การดูแลสัตว์น้ำในช่วงฤดูหนาว

 สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์


การดูแลสัตว์น้ำในช่วงฤดูหนาว 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

การดูแลสัตว์น้ำในช่วงฤดูหนาว..คลิก

          ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศ การเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นั้น สภาพอากาศอุณหภูมิจะลดต่ำลงในช่วงเช้าและช่วงเย็น แต่กลางวันมีแสงแดดจ้า อากาศร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำในรอบวันมีความแตกต่างกันมาก มีผลต่อคุณสมบัติของน้ำ ทำให้คุณภาพน้ำลดต่ำลงทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ และเคมีภาพ ลักษณะเช่นนี้จะมีผลกระทบต่อสุขภาพปลาเป็นอย่างมาก เนื่องจากปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของน้ำ การปรับตัวจำเป็นต้องนำพลังงานที่ได้จากการเผาผลาญอาหารมาใช้ ทำให้พลังงานที่จะนำไปใช้ในการเจริญเติบโตหรือสร้างระบบภูมิคุ้มกันลดต่ำลง มีผลให้ปลาอ่อนแอ ป่วย และติดโรคได้ง่าย จึงขอแนะนำเกษตรกรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และเป็นการควบคุมโรคระบาดในช่วงฤดูหนาว จึงขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

1. ควรวางแผนระยะเวลาการเลี้ยงปลาให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หรือ งดเลี้ยงปลาในช่วงฤดูหนาว

2. ควรมีน้ำในบ่อพักไว้ใช้ในฟาร์มให้เพียงพอตลอดฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว

3. เลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ควรเลือกปลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดน้อย เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาไม่มีเกล็ด ที่สำคัญควรลดความหนาแน่นของปลาที่ปล่อยลงเลี้ยง และหมั่นเอาใจใส่ ตรวจสุขภาพปลาอย่างสม่ำเสมอ

4. เลื่อนมื้ออาหารให้สอดคล้องกับช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้น และควบคุมปริมาณการให้อาหารอย่างเหมาะสม ลดปริมาณอาหารที่จะให้ลง 10 – 15 % หรือค่อยๆ ให้ปลากินจนอิ่ม เนื่องจากช่วงอุณหภูมิต่ำปลาจะกินอาหารได้น้อยลง ถ้าหากมีปริมาณอาหารเหลือจะสะสมตามพื้นบ่อ จะส่งผลให้น้ำเน่าเสีย เกิดก๊าซพิษ และมีผลกระทบต่อสุขภาพปลา ทั้งนี้ อาจมีการเสริมวิตามินซีในอาหารตามอัตราการใช้ที่ระบุในฉลาก จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ต้านทานโรค และลดความเครียดของปลาได้

5. หากบางวันท้องฟ้าปิด มีเมฆและหมอกปกคลุม ไม่มีแสงแดด จะมีผลให้ออกชิเจนในน้ำลดต่ำลง จึงควรเพิ่มออกซิเจนในน้ำด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้เครื่องตีน้ำ เครื่องเติมอากาศ สูบน้ำพ่นให้เป็นฝอยเติมอากาศลงไปในบ่อ

6. หากน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสีย โดยสังเกตจากก๊าซที่ผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อ ให้ใช้เกลือสาดให้ทั่วบริเวณดังกล่าว ประมาณ 200–300 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่ เพื่อลดความเป็นพิษของก๊าซพิษ เช่น แอมโมเนีย เป็นต้น

7. หากพบว่ามีปลาที่เลี้ยงป่วยหรือมีอาการผิดปกติ ควรแยกออกไปเลี้ยงและรักษาต่างหาก กรณีป่วยหนักควรทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง หรือ หากพบปลาตายในบ่อเลี้ยงให้กำจัดโดยการฝังหรือเผา

8. เมื่ออากาศเริ่มเข้าสู่สภาวะที่เหมาะสม (อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น) ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำตามความเหมาะสม และให้อาหารปลาได้ตามปกติ

ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตและดูแลสัตว์น้ำในระยะดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หากพบปลาป่วยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถแจ้งหรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ สำนักงานประมงอำเภอ สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ 0 5672 1477 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ 0 5672 1815

 Tags

  •   Hits
  • จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2568 จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี ... จำนวนผู้อ่าน 92  ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ  ติดตามงานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น  ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ ติดตามงานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น   จำนวนผู้อ่าน 92 สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านประมงในงาน  สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านประมงในงาน   จำนวนผู้อ่าน 82 จังหวัดเพชรบูรณ์ ปล่อยปลาหนึ่งแสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดเพชรบูรณ์ ปล่อยปลาหนึ่งแสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษ... จำนวนผู้อ่าน 72 ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ออกให้บริการตามโครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน (จังหวัดเคลื่อนที่)  ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ออกให้บริการตามโครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้... จำนวนผู้อ่าน 70 ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่งมอบปัจจัยการผลิต กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตด้านการประมง โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่งมอบปัจจัยการผลิต กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตด้านการป... จำนวนผู้อ่าน 65 ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ แนะนำการดูแลสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ แนะนำการดูแลสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน  จำนวนผู้อ่าน 60 การทำประมงในช่วงฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน(ฤดูน้ำแดง) ของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2568 การทำประมงในช่วงฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน(ฤดูน้ำแดง) ของพื้นที... จำนวนผู้อ่าน 58 ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่งมอบปัจจัยการผลิตด้านประมง  โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่งมอบปัจจัยการผลิตด้านประมง โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน... จำนวนผู้อ่าน 51 ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด  เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2568 ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 45 ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 1/2568 ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 38 ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนชัย... จำนวนผู้อ่าน 36 ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร  ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนท... จำนวนผู้อ่าน 32 จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี  ครั้งที่ 2 ณ แหล่งน้ำสาธารณะบึงกระจับ จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา... จำนวนผู้อ่าน 28 เอกสารสื่อประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ : แนวทางการใช้ยาต้านจุลชีพและสารเคมี อย่างสมเหตุผลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เอกสารสื่อประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ : แนวทางการใช้ยาต้านจุลชีพและสารเคมี อย่าง... จำนวนผู้อ่าน 22


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์

    รายละเอียด 335 หมู่ที่ 5 ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000  email  fpo_phetchabun@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 056-721477  FAX 056-722454  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6