อบรมเกษตรกร หลักสูตร พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสัตว์น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ (ปลาดุก) รุ่นที่ 2


[2025-05-01] ประกาศ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช เรื่อง.. [2025-01-28] โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอเสาธิราชฯ.. [2025-01-23] โครงการจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอ.. [2024-12-24] ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตามแผนงานกิจกรรมการจัดการทรัพยากรประมง กิจกรรมย.. [2024-12-13] สำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมเกษตรกร (ก่อน)ดำเนินการ และจัดทำข้อมูลพื้นฐา.. [2024-12-13] ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมการเพาะเลี้ย.. [2024-12-12] การแก้ไขปัญหาหมอคางดำ.. [2024-12-12] สัตว์น้ำต้องห้าม ตามมาตรา 65.. [2024-12-12] ตอนที่ 2 เอเลี่ยนสปีชี่ส์ สัตว์น้ำอันตรายที่ไม่ได้มาจากต่างดาว.. [2024-12-12] ตอนที่ 1 สัตว์น้ำต้องห้าม! ตามมาตรา 64 65.. อ่านทั้งหมด 

อบรมเกษตรกร หลักสูตร พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสัตว์น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ (ปลาดุก) รุ่นที่ 2 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

วันที่ 27 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2567นางสาวนิภา กาลศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยคณะบุคลากร จัดฝึกอบรมเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในโครงการส่งเสริมอาชีพประมง กิจกรรมหลักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิต กิจกรรมย่อยส่งเสริมการเพาะเลี้ยงและพัฒนาธุรกิจสัตว์น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ “หลักสูตร พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสัตว์น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ (ปลาดุก) รุ่นที่ 2 ปี 2567” ในวันที่ 27-28 มีนาคม 2567 มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 ราย จัดฝึกอบรม 2 วัน

โดยวัตถุประสงค์ในการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตปลาดุก,

เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาดุก และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาดุก สร้างการเชื่อมโยงตลาดและเพิ่มช่องทางการตลาด

การฝึกอบรมศูนย์ฯ ได้บูรณาการร่วมกับ นายจีรศักดิ์ ทองรัดแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดนครศรีธรรมราช บรรยายให้องค์ความรู้ด้านระบบน้ำโดยใช้ การสั่งงานผ่าน ระบบ Automation และการใช้ประโยชน์จากผ้าเคลือบน้ำยางพาราที่มีต้นทุนเพียง ตารางเมตรละ 100 บาท

หลักสูตรอบรมในครั้งนี้เป็นหลักสูตรที่เน้นการบรรยาย และเน้นภาคปฏิบัติที่เข้มข้น เพื่อให้เกษตรกรเห็นถึงความสำคัญตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการขายสินค้า

ความรู้ภาคบรรยาย

- การเลือกสถานที่ การเตรียมบ่อ และการเลี้ยงปลาดุก

- คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

- การเพาะพันธุ์และการอนุบาลปลาดุก

- โรคปลาดุก

- การผลิตอาหารลดต้นทุน

- มาตรฐานฟาร์ม มกษ. 7436-2563 การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค

- การลดต้นทุนเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน หลักสูตร ระบบน้ำโดยใช้การสั่งการผ่านระบบ Automation

ความรู้ภาคปฏิบัติ

- การเพาะพันธุ์ปลาดุก

- อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน ไรแดง หนอนจิ๋ว

- บ่อยางพาราลดต้นทุน

- อาหารธรรมชาติในบ่อดินจาก แซนวิชฟางหมัก/ การหมัก ปม.1

- การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาดุก (ปลาดุกส้ม, ปลาดุกแดดเดียว)

พร้อมทั้งแจกประกาศนียบัตร พันธ์ุสัตว์น้ำ หัวเชื้อจุลิทรีย์ ปม.1 ไข่น้ำ (ผำ) ให้แก่เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรม รวมทั้งตอบปัญหา ข้อซักถาม ซึ่งเกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ความสนใจ ลงมือปฏิบัติในทุกกิจกรรม


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา