วาฬบรูด้าเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562


[2025-07-15] การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ ปี พ.ศ... [2025-01-22] ประกาศจังหวัดนครนายก เรื่อง ขายทอดตลาดพัสดุ-ชำรุด จำนวน 6 รายการ.. [2024-02-08] แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ Open Data Integrity and Transparency As.. [2022-06-10] ตัวอย่าง แบบรับรองการตรวจ ATK ด้วยตนเอง (สำหรับผู้เข้าสอบ ตำแหน่ง พนัก.. [2022-05-30] เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสุ.. [2022-04-28] น้ำปลา ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองไทยที่ได้มาตรฐานระดับสาก.. [2022-02-07] ใบสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประจำจังหวัด.. [2022-01-18] ปลานิลแดง หรือ ปลานิลสีแดงกัน.. [2022-01-05] ทำไม !! ต้องลองปลาส้ม บ้านวังดอกไม้ ที่จังหวัดนครนายก.. [2022-01-05] ปลานิลของพ่อ… @อำเภอบ้านนา ภูมิปัญญาปลานิลฝากลูก… ฝากเลี้ยงในกระชัง.. อ่านทั้งหมด 

วาฬบรูด้าเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  ประชาสัมพันธ์กรมประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

วาฬบรูด้า หนึ่งในสี่สัตว์ป่าสงวนชนิดใหม่ของไทย

..........................................................

• วาฬบรูด้าเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวน พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พบวาฬชนิดนี้แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ในเขตละติจูด 40 องศาเหนือถึงใต้ ไม่พบการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นระยะทางไกล

• ในประเทศไทยมีรายงานการพบวาฬบรูด้าทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน พบหากินในบางฤดูบริเวณเกาะสุรินทร์ จ.พังงา และนอกชายฝั่งทับละมุ จ.พังงา ซึ่งพบห่างจากฝั่งเพียงแค่ 4-30 กิโลเมตร และประชากรที่พบในอ่าวไทยจัดเป็นวาฬประจำถิ่น

• มีบันทึกข้อมูลการเกยตื้นแบบยังมีชีวิตที่ อ่าวสิเกา จ.ตรัง และที่ จ.สตูล และพบซากเกือบทุกจังหวัดชายทะเลทั้งสองฝั่ง ส่วนฝั่งอ่าวไทยพบแพร่กระจายเกือบตลอดทั้งปีในอ่าวไทยตอนบน ในพื้นที่ชายทะเลของ จ.ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี และเคยพบเข้ามาหากินใกล้ฝั่งที่บ้านบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์

---- สถานภาพการอนุรักษ์ ----

• สถานภาพการอนุรักษ์ในระดับโลก โดยการจัดอันดับของ IUCN (2018) คือ Least Concern (LC) หรือ ไม่ถูกคุกคาม/สถานภาพยังไม่น่าเป็นกังวลเท่าที่ควร

• สถานภาพการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

อาณาจักร: Animalia

ไฟลัม: Chordata

ชั้น: Mammalia

ชั้นย่อย: Eutheria

อันดับ: Artiodactyla

อันดับฐาน: Cetacea

วงศ์: Balaenopteridae

สกุล: Balaenoptera

สปีชีส์: B. edeni

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://km.dmcr.go.th/th/c_250/d_9775

 

#กรมประมง #สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก #วาฬบรูด้า


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา