กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น
เมื่อวันอังคารที่ 6 กันยายน 2565
เวลา 10.00 น. ณ องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านแปรรูปสัตว์น้ำบ้านทุ่งต้อม (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูดำเหมยซานเกษตรพอเพียง) ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยนายธเนศ พุ่มทอง ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด(กพจ.) นายสง่า ลีสง่า ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ นางกฤษณา จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการงพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น(กมป.) นายสุภาพ แก้วละเอียด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงราย นายกิตติพัทธ์ แก้วใส ผอ.ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต1(เชียงราย) จนท.สนง.ประมง จ.เชียงรายและคณะ ลงพื้นที่ดูงานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านแปรรูปสัตว์น้ำบ้านทุ่งต้อม อ.เทิง (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูดำเหมยซานเกษตรพอเพียง) ซึ่งได้รับการส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้เบื้องต้นด้านการจัดการฟาร์มและพันธุ์สัตว์น้ำอินทรีย์จาก สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงราย มีการรวมกลุ่มเกษตรกร จำนวน 10 กลุ่มในพื้นที่เป้าหมาย 7 ตำบลของอ.เทิงโดยมี น.ส.พิชญาภา ณรงค์ชัย ประธานกลุ่มฯ เป็นผู้ให้ข้อมูลและรายงานผลดำเนินการ แจ้งความประสงค์จะเพาะเลี้ยงปลานิล และกบนา รวมทั้งการจัดตั้งโรงเพาะฟักและอนุบาลปลานิลแบบอินทรีย์ เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงแบบอินทรีย์ของเกษตรกรประมาณ 800 ราย
โดยมีผลการหารือกิจกรรมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 สรุปดังนี้
กมป.จะจัดดำเนินการอบรมให้เกษตรกรเตรียมความพร้อมในการเเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ (ปลานิล)? จำนวน 8 รุ่น รุ่นละ 100ราย รวม 800 ราย
กพจ.โดยศูนย์วิจัยฯประมงน้ำจืดเชียงรายจัดอบรม/ดูงาน เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งโรงเพาะฟักในพื้นที่ เพื่อผลิตอนุบาลลูกปลานิลอินทรีย์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ อ.เทิง
ประสานงานกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำให้คำแนะนำปรับปรุงสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น เพื่อพัฒนาสู่สถานแปรรูปสัตว์น้ำอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ สนง.ประมงจังหวัดเชียงรายจะเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนต่อกรมประมง พร้อมนี้ คณะได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูปภายในร้าน Fisherman Shop@เจียงฮาย สาขาทุ่งต้อมพร้อมและให้คำแนะนำในการพัฒนาต่อยอดสินค้าเพื่อสร้างมาตรฐานแบรนด์สินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและขยายภาคการตลาดต่อไป
เมื่อวันอังคารที่ 6 กันยายน 2565
เวลา 10.00 น. ณ องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านแปรรูปสัตว์น้ำบ้านทุ่งต้อม (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูดำเหมยซานเกษตรพอเพียง) ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยนายธเนศ พุ่มทอง ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด(กพจ.) นายสง่า ลีสง่า ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ นางกฤษณา จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการงพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น(กมป.) นายสุภาพ แก้วละเอียด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงราย นายกิตติพัทธ์ แก้วใส ผอ.ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต1(เชียงราย) จนท.สนง.ประมง จ.เชียงรายและคณะ ลงพื้นที่ดูงานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านแปรรูปสัตว์น้ำบ้านทุ่งต้อม อ.เทิง (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูดำเหมยซานเกษตรพอเพียง) ซึ่งได้รับการส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้เบื้องต้นด้านการจัดการฟาร์มและพันธุ์สัตว์น้ำอินทรีย์จาก สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงราย มีการรวมกลุ่มเกษตรกร จำนวน 10 กลุ่มในพื้นที่เป้าหมาย 7 ตำบลของอ.เทิงโดยมี น.ส.พิชญาภา ณรงค์ชัย ประธานกลุ่มฯ เป็นผู้ให้ข้อมูลและรายงานผลดำเนินการ แจ้งความประสงค์จะเพาะเลี้ยงปลานิล และกบนา รวมทั้งการจัดตั้งโรงเพาะฟักและอนุบาลปลานิลแบบอินทรีย์ เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงแบบอินทรีย์ของเกษตรกรประมาณ 800 ราย
โดยมีผลการหารือกิจกรรมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 สรุปดังนี้
กมป.จะจัดดำเนินการอบรมให้เกษตรกรเตรียมความพร้อมในการเเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ (ปลานิล)? จำนวน 8 รุ่น รุ่นละ 100ราย รวม 800 ราย
กพจ.โดยศูนย์วิจัยฯประมงน้ำจืดเชียงรายจัดอบรม/ดูงาน เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งโรงเพาะฟักในพื้นที่ เพื่อผลิตอนุบาลลูกปลานิลอินทรีย์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ อ.เทิง
ประสานงานกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำให้คำแนะนำปรับปรุงสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น เพื่อพัฒนาสู่สถานแปรรูปสัตว์น้ำอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ สนง.ประมงจังหวัดเชียงรายจะเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนต่อกรมประมง พร้อมนี้ คณะได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูปภายในร้าน Fisherman Shop@เจียงฮาย สาขาทุ่งต้อมพร้อมและให้คำแนะนำในการพัฒนาต่อยอดสินค้าเพื่อสร้างมาตรฐานแบรนด์สินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและขยายภาคการตลาดต่อไป