

               3.1. ต้องแสดงหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ณ ด่านท่าเข้า พร้อมกับสินค้าสัตว์น้ำมีชีวิต โดยหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำต้องออกโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออก ลงนามโดยเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมาย และมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

                      1) ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออก

                      2) ชื่อและที่อยู่ของปลายทาง/ผู้นำเข้า

                      3) ชื่อ (ชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อสามัญ)

                      4) แหล่งที่มาของสัตว์น้ำมีชีวิต

                      5) สัตว์น้ำมีชีวิตต้องมาจากประเทศ โซน หรือสถานประกอบการที่มีสถานะปลอดจากโรคตามบัญชีโรคสัตว์น้ำขององค์การสุขภาพสัตว์โรค (OIE) สัตว์น้ำมีชีวิตอยู่ภายใต้โปรแกรมเฝ้าระวังสุขภาพสัตว์น้ำตาม Aquatic Animal Health Code ของ OIE

                      6) สัตว์น้ำมีชีวิตถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออกภายใน 72 ชั่วโมงก่อนส่งออกและไม่พบลักษณะอาการโรค

                      7) สัตว์น้ำมีชีวิตต้องไม่ได้มาจากแหล่งที่มาที่พบการตายซึ่งไม่สามารถยืนยันสาเหตุได้ในช่วง 6 เดือน สัตว์น้ำต้องไม่ได้ถูกห้ามอันเนื่องมาจากการตายเพิ่มขึ้นที่ไม่ทราบทางแก้ไข

                      8) สัตว์น้ำต้องถูกกักกันอย่างน้อย 14 วันในพื้นที่กักกันที่ได้รับการรับรองในประเทศผู้ส่งออกและไม่พบลักษณะอาการโรคก่อนการส่งออก

                      9) ประเทศผู้ส่งออกต้องทำให้มั่นใจว่าสินค้าสัตว์น้ำมาจากประเทศ โซน ฟาร์ม หรือสถานประกอบการที่ปลอดจากโรคตามบัญชี OIE และไม่มีอุบัติการณ์โรคเป็นเวลาสองปีก่อนการส่งออก

          4. ระยะเวลาการกักกัน

          กุ้งที่นำเข้าจะต้องถูกกักกันในสถานประกอบการของผู้นำเข้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นเวลา 7วัน ผู้นำเข้าที่ขึ้นทะเบียนต้องปฏิบัติตามมาตรการหลังนำเข้าของกรมประมง

          5. เงื่อนไขอื่น ๆ

               5.1. สินค้าสัตว์น้ำชีวิตจะต้องมีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ หนังสือรับรองแหล่งที่มา (Certificate of Origin) หนังสืออนุญาตนำเข้า Invoice Packing list และ Billing Flight หรือ Bill of Lading

               5.2. สำหรับปลาอโรวานา (Arowana) จะต้องมีหนังสืออนุญาต CITES และหนังสือรับรองแหล่งที่มา (Certificate of Origin)

               5.3. รายการชนิดและปริมาณสัตว์น้ำตรงกับที่ระบุในหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ invoice และ packing list

               5.4. สินค้าติดฉลากอย่างชัดเจน โดยระบุว่า ‘Crustacean’ 

          6. ค่าธรรมเนียม

               แต่ละเที่ยวสินค้ามีค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

               คาบสมุทรมาเลเซีย: RM 15.00

               ซาบาห์: RM 5.00

 

 Tags

  •   Hits
  • คู่มือการใช้ยาต้านจุลชีพและสารเคมีอย่างสมเหตุผลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คู่มือการใช้ยาต้านจุลชีพและสารเคมีอย่างสมเหตุผลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  จำนวนผู้อ่าน 232  ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำสงขลา จัดกิจกรรมคลินิกเคลื่อนที่และการประชุมการแก้ไขปัญหาโรคกุ้งทะเล ภายใต้หัวข้อ “ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาโรคกุ้งทะเล” ในพื้นที่ จังหวัดตรัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำสงขลา จัดกิจกรรมคลินิกเคลื่อนที่และการประชุมการแ... จำนวนผู้อ่าน 127 เกษตรกรยุคใหม่ เลี้ยงสัตว์น้ำใส่ใจ ไม่ใช้  เกษตรกรยุคใหม่ เลี้ยงสัตว์น้ำใส่ใจ ไม่ใช้ "ยาด๊อกซี่"  จำนวนผู้อ่าน 102 รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำสำหรับส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไปยังสาธารณรัฐเกาหลี ฉบับใหม่ รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำสำหรับส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไปยังสาธารณรัฐเกาหล... จำนวนผู้อ่าน 96 รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำไปยังสาธารณรัฐเซอร์เบีย รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำไปยังสาธารณรัฐเซอร์เบีย  จำนวนผู้อ่าน 77 ปรสิตภายนอกที่พบบ่อยในปลาสวยงาม ปรสิตภายนอกที่พบบ่อยในปลาสวยงาม  จำนวนผู้อ่าน 69 รับสมัครงาน ตำแหน่งแม่บ้านทำความสะอาด (จ้างเหมาบริการ) จำนวน 1 อัตรา รับสมัครงาน ตำแหน่งแม่บ้านทำความสะอาด (จ้างเหมาบริการ) จำนวน 1 อัตรา  จำนวนผู้อ่าน 68 การตรวจวิเคราะห์โรคก่อนการส่งออกกุ้งก้ามกรามมีชีวิตเพื่อการบริโภค ไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน การตรวจวิเคราะห์โรคก่อนการส่งออกกุ้งก้ามกรามมีชีวิตเพื่อการบริโภค ไปยังสาธารณรัฐ... จำนวนผู้อ่าน 68 รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำสำหรับส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต  ไปยังราชอาณาจักรเบลเยียม รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำสำหรับส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไปยังราชอาณาจักรเบ... จำนวนผู้อ่าน 65 รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำไปยังประเทศปลายทาง สหภาพยุโรป รูปแบบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกสัตว์น้ำไปยังประเทศปลายทาง สหภาพย... จำนวนผู้อ่าน 64 กิจกรรมจัดแสดงหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 2 และปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลา ในโอกาสรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสงขลา กิจกรรมจัดแสดงหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 2 และปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลา ในโอกาสรัฐมนตรี... จำนวนผู้อ่าน 60 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 52 รายงานผลสำเร็จการดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายงานผลสำเร็จการดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ... จำนวนผู้อ่าน 51 รายชื่อยาต้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปี 2568 รายชื่อยาต้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 50 กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ ลงพื้นที่ตรวจสอบการตายผิดปกติของปลาสลิด ผ่านการรายงานระบบรายงานสัตว์น้ำป่วย (กพส.สร.1) ในจังหวัดสมุทรสาคร กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ ลงพื้นที่ตรวจสอบการตายผิดปกติของปลาสลิด ผ่านการรา... จำนวนผู้อ่าน 46


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ

    รายละเอียด 50 กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรมประมง เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  email  aahrdd.dof@gmail.com  โทรศัพท์ 02 579 4122  FAX 02 561 3993  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6