ฝากลูกให้กระชังเลี้ยง ภูมิปัญญาลดต้นทุนค่าพันธุ์ปลา


[2025-07-15] การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ ปี พ.ศ... [2025-01-22] ประกาศจังหวัดนครนายก เรื่อง ขายทอดตลาดพัสดุ-ชำรุด จำนวน 6 รายการ.. [2024-02-08] แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ Open Data Integrity and Transparency As.. [2022-06-10] ตัวอย่าง แบบรับรองการตรวจ ATK ด้วยตนเอง (สำหรับผู้เข้าสอบ ตำแหน่ง พนัก.. [2022-05-30] เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสุ.. [2022-04-28] น้ำปลา ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองไทยที่ได้มาตรฐานระดับสาก.. [2022-02-07] ใบสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประจำจังหวัด.. [2022-01-18] ปลานิลแดง หรือ ปลานิลสีแดงกัน.. [2022-01-05] ทำไม !! ต้องลองปลาส้ม บ้านวังดอกไม้ ที่จังหวัดนครนายก.. [2022-01-05] ปลานิลของพ่อ… @อำเภอบ้านนา ภูมิปัญญาปลานิลฝากลูก… ฝากเลี้ยงในกระชัง.. อ่านทั้งหมด 

ฝากลูกให้กระชังเลี้ยง ภูมิปัญญาลดต้นทุนค่าพันธุ์ปลา 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  ประชาสัมพันธ์กรมประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ฝากลูกให้กระชังเลี้ยง ภูมิปัญญาลดต้นทุนค่าพันธุ์ปลา ลดต้นทุนเป็นหนึ่งในนโยบายของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์...การเพาะพันธุ์ปลานิลฝากลูกในกระชังโดยวิธีการธรรมชาติ เป็นอีกภูมิปัญญาชาวบ้านจากเกษตรกรนครนายก ที่นำมาใช้เพาะพันธุ์และอนุบาลลูกปลานิล กรมประมงเล็งเห็นว่า วิธีการนี้เป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลรายอื่นๆ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานประมงจังหวัดนครนายกศึกษาทดลองเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร “การเพาะพันธุ์ปลานิลแบบฝากเลี้ยงเกิดจากนายสมชาย พุมมีดี วัย 65 ปี ผู้ประกอบอาชีพทำเกษตรผสมผสาน เลี้ยงปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุกในบ่อดินและกระชังในแม่น้ำ ได้ตั้งข้อสงสัยในเมื่อตัวเองมีบ่อดินเองอยู่แล้ว แทนที่จะซื้อลูกปลานิลขนาด 30-40 ตัวต่อ 1 กก. ราคาตัวละ 7-9 บาท มาเลี้ยง ทำไมไม่ซื้อลูกปลาขนาดเท่าใบมะขามที่มีราคาไม่ถึงตัวละบาทมาอนุบาลเพื่อลดต้นทุน เมื่อเริ่มทดลองกลับได้วิธีเพาะพันธุ์ปลานิลแบบฝากเลี้ยงในกระชังแทน” นายบุญส่ง ศิริมา ประมงจังหวัดนครนายก บอกถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้จากการสังเกต รู้จักคิดวิเคราะห์ และทดลองทำในสิ่งใหม่ๆ...เริ่มทดลองเลี้ยงอนุบาลลูกปลานิลขนาดเท่าใบมะขามในกระชังแม่น้ำ ที่มีการทำกระชังใหม่ให้มีขนาดตาอวนเล็กลง จากเคยใช้อวนตาห่าง เปลี่ยนมาเป็นกระชังอวนพริกไทย ไม่ใช้อวนมุ้งเขียว เพราะกระชังอวนพริกไทยตาห่างน้ำผ่านได้ดี และนุ่มกว่าอวนมุ้งเขียว ทำให้สุขภาพลูกปลาน่าจะดีกว่าเลี้ยงในมุ้งเขียว เมื่ออนุบาลลูกปลาจนได้ขนาดพอปล่อยในกระชังใหญ่ได้ จึงแบ่งลูกปลาส่วนหนึ่งไปเลี้ยงในกระชังใหญ่ อีกส่วนแบ่งไปเลี้ยงในบ่อดิน เพื่อทดลองให้ปลาออกไข่เพื่อนำมาใช้เลี้ยงในรุ่นต่อๆไป แต่ให้บังเอิญ...ในบ่อดินมีกระชังอวนพริกไทยถูกนำมาทิ้งไว้ตอนปล่อยลงบ่อ เมื่อลูกปลาในบ่อดินเติบโตขึ้นเรื่อยๆจนโตเต็มวัย พร้อมผสมพันธุ์ ปรากฏว่า กระชังร้างที่ว่างเปล่ามีลูกปลาเข้ามาติดอยู่ในกระชังเป็นจำนวนมาก จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของปลานิลที่เลี้ยงไว้ในบ่อ พบสาเหตุที่มีปลาอยู่ในกระชังอวนพริกไทย เพราะในช่วงเช้ามืดจะมีปลานิลมาว่ายน้ำวนเวียนบริเวณกระชัง และแม่ปลาที่อมไข่ไว้ในปาก ได้พ่นไข่ พ่นลูกปลาเข้าไปในกระชัง เพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรูในบ่อที่จะมาทำร้ายลูกปลา ตามสัญชาตญาณของแม่ปลาต้องหาสถานที่ให้กับลูกปลาได้หลบภัย จากการทดลองของ ลุงสมชาย มานานกว่า 5 ปี จนได้วิธีการผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแบบธรรมชาติ สามารถได้ผลผลิตลูกพันธุ์ปลานิลที่แข็งแรง มีการเจริญเติบโตดีกว่าลูกปลาที่ซื้อมาเลี้ยงที่ขนาดเดียวกัน มีอัตราการรอดสูงถึง 80% ดังนั้น เกษตรกรที่มีบ่อดินสามารถนำวิธีการนี้ไปเพาะและอนุบาลปลานิล ปลาทับทิมโดยวิธีธรรมชาติได้ด้วยตนเอง สามารถช่วยลดต้นทุนค่าลูกพันธุ์ปลาที่นำเลี้ยงได้เป็นอย่างมาก และจากการทดลองเพิ่มเติมร่วมกับโรงเรียนทหารการสัตว์ กรมการสัตว์ทหารบก จ.นครนายก พบว่า หากจะให้ได้ผลดี ในบ่อดินที่ปล่อยพ่อแม่ปลานิลหรือปลาทับทิม ควรมีปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน เลี้ยงควบคู่ไปด้วย เพราะจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นสัญชาตญาณการเอาชีวิตรอด เพื่อสืบต่อเผ่าพันธุ์ของปลานิลได้มากขึ้น และจะยิ่งเพิ่มความแข็งแรงให้กับลูกปลา

ขอขอบคุณข่าวจาก กรวัฒน์ วีนิล ไทยรัฐ ออนไลน์

https://www.thairath.co.th/news/local/2167085

ด้วยความปรารถนาดี

#กรมประมง #สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก #นวัตกรรมใหม่ #ปลานิลฝากลูก #ชุมชนบ้านวังดอกไม้ #ล้อมรักออร์แกนิคฟาร์ม


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา