ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่บริเวณเขื่อนลำปาว ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2524 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยโดยกรมประมงและรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ โดยมีคณะกรรมาธิการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง (Interim Mekong Committee) เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งในขณะนั้นได้ใช้ชื่อว่า ฟาร์มเลี้ยงปลาตัวอย่างลำปาว (Lam Pao Pilot Freshwater Fish Farm)วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกาฬสินธุ์(ปัจจุบันยกระดับเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาฬสินธุ์)นั้น เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้มีแผนการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยมีแผนที่จะก่อสร้างเขื่อนผามองเพื่อปิดกั้นแม่น้ำโขงระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ซึ่งการก่อสร้างเขื่อนนี้ อาจจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ เนื่องจากตัวเขื่อนอาจปิดกั้นเส้นทางการอพยพย้ายถิ่นเพื่อการวางไข่ของปลาบางชนิด คณะกรรมาธิการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ได้เล็งเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนี้ จึงหาวิธีทดแทนผลผลิตสัตว์น้ำที่จะลดลง โดยพยายามส่งเสริมให้ประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงได้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยใช้น้ำจากชลประทานที่ได้รับจากเขื่อนผามอง และด้วยเหตุนี้คณะกรรมาธิการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง จึงได้วางแผนจัดตั้งโครงการฟาร์มเลี้ยงปลาตัวอย่างใน 4 ประเทศ ที่เป็นสมาชิก คือ ประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเขมร และประเทศเวียดนาม โดยร่วมมือกับรัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นหลักในประเทศไทย คณะกรรมาธิการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงปลาตัวอย่างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 และรัฐบาลไทยได้รับหลักการในการดำเนินงานโครงการจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงปลาตัวอย่างในประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 โดยมอบหมายให้ กรมประมงเป็นผู้ดำเนินการ กรมประมงได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อจัดหาสถานที่ตั้งโครงการฯ ซึ่งคณะกรรมการได้ตกลงเลือกสถานที่บริเวณเขตชลประทานเขื่อนลำปาว ต.ลำคลอง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ เป็นที่จัดตั้งโครงการเลี้ยงปลาตัวอย่างในประเทศไทยหลังจากได้มีการสำรวจและวางแผนการก่อสร้างแล้ว คณะกรรมาธิการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงได้เปิดประมูลก่อสร้างโครงการฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524 โดยมีการก่อสร้างต่าง ๆ ดังนี้
บ่อปลาขนาด 0.5 ไร่
จำนวน 21 บ่อบ่อปลาขนาด 1.0 ไร่
จำนวน 24 บ่อบ่อปลาขนาด 2.0 ไร่
จำนวน 16 บ่อบ่อปลาขนาด 6.0 ไร่
จำนวน 8 บ่ออ่างเก็บน้ำขนาด 12.0 ไร่
จำนวน 1 อ่างระบบส่งน้ำและระบายน้ำ เข้า – ออกโรงเพาะฟักพันธุ์ปลาขนาด 200 ตารางเมตร
จำนวน 1 หลังรัฐบาลไทยได้สมทบทุน เพื่อก่อสร้างบ้านพักข้าราชการ ระดับ 5 – 6
จำนวน 4 หลังบ้านพักข้าราชการ ระดับ 3 – 4
จำนวน 5 หลังบ้านพักข้าราชการ ระดับ 1 – 2
จำนวน 4 หลังบ่อซีเมนต์ ขนาด 10 ตารางเมตร
จำนวน 12 บ่อบ่อซีเมนต์ ขนาด 50 ตารางเมตร
จำนวน 15 บ่อโรงผลิตอาหารปลา ขนาด 65 ตารางเมตร
จำนวน 1 หลัง
พิธีเปิดการก่อสร้าง ได้กระทำขึ้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524 โดยมี H.E. Dr. P.H.Hauben เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเป็นประธานในพิธี และหลังจากได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้เริ่มปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2525 และทำพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2525 โดยมี H.E. Dr. P.H. Hauben เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และฯพณฯ ชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นประธานเปิดโครงการฯ และในปี พ.ศ. 2528 ทางคณะกรรมาธิการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ได้ส่งมอบโครงการฯ ให้อยู่ภายใต้ความดูแลของกรมประมงอย่างเป็นทางการต่อไป
ต่อมา พ.ศ.2554 ได้ยกระดับขึ้นจากสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกาฬสินธุ์มาเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
จืดกาฬสินธุ์ เป็นต้นมา
รายนามผู้ดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกาฬสินธุ์
1. นายพินิจ สีห์พิทักษ์เกียรติ พ.ย. 2523 – ธ.ค. 2526.
2. นายวัฒนะ ลีลาภัทร ธ.ค. 2526 – ก.ย. 2533.
3. นายมาโนชญ์ เบญจกาญจน์ ก.ย. 2533 – ธ.ค. 2535.
4. นายโชคชัย ศุภศันสนีย์ ธ.ค. 2535 – พ.ย. 2542.
5. นายเดชา รอดระรัง พ.ย. 2542 – ม.ค. 2546.
6. นายธนวัฒน์ ชัชวาลธาตรี ม.ค. 2546 – ส.ค. 2547.
7. นายสุทัศน์ เผือกจีน ส.ค. 2547 – ม.ค. 2555.
รายนามผู้ดำรงตำหน่ง
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาฬสินธุ์
1.นายสุทัศน์ เผือกจีน ม.ค.2554 - ต.ค.2555
2.นายสมพงษ์ การเพิ่ม ม.ค.2556 - ก.ค.2559
3.นายจารึก นาชัยเพิ่ม ก.ค.2559 - ปัจจุบัน