ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตามแผนการดำเนินงานกิจกรรมฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา ครั้งที่ 1/2567


[2025-05-01] ประกาศ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช เรื่อง.. [2025-01-28] โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอเสาธิราชฯ.. [2025-01-23] โครงการจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอ.. [2024-12-24] ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตามแผนงานกิจกรรมการจัดการทรัพยากรประมง กิจกรรมย.. [2024-12-13] สำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมเกษตรกร (ก่อน)ดำเนินการ และจัดทำข้อมูลพื้นฐา.. [2024-12-13] ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมการเพาะเลี้ย.. [2024-12-12] การแก้ไขปัญหาหมอคางดำ.. [2024-12-12] สัตว์น้ำต้องห้าม ตามมาตรา 65.. [2024-12-12] ตอนที่ 2 เอเลี่ยนสปีชี่ส์ สัตว์น้ำอันตรายที่ไม่ได้มาจากต่างดาว.. [2024-12-12] ตอนที่ 1 สัตว์น้ำต้องห้าม! ตามมาตรา 64 65.. อ่านทั้งหมด 

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตามแผนการดำเนินงานกิจกรรมฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา ครั้งที่ 1/2567 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566
นางสาวนิภา กาลศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช ได้มอบหมายให้คณะเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืดตามแผนการดำเนินงานกิจกรรมฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา โดยปล่อยพันธุ์ปลากินพืช จำนวน 120,000 ตัว ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว และปลากระแห ชนิดละ 60,000 ตัว ณ ฝายควนแก้ว หมู่ที่ 7 ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเพิ่มผลผลิตทรัพยากรสัตว์น้ำ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแหล่งน้ำธรรมชาติที่เชื่อมต่อกับลำน้ำในทะเลสาบสงขลา ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน โดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ

กิจกรรมฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา ภายใต้แผนบูรณาการการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เน้นการฟื้นฟูทรัพยากรประมงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรประมง มีการดำเนินกิจกรรมขยายพื้นที่ครอบคลุมทั้งทะเลสาบสงขลา โดยเฉพาะด้านการฟื้นฟูทรัพยากรประมง เพิ่มผลผลิตและคงความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา เช่น การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ การควบคุมการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย การปรับเปลี่ยนเพื่อลดเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย การศึกษาแนวทางในการจัดหาแหล่งเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำที่เหมาะสม ตลอดจนการเพิ่มความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ  โดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและสำนักงานประมงจังหวัดสงขลาเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา ครั้งแรกในปี 2542 มาจนถึงปัจจุบัน 

โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช มีแผนการดำเนินงาน ได้แก่ ผลิตและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืด การเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และปล่อยสู่แหล่งถิ่นฐานเดิม เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา และสร้างรายได้ให้กับชาวประมง ตลอดจนเป็นแหล่งอาหารของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา