ปลานิลแดง หรือ ปลานิลสีแดงกัน


[2025-07-15] การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ ปี พ.ศ... [2025-01-22] ประกาศจังหวัดนครนายก เรื่อง ขายทอดตลาดพัสดุ-ชำรุด จำนวน 6 รายการ.. [2024-02-08] แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ Open Data Integrity and Transparency As.. [2022-06-10] ตัวอย่าง แบบรับรองการตรวจ ATK ด้วยตนเอง (สำหรับผู้เข้าสอบ ตำแหน่ง พนัก.. [2022-05-30] เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสุ.. [2022-04-28] น้ำปลา ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองไทยที่ได้มาตรฐานระดับสาก.. [2022-02-07] ใบสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประจำจังหวัด.. [2022-01-18] ปลานิลแดง หรือ ปลานิลสีแดงกัน.. [2022-01-05] ทำไม !! ต้องลองปลาส้ม บ้านวังดอกไม้ ที่จังหวัดนครนายก.. [2022-01-05] ปลานิลของพ่อ… @อำเภอบ้านนา ภูมิปัญญาปลานิลฝากลูก… ฝากเลี้ยงในกระชัง.. อ่านทั้งหมด 

ปลานิลแดง หรือ ปลานิลสีแดงกัน  

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ปลานิลแดง หรือ ปลานิลสีแดง

                                  มารู้จัก ปลานิลแดง หรือ ปลานิลสีแดงกัน ดีกว่า
    ปัจจุบันเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลานิล และ ปลานิลแดง กัน เพราะเป็นที่นิยมบริโภคกันมากทั้งปลาสดและแปรรูป แต่ยังไม่ทราบที่ไปที่มาและชื่อปลานิลแดง พบครั้งแรกในประเทศไทยราวปี พ.ศ.2511 ณ สถานีประมงจังหวัดอุบลราชธานี โดยนักวิชาการประมงของสถานีและเกษตรกรพบปลานิลแดงปะปนอยู่กับปลานิลที่เลี้ยง จึงได้คัดแยกเพาะเลี้ยงไว้ต่างหาก
   ปี 2525 สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ (ชื่อขณะนั่น) ได้นำปลานิลแดง มาเลี้ยงเพื่อทำการคัดพันธุ์และศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรม ภายใต้โครงการ พันธุกรรมปลา ปี 2527 ส่งตัวอย่างปลานิลแดงไปตรวจสอบสายพันธุ์ ณ มหาวิทยาลัยสเตอร์ริง สหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พบว่าปลานิลแดง เป็นลูกผสมระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ มียีนของปลานิล 88% ปลาหมอเทศ 22% ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะภายนอกของปลานิลแดง และสมเด็จพระเทพรัตนรัตนราชสุดาฯ สยามมงกุฎราชกุมารี (พระนามขณะนั้น) ได้ทรงพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า ปลานิลสีแดง แต่มักจะเรียกกันว่าปลานิลแดง 
   ปัจจุบัน ปลานิลแดง ได้ปรับปรุงพันธ์ุ จากกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ และได้รับการรับรองพันธุ์จากรมประมงแล้ว จำนวน 3 สายพันธุ์ เร้ด 1 เร้ด 2 และปทุมธานี 1
   ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ ปลานิลจิตรลดาสายสัมพันธ์พระราชวงศ์ไทย - ญี่ปุ่น และ เว็ปไซต์ กพก.
ข้อมูลเพิ่มเติม เว็ปไซต์กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา