คัมภีร์วิถีเซียน การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในลูกปลาดุก

 สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก


คัมภีร์วิถีเซียน การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในลูกปลาดุก 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT คัมภีร์วิถีเซียน การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในลูกปลาดุก..คลิก

การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในลูกปลาดุก

เรียบเรียงโดย

นางสาวมัลลิกา วรรณประภา นักวิชาการประมงชำนาญการ

นายอนิวรรตน์ สมชีวิตา นักวิชาการประมงปฏิบัติการ

สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก

 

ปัญหาสารตกค้างในสินค้าสัตว์น้ำที่สืบเนื่องมาจากการใช้ยาและสารเคมีเพื่อรักษาโรคในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีสาเหตุหลักมาจากการใช้ยาไม่ถูกต้อง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ยาโดยขาดความรู้และ ความเข้าใจในยานั้นๆ รวมทั้งการใช้ยาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำ ในปัจจุบันภาครัฐและเอกชนหลายฝ่ายได้เร่งระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกันเกษตรกร จำนวนไม่น้อยก็เริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ในการรักษาโรคต่างๆ เพื่อใช้ทดแทนยาและสารเคมีเพื่อรักษาโรคในสัตว์น้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน

ในปัจจุบันการป้องกัน และรักษาโรคปลามักใช้สารเคมีสังเคราะห์ และยาปฏิชีวนะ ถึงแม้ว่า วิธีการดังกล่าวจะให้ผลดี แต่ก็มีข้อด้อยอยู่หลายประการ เช่น

1. สารเคมีสังเคราะห์ และยาปฏิชีวนะสามารถตกค้างอยู่ในตัวปลาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคกังวล ว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

2. การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม เช่น ในปริมาณที่มากเกินไป หรือใช้เป็นเวลานานเกินไป อาจส่งผลให้เกิดการดื้อยาของเชื้อก่อโรค ซึ่งความสามารถในการดื้อยาสามารถถ่ายทอดไปยังแบคทีเรียสายพันธุ์อื่น ที่อยู่ในธรรมชาติได้ ส่งผลให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาจำนวนมาก (1)

3. การใช้ยาปฏิชีวนะมักทำให้เกิดผลข้างเคียง (side offect) กับปลา เนื่องจากยาปฏิชีวนะมัก ไปมีผลในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียประจำถิ่น (normal flora) ที่อยู่ในตัวปลา ซึ่งจะทำให้ปลาเกิดอาการ เครียด มีภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง และมีการเจริญเติบโตที่ช้าลง (2)

ด้วยเหตุนี้ในหลายๆ ประเทศได้มีการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดในการเพาะเลี้ยงปลา เพื่อการค้าและการส่งออก ยาปฏิชีวนะที่มีการห้ามใช้แล้วในหลายประเทศ เช่น chloramphenicol, ยาในกลุ่ม nitrofuran ได้แก่ furazolidone, nitrofurazone, furaltadone, nitrofurantoin, furyifuramide, nifuratel, nifursoxime, nifurprazine), neomycin ,nalidixic acid, sulphamethoxazole, chlorpromazine, colchicines, dapsone, dimetridazole, metronidazole, onidazole, ipronidazolc, clenbuterol, diethylstilbestrol, sulfonamide และ floroquinolones เป็นต้น

 

จากการที่มีการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในการเพาะเลี้ยงปลาเพื่อการค้า และการส่งออก จึงทำให้มี ความพยายามที่จะหาสิ่งที่สามารถนำมาใช้แทนยาปฏิชีวนะในการป้องกันและรักษาโรคปลา สิ่งหนึ่งที่ได้รับความ สนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน คือ พืชสมุนไพร เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น

1. สมุนไพรเกือบทุกชนิดสามารถหาได้ตามธรรมชาติ หรือปลูกเองได้ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการซื้อยาปฏิชีวนะซึ่งมีราคาแพง นอกจากนี้ยังทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพา ตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบริษัทผลิตยาปฏิชีวนะ

2. สมุนไพรส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยจากการที่มีการใช้รักษาโรคในคน หรือสัตว์ ต่าง ๆ มาเป็นเวลานาน

 

3. สมุนไพรหลายชนิดได้รับการยืนยันทางวิชาการว่าสามารถใช้ป้องกัน และรักษาโรคในคน และสัตว์ต่าง ๆได้ (3)

 

4. สมุนไพรหลายชนิดได้รับการยืนยันทางวิชาการว่ามีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของ จุลินทรีย์ต่าง ๆ (antimicrobial activity) เช่น แบคทีเรีย รา และไวรัส ได้ (4,5,3)

 

5. สมุนไพรหลายชนิดได้รับการยืนยันทางวิชาการว่ามีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระ (antioxidant activity) (6,3) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสุขภาพของปลาได้

 

6. สมุนไพรหลายชนิดได้รับการยืนยันทางวิชาการว่ามีความสามารถในการลดความเครียดได้ ซึ่งการลดความเครียดในปลาจะช่วยทำให้ปลามีการเจริญเติบโตได้ดี และมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยลง (3)

 

7. สมุนไพรหลายชนิดได้รับการยืนยันทางวิชาการว่ามีความสามารถในการกระตุ้นระบบ ภูมิคุ้มกัน ( immunostimulation) ของคน และสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งปลาได้ (5,7,3)

 

สารเคมีที่พบในสมุนไพรจำนวนมากได้รับการพิสูจน์และยืนยันว่ามีส่วนช่วยให้สมุนไพรมี ความสามารถในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน การกำจัดอนุมูลอิสระ การลด ความเครียด และการป้องกันการเกิดโรค ตัวอย่างของสารดังกล่าว เช่น alkaloids, flavonoids, phenolics, terpenoids, steroids และ essential oils (4,5,3)

 

สารสกัดจากสมุนไพรไทยเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงเป็น ทางเลือกที่สำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย มีอยู่มากมาย ทั้งในธรรมชาติและ เพาะปลูกขึ้นเอง ที่สำคัญยังมีราคาถูกกว่ายาปฏิชีวนะและสารเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศหลายเท่าตัว

 

ด้วยเหตุดังกล่าว จังหวัดนครนายก มีเกษตรกรที่มีการเพาะอนุบาลลูกปลาดุกจำนวนมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาส่วนใหญ่มักประสบปัญหาเรื่องของปลาเป็นโรคจนทำให้ขาดทุน ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ต้อง หาทางแก้ไขโดยด่วน และหลายวิธีการที่เกษตรกรใช้ แต่มักไม่ได้ผลแต่มีสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ได้ดีจน ทำให้ปัญหานี้หมดไป สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก ได้ทดลองให้กับแปลงใหญ่กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลาดุก (ปลาตุ้ม) จังหวัดนครนายก โดยคุณสำเนา เกาะกาเหนือ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ อดีตเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2559 เป็นผู้ทดลองใช้ในฟาร์ม

 

สมุนไพรไทยที่เชื่อได้ว่าหลายท่านเพิ่งจะเคยได้ยินชื่อมาไม่นาน จากการที่สมุนไพรไทยชนิดนี้ถูก นำมาปรุงเป็นตำรับยารักษาโรคมะเร็ง กามโรค หนองใน คือ ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ บทความของสำนักงาน ประมงจังหวัดนครนายกฉบับนี้จึงขอนำเสนอ ความรู้เกี่ยวกับข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ ดังต่อไปนี้

 

ข้าวเย็นเหนือเป็นสมุนไพรในวงศ์ Smilacaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Smilax Corbularia Kunth subsp. corbularia เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เติบโตโดยการแตกกิ่งก้านสาขาจากโคนต้น พาดพันต้นไม้อื่น หรือ เลื้อยลงตามพื้นดิน ความยาวของเถาอาจยาวได้ถึง 5 เมตร เถามีหนามแหลมที่โคนใบยอดอ่อนโดยมีมือ เป็นเส้น 2 เส้นไว้สำหรับยึด ลำต้นข้าวเย็นเหนือมีลักษณะกลมหรือเหลี่ยมเล็กน้อย มีหัวเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและ มีรากจำนวนมาก หัวลักษณะกลมยาวเป็นท่อน ท่อนละประมาณ 5-15 เซนติเมตร เนื้อไม้แข็งสีแดงและขรุขระ ส่วนเนื้อใน เหง้าเป็นสีเหลืองอ่อนแต่เมื่อแก่เต็มที่จะเป็นสีแดงน้ำตาลอ่อน เนื้อละเอียดมีรสมัน

ใบข้าวเย็นเหนือเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับรูปรียาวหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร และยาว 5-18 เซนติเมตร หน้าใบสีเขียว หลังใบมีขนสีขาว แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว มือจับยาวถึง 12 เซนติเมตร ส่วนดอกข้าวเย็นเหนือมีสีเขียวปนขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบ จำนวน 1-3 ช่อขนาดเล็ก ก้านช่อดอกสั้น กลีบรวม 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรี เกสรเพศผู้มีจำนวน 6 อัน รังไข่เป็น รูปรี มี 3 รัง เกสรเพศผู้มีประมาณ 3 อัน ผลทรงกลมและมีเนื้อ ผิวของผลข้าวเย็นเหนือจะมีผงแป้ง สีขาวปกคลุม ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด เวลาสุกจะเป็นสีม่วงดำ

 

ข้าวเย็นเหนือเป็นสมุนไพรไทยที่พบได้มากตามป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ส่วนใหญ่จะพบสมุนไพรข้าวเย็นเหนือทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้าวเย็นเหนือจึงมีชื่อเรียก เป็นภาษาท้องถิ่นแตกต่างกันไป เช่น หัวยาข้าวเย็น หัวข้าวเย็นเหนือ หรือทางภาคเหนือจะเรียกหัวข้าวเย็นวอก รสชาติและสรรพคุณทางยาของข้าวเย็นเหนือ มีดังนี้

- หัวข้าวเย็นเหนือ มีรสชาติหวานเล็กน้อย แก้ประดง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหนอง แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค มีสรรพคุณรักษาฝี แผลเน่าเปื่อยพุพอง ช่วยให้ผีและแผลแห้งเร็วขึ้น นอกจากนี้หัวข้าวเย็นเหนือยังมีสรรพคุณแก้ผดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะพิการ และแก้อักเสบในร่างกาย

- ต้นข้าวเย็นเหนือ มีรสจืดเย็น แก้ไข้เรื้อรัง และไข้ตัวร้อน

- ใบข้าวเย็นเหนือ มีรสจืดเย็น แก้ใข้เหนือและไข้สันนิบาต

- ผลข้าวเย็นเหนือ มีรสขื่นจัด สรรพคุณช่วยแก้ลมริดสีดวง

 

นอกจากสรรพคุณทางยาของข้าวเย็นเหนือดังกล่าวแล้ว หัวของข้าวเย็นเหนือยังจัดเป็นสมุนไพร ที่ใช้ปรุงตำรับยาไทยกว่า 2,449 ตำรับยา ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นหนึ่งใน สมุนไพร รักษาโรคน้ำเหลืองเสีย โรคผิวหนัง กามโรค โรคเรื้อน และโรคมะเร็งในระบบต่าง ๆ รวมไปถึงโรคที่เกิดจากการ อักเสบ เช่น โรคไขข้อ โรคติดเชื้อ แก้ปวดต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ในตำราไทยจะใช้หัวข้าวเย็น 2 ชนิด ร่วมกัน คือ หัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้

 

ข้าวเย็นใต้เป็นสมุนไพรในวงศ์ Smilacaceae เช่นเดียวกับข้าวเย็นเหนือ แต่มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ ต่างกัน โดยข้าวเย็นใต้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Smilax Qrasa Roxb. หรือ Smilax Glabra Roxb เป็นเถาไม้เลื้อย เช่นเดียวกับข้าวเย็นเหนือ ลำต้นมีสีน้ำตาลเข้มโดยมีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้าหรือหัวข้าวเย็นใต้จะมีลักษณะ กลม หรือแบน หรืออาจพบเป็นก้อนและรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวของเหง้าไม่เรียบ มีลักษณะเป็นก้อนแข็งนูน และแยกเป็นแขนงสั้น ๆ ความกว้างของเหง้าจะประมาณ 2-5 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเหง้ามีสี น้ำตาลเหลืองหรือสีเทาน้ำตาล ตามบริเวณผิวจะพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น โดยมีรากฝอยขึ้น บริเวณที่เป็น หลุม มักพบปมของรากฝอยที่งอกจากผิวเหง้า และมีรอยแยกแตกเป็นร่องๆ

 

เนื้อของเหง้าข้าวเย็นใต้มีสีขาวอมเหลือง ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวออกเรียงสลับ ปลายใบบางแหลม โคนใบโค้งมน ขนาดกว้าง 2.5-5 เซนติเมตร และยาว 5-14 เซนติเมตร ผิวใบมันและมีเส้นมองเห็นได้ ชัดเจนตามยาว 3 เส้น ส่วนหลังใบมีผงเหมือนแป้ง ก้านใบสั้น

 

ดอกข้าวเย็นใต้มีสีเหลืองอมเขียว ออกเป็นช่อตามซอกใบ โดยในแต่ละช่อจะมีดอก 10-20 ดอก และมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 4-15 มิลลิเมตร ส่วนของผลข้าวเย็นใต้จะมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ผลอ่อนจะมีสีเขียวและเมื่อแก่จะกลายเป็นสีแดงออกดำ ส่วนชื่อทางท้องถิ่นของข้าวเย็นใต้มี หลากหลาย เช่น เลยและนครพนม เรียกว่า ยาหัว เพชรบูรณ์เรียกหัวยาข้าวเย็น ภาคเหนือเรียกยาหัวข้อ ภาคใต้เรียกหัวยาจีน ปักษ์ใต้ ส่วนในภาษาจีนกลางเรียกข้าวเย็นใต้ว่า ข้าวเย็นโคกขาว, เสียนฝูหลิง และควาง เถียวป๋าเชี่ย สรรพคุณทาง ยาของข้าวเย็นใต้ มีดังนี้

- รากข้าวเย็นใต้สรรพคุณแก้พุพอง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ปัสสาวะพิการ และแก้พยาธิในท้อง โดย รากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

- หัวข้าวเย็นใต้มีสรรพคุณแก้มะเร็ง แก้เส้นพิการ โดยนำหัวข้าวเย็นใต้มาบดให้ละเอียด จากนั้น ผสมกับส้มโมงแล้วต้มจนแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำผึ้งเล็กน้อย จากนั้นปั้นเป็นเม็ดไว้กินวันละ 1 เม็ด

- ใบข้าวเย็นใต้มีฤทธิ์แก้ปากบวมอักเสบ โดยนำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยา ดอกข้าวเย็นใต้แก้โรค ผิวหนัง แก้คุดทะราด ใช้วิธีต้มน้ำกับดอกข้าวเย็นใต้นำมาดื่มเป็นยา

- ผลข้าวเย็นใต้ผลสดของข้าวเย็นใต้มีสรรพคุณช่วยแก้ลมริดสีดวง โดยสามารถรับประทานผลสดได้เลย

 

สรรพคุณข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้จึงมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งมีการนำข้าวเย็นเหนือและ ข้าวเย็นใต้ขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในสมุนไพรรักษาโรค โดยกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่รองศาสตราจารย์อรุณพร อิฐรัตน์ และคณะนักศึกษาจากสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้ทำการคิดค้นวิจัยสรรพคุณของข้าวเย็นเหนือ-ข้าวเย็นใต้ โดยศึกษาด้านฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง และเอดส์ รวมไป ถึงได้ทำการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งและเอดส์ เช่น ฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านเนื้องอก และกลไกการออกฤทธิ์ทางชีวเคมีของสมุนไพร ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้

 

ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดของหัวข้าวเย็นใต้ มีฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะฤทธิ์เป็นพิษต่อมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นสรรพคุณโดดเด่นและมีประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาคือเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากและเซลล์มะเร็งตับ นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า หัวข้าวเย็นใต้มีฤทธิ์ต้านเชื้อ แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดหนอง เช่น Staphylococus aureus และ Bacillus subtilis และเชื้อกลากได้ดีที่สุด และ มี ฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยช่วยยับยั้งการหลั่งไนตริก ออกไซด์ (Nitric Oxide) และยับยั้งปัจจัยเสี่ยงต่อ ภาวะแทรกซ้อนในระบบหลอดเลือด (COX2 inhibitor) อีกทั้งยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูทดลอง และเมื่อ ทดสอบฤทธิ์ต้านเนื้องอกก็พบว่า หัวข้าวเย็นใต้มีฤทธิ์ยับยั้งเนื้องอกได้ดีอีกด้วย

 

ส่วนผลของการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV พบว่า สารสกัดหัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้ มีฤทธิ์ ต้าน HIV ที่ต่างกัน กล่าวคือ สารสกัดของหัวข้าวเย็นใต้มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ HIV-1 protease แต่สารสกัด ของหัว ข้าวเย็นเหนือมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ HIV-1 integrase ซึ่งเป็นการสนับสนุนยาไทยว่าต้องใช้คู่กัน เพราะมี ฤทธิ์ต่างกัน นั่นเอง

 

นอกจากนี้การศึกษาครั้งดังกล่าวยังทำให้ทราบว่า สารสกัดหัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้มี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูงกว่าสารเคมีที่ใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในปัจจุบัน และเมื่อทดสอบความคงตัว ของสารสกัดหัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้พบว่า สมุนไพรทั้งสองชนิดมีความคงตัวและมีอายุการเก็บ รักษาได้ มากกว่า 2 ปีขึ้นไป ทั้งสารสกัดหัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้ยังมีฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทานสูงอีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม แม้ผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า หัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้มี ศักยภาพในการต้านเซลล์มะเร็งและต้านเชื้อ HIV ได้ กระทั่งในปัจจุบันมีการพัฒนาสารสกัดหัวข้าวเย็นทั้งสอง ชนิดให้อยู่ในรูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูลที่รับประทานได้ง่าย อีกทั้งยังมีการนำสมุนไพรข้าวเย็นเหนือและ ข้าวเย็นใต้ไปปรุงเป็นยารักษามะเร็ง ทว่าก็ควรต้องมีการศึกษาทางคลินิกวิทยาเพิ่มเติมเพื่อความแน่ชัดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค และตัวผู้ป่วยเองก็ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกันด้วย รวมไปถึงควร ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใด ๆ ก็ตาม

 

สูตรการทำสมุนไพรเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

1. ข้าวเย็นเหนือ 2 กิโลกรัม

2. ข้าวเย็นใต้ 2 กิโลกรัม

3. ดีเกลือ 1 กิโลกรัม

นำสมุนไพรมาต้มเคี่ยวกับน้ำ 20 ลิตร หรือใช้แอลกอฮอล์ 20 ลิตร ในการสกัดตัวยาสมุนไพร ออกมาเพื่อให้ได้น้ำสมุนไพร

 

การนำไปใช้

นำสมุนไพรที่ต้มเคี่ยวกับน้ำที่ได้ 100 ml มาผสมกับอาหาร 20 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปให้ปลากินในระหว่างการเลี้ยง ส่วนในระหว่างการเคลื่อนย้ายลูกปลา ผสมกับน้ำเพื่อแช่ตัวปลา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 10 ลิตร จะช่วยลดความเครียดให้กับปลา และลดอัตราการตายลงได้

 

ต้นทุนในการผลิต

ต้นทุนในการผลิตสมุนไพร ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ กิโลกรัมละ 200 บาท ดีเกลือ กิโลกรัมละ 80 บาท ถ้าใช้แอลกอฮอล์ ลิตรละ 250 บาท ต้นทุนอยู่ระหว่าง 900-1,400 บาท สามารถใช้ผสมอาหารได้ 1,000 กิโลกรัม ส่วนยาปฏิชีวนะ 1 กิโลกรัม 750 บาท ผสมอาหารได้ 200 กิโลกรัม เมื่อใช้สมุนไพรในการให้ปลากิน สามารถลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ 50 %

 

- ต้นทุนยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะ 1 กิโลกรัม 750 บาท

ผสมอาหารได้ : 200 กิโลกรัม

ต้นทุนต่อหน่วย : 3.75 บาท/กิโลกรัม

- ต้นทุนยาสมุนไพร

ข้าวเย็นเหนือ 400 บาท

ข้าวเย็นใต้ 400 บาท

แอลกอฮอล์ 500 บาท

ดีเกลือ 80 บาท

ผสมอาหารได้ : 1,000 กิโลกรัม

ต้นทุนต่อหน่วย : 0.72 บาท/กิโลกรัม

 

นอกจากนี้ ในอนาคตอาจทำสารสกัดสมุนไพรในรูปผงเพื่อสะดวกในการเก็บรักษาและการใช้ งานด้วยระบบ freeze dry ซึ่งจะรักษาคุณภาพของสารสกัดได้ครบถ้วน ทั้งยังสะดวกในการเก็บและการขนส่งอีก ด้วย ที่สำคัญเกษตรกรได้มีการใช้สมุนไพรผสมอาหาร แต่ใช้ในรูปสมุนไพรสดและผง ทำให้ปริมาณสารอาหารที่ สัตว์น้ำควรจะได้รับลดลงตามสัดส่วนที่ถูกผสม

 

การส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกพืชสมุนไพรข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในพื้นที่ จะทำให้ต้นทุนใน การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในลูกปลาดุกต่ำลงได้ ซึ่งจะช่วยทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค ปลา และสิ่งแวดล้อม

 

อย่างไรก็ตาม การนำสมุนไพรไปใช้ในการป้องกันและรักษาโรคในปลาในสภาพจริงให้มี ประสิทธิภาพสูงสุดยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม เช่น ปริมาณ ระยะเวลา และรูปแบบการใช้สมุนไพรที่เหมาะสม ต่อชนิดของปลา และชนิดของโรคปลา เป็นต้น สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก จะศึกษาหาแนวทางการใช้ สมุนไพรเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเพาะเลี้ยง ต่อไป

 

การใช้สารสกัดจากสมุนไพรไทยเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อรักษาโรคในสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ อันนำมาซึ่งความปลอดภัยของผู้บริโภคและลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี สนใจขั้นตอนการผลิตติดต่อ สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก โทร/โทรสาร 037-311-024 ในวันและเวลาราชการ

ด้วยความปรารถนาดี

 

กดตรงนี้เพื่อโหลดไฟล์ PDF ฉบับเต็ม

 

#กรมประมง #สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก #สมุนไพร #ข้าวเย็นเหนือ #ข้าวเย็นใต้ #ปลาดุก #โรค

 

 Tags

  •   Hits
  •  ประชุมคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดนครนายก ครั้งที่ 1/2568  ประชุมคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดนครนายก ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 82   ประชุมเตรียมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านประมง ครั้งที่ 1/2568  ประชุมเตรียมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านประมง ค... จำนวนผู้อ่าน 79 ประกาศ กรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาการขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าดังกล่าว พ.ศ.2568 ประกาศ กรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาการขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์สัตว์ป... จำนวนผู้อ่าน 67  สืบสานประเพณีสงกรานต์ รดน้ำขอพรผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก  สืบสานประเพณีสงกรานต์ รดน้ำขอพรผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก  จำนวนผู้อ่าน 64  ประชุมเตรียมจัด “มหกรรมอาหารอร่อย ของดีนครนายก” ปี 2568  ประชุมเตรียมจัด “มหกรรมอาหารอร่อย ของดีนครนายก” ปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 59  Kick Off การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก  Kick Off การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก  จำนวนผู้อ่าน 55 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารพระราชทาน แด่พระภิกษุ สามเณร ในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 (ครั้งหลัง) ประจำปี 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระรา... จำนวนผู้อ่าน 54 ประชุมเตรียมความพร้อมการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ประชุมเตรียมความพร้อมการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีง... จำนวนผู้อ่าน 53  ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำชุมชน จ.นครนายก ฝายคลองกระโดน  ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำชุมชน จ.นครนายก ฝายคลองกระโดน  จำนวนผู้อ่าน 52  Kick off โครงการไถกลบคนละครึ่ง “ย่อยสลายตอซังสร้างดินยั่งยืน ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม”  Kick off โครงการไถกลบคนละครึ่ง “ย่อยสลายตอซังสร้างดินยั่งยืน ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม”... จำนวนผู้อ่าน 51  ตรวจประเมินโครงการ 1 จังหวัด 1 ศูนย์เรียนรู้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ ระดับจังหวัด  ตรวจประเมินโครงการ 1 จังหวัด 1 ศูนย์เรียนรู้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้น... จำนวนผู้อ่าน 50  ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จำนวนผู้อ่าน 49  ร่วมประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับอำเภอบ้านนา  ร่วมประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับอำเภอบ้านนา  จำนวนผู้อ่าน 45  จิตอาสาพัฒนาถวายพ่อขุนราม! รวมพลังปลูกป่าเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  จิตอาสาพัฒนาถวายพ่อขุนราม! รวมพลังปลูกป่าเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศ... จำนวนผู้อ่าน 38  ร่วมประเพณีตักบาตร เมืองโบราณดงละคร ครั้งที่ 3  ร่วมประเพณีตักบาตร เมืองโบราณดงละคร ครั้งที่ 3  จำนวนผู้อ่าน 35


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก

    รายละเอียด ศาลากลางจังหวัดนครนายก ชั้น 5 ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000 สแกน QR Code เพื่อให้ Google Map นำทางไปได้ง่ายๆ หรือ กดตรงนี้ การเดินทางมายังสำนักงานประมงจังหวัดนครนายก (กรณีรถโดยสารสาธารณะ) 1.รถตู้สาย 58-967 กรุงเทพฯ-นครนายก-เขื่อนขุนด่าน จากอนุสาวรีย์ชัยฯ 6.00-18.00 น. / จากฟิวเจอร์ฯ 6.00-20.00 น.จากเขื่อนขุนด่าน 6.00-17.30 น. / จากนครนายก 4.30-17.30 น. (รถออกทุก 20 นาที) 2.บริษัท ขนส่ง จำกัด บริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันวันละหลายเที่ยว มีเส้นทาง คือกรุงเทพฯ – หินกอง – นครนายกกรุงเทพฯ – รังสิต – องครักษ์ – นครนายกกรุงเทพฯ – นครนายก – อรัญประเทศกรุงเทพฯ – องครักษ์ – โรงเรียนนายร้อย จปร. โดยต้องต่อรถเข้าเมืองอีก 7 กิโลเมตร 3.รถตู้ สายกรุงเทพฯ – นครนายก มีจุดขึ้นรถได้แก่จากกรุงเทพ ขึ้นรถที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณใต้ทางด่วน ฝั่งแฟชั่นมอลล์ รถออกทุก 40 นาทีจากนครนายก ขึ้นรถที่ รพ.นครนายก และบริเวณสี่แยกไฟแดงนครนายก รถออกทุก 40 นาที การเดินทางมายังสำนักงานประมงจังหวัดนครนายก (กรณีรถยนต์ส่วนบุคคล) 1.ตามทางหลวงหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิต ผ่านอำเภอองครักษ์ ระยะทางประมาณ 107 กิโลเมตร 2.ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 เลี้ยวขวาที่แยกหินกอง ไปตามถนนสุวรรณศรเส้นทางหลวงหมายเลข 33 จนถึงจังหวัดนครนายก ระยะทางประมาณ 137 กิโลเมตร เบอร์โทรศัพท์ 088-278-6208  email  fpo_nakhonnayok@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 037-311024  FAX 037-311024  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6