เผยเเพร่: 2016-12-23 | อ่าน: 1,535 ครั้ง
โครงการประเมินผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ประจำปีงบประมาณ 2560
1. ชื่อโครงการ ประเมินสถานภาพทรัพยากรสัตว์น้ำในแม่น้ำและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของไทย
Status of inland fisheries resource in rivers, large swamp and reservoirs in Thailand
2. ระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2560
3. วัตถุประสงค์ เพื่อ
1. ประเมินปริมาณความชุกชุมและความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำ
2. ประเมินโครงสร้างและการกระจายของประชากรสัตว์น้ำ
3. ประเมินครัวเรือนและผู้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำที่อาศัยรอบแหล่งน้ำ
4. ประเมินปริมาณผลจับและมูลค่าสัตว์น้ำของชาวประมง
4. หลักการ เหตุผลความจำเป็น และผลงานที่มีมาก่อน
ผลผลิตสัตว์น้ำจืดที่มีในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีความสำคัญกับชุมชน เช่นแหล่งน้ำ
ขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำหรือแม่น้ำสายหลัก ถือว่าเป็นแหล่งทรัพยากรประมงอันทรงคุณค่า ก่อให้เกิดแหล่ง
อาหารโปรตีนต่อชุมชน เกิดการจ้างงาน และการสร้างรายได้ โดยเมื่อประเทศได้พัฒนามากขึ้น
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีในแหล่งน้ำธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์
มากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคสัตว์น้ำของประชากรที่เพิ่มขึ้น จนทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำใน
แต่ละหล่งน้ำมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก ปัญหาดังกล่าวนี้นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด เป็นหน่วยงานหลักของกรมประมงที่มีบทบาทหน้าที่
เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในแหล่งน้ำจืดเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำ
ธรรมชาติต่างๆโดยใช้กลยุทธ์การปล่อยพันธุ์ปลา เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ
พันธุ์ปลาไทยชนิดต่างๆ เพื่อให้เกิดผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ สำหรับการประเมินปริมาณสัตว์น้ำ
ต่อหน่วยการลงแรงประมง เป็นวิธีการศึกษาหนึ่งที่ใช้บ่งชี้ถึงปริมาณความชุกชุม และการกระจายของ
ประชากรสัตว์น้ำที่มีในแต่ละแหล่งน้ำ และการศึกษาสภาวะเศรษฐกิจสังคม และการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำ
จะทำให้ทราบถึงจำนวนผู้ใช้ประโยชน์สัตว์น้ำ ลักษณะการทำประมง เครื่องมือประมง ปริมาณผลจับ
สัตว์น้ำ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจสังคมของชุมชนชาวประมงในแต่ละแหล่งน้ำ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีความ
จำเป็นอย่างยิ่งต่อการวางแผน และกำหนดมาตรการในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำของแต่ละ
แหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. วิธีดำเนินการวิจัย และแผนการดำเนินงานวิจัย
(1) กำหนดพื้นที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องติดตามประเมินสถานภาพทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่ง
คณะทำงานได้คัดเลือกแล้วรวม 15 แหล่งน้ำ ในส่วนของจังหวัดพะเยา
คือกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ 12,831 ไร่ 26.6 ตารางวา
(2) ดำเนินการขออนุญาตทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการด้วยชุดเครื่องมือข่าย
6 ช่องตาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา และแจ้งขั้นตอนการประเมินให้หน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้อง
ในพื้นที่ทราบ
(3) ทำการสุ่มตัวอย่างสัตว์น้ำตามจุดสุ่มตัวอย่างที่กำหนดในแต่ละแหล่งน้ำ โดยใช้ชุด
เครื่องมือข่ายที่มีช่องตาต่างกัน 7 ขนาด ลงทิ้งไว้ค้างคืน (ประมาณ 12 ชั่วโมง) จุดสำรวจละ 3 ซ้ำ และ
ดำเนินการสุ่มตัวอย่างตามช่วงเวลาที่กำหนดรวม 4 เที่ยว สำรวจในรอบปี ชุดเครื่องมือข่ายมีความลึก
ระหว่าง 1.5-2.0 เมตร และมีความยาวของแต่ละช่องตา ดังนี้
ขนาดช่องตาข่าย (มิลลิเมตร) | ความยาว (เมตร) |
20 | 15 - 20 |
30 | 25 - 35 |
40 | 25 - 35 |
55 | 40 - 50 |
70 | 40 - 50 |
90 | 40 - 50 |
(4) ทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวประมงในพื้นที่ในช่วง
วันเวลาเดียวกับที่ออกสุ่มด้วยเครื่องมือข่าย เพื่อรวบรวมข้อมูลจำนวนประชากรและครัวเรือนชาวประมง
รอบแหล่งน้ำและสุ่มตัวอย่างสัมภาษณ์ชาวประมง เพื่อทราบถึงลักษณะการทำประมง ปริมาณผลจับ
สัตว์น้ำ การใช้ประโยชน์และรายได้ตามแบบสัมภาษณ์ที่กำหนด จำนวนจุดสุ่มตัวอย่างละ5รายต่อเที่ยว
6. ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย
ทราบข้อมูลสถานภาพทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำที่มีความสำคัญ ซึ่งได้ติดตามการ
เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลความชุกชุมและความหลากหลาย
ของสัตว์น้ำและการกระจายของประชากรปลาที่มีความสำคัญ รวมทั้งข้อมูลการทำการประมง
จำนวนผู้ใช้ประโยชน์ ปริมาณผลจับสัตว์น้ำและลักษณะการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำนั้นๆ
ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในแต่ละแหล่งน้ำ
7. ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากโครงการ
หน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำกับดูแล และบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
8. ประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ-สังคมและประโยชน์ที่ภาคเกษตรและเศรษฐกิจส่วนรวม
จะได้รับทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามความเป็นไปได้
ผลกระทบระยะยาวเป็นผลกระทบเชิงบวก เนื่องจากการประเมินจะทำให้ทราบสถานภาพ และ
การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรของชุมชน สามารถนำไปกำหนด
กลวิธีในการบริหารจัดการ เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำชนิดที่มีแนวโน้มลดลง หรือสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์
กำหนดมาตรการการจัดการ เช่น การจำกัดเครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง การกำหนดพื้นที่และช่วงเวลาที่
เหมาะสมเพื่อควบคุม และสงวนรักษาแหล่งเลี้ยงตัวอ่อนและสัตว์น้ำวัยอ่อน และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ
เกษตรกร ทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นแหล่งโปรตีนให้กับชุมชนรอบแหล่งน้ำและใน พื้นที่ใกล้เคียง
จุดสำรวจ | ครั้งที่1 | ครั้งที่ 2 | ครั้งที่ 3 | ครั้งที่4 | รวม |
จุดที่ 1 สะพานขุนเดช | |||||
จุุดที่ 2 สันเวียงใหม่ | |||||
จุดที่ 3 สันช้างหิน | |||||
จุดที่ 4 หน้าศูนย์ฯ | |||||
รวม |