สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์
************************
คุณสมบัติของเกษตรกร
เกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านประมงกับหน่วยงานของกรมประมง ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น
ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ
1. จังหวัดดำเนินการประกาศให้ท้องที่นั้นเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
2. เกษตรกรแจ้งขอรับการช่วยเหลือตามแบบยื่นความจำนงขอรับการช่วยเหลือ (แบบ กษ 01) ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อบต. หรือนายกเทศมนตรีประจำท้องที่ตรวจสอบรับรอง และยื่นขอรับความช่วยเหลือกับประมงอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ประมงอำเภอ ดำเนินการสำรวจ และตรวจสอบความเสียหายของเกษตรกรเป็นรายบุคคล และตรวจสอบกับทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง
4. ประมงอำเภอ นำรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายและผ่านการตรวจสอบแล้ว นำมาประมวลรวบรวม และคำนวณมูลค่าความช่วยเหลือพร้อมลงนามรับรองตามแบบประมวลรวบรวมการช่วยเหลือรายหมู่บ้าน (แบบ กษ 02)
5. ประมงอำเภอ นำรายชื่อเกษตรกรตามแบบประมวลรวบรวมการช่วยเหลือรายหมู่บ้าน (แบบ กษ 02) นำไปติดประกาศในสถานที่ราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อให้เกษตรกรตรวจสอบข้อมูล หรือดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน กรณีมีผู้คัดค้านให้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องใหม่ทั้งหมด
6. นำรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย ที่ผ่านการติดประกาศ หรือประชาคมหมู่บ้านแล้วเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจอำเภอ
7. หากวงเงินในอำนาจของอำเภอมีไม่เพียงพอให้นำเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด 20 ล้านบาท
8. หากวงเงินในอำนาจของจังหวัดมีไม่เพียงพอสามารถขอใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (50 ล้านบาท)
อัตราการให้ความช่วยเหลือ
1. กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล หรือหอยทะเล ไร่ละ 11,780 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่
2. ปลาหรือสัตว์น้ำอื่นนอกจากข้อ 1. ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าวหรือร่องสวน (คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง) ไร่ละ 4,682 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่
3. สัตว์น้ำตามข้อ 1. และข้อ 2. ที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี้ยงในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ตารางเมตรละ 368 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร
ทั้งนี้ หากคิดคำนวณพื้นที่เลี้ยงแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติรายใดจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินต่ำกว่า 368 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรารายละ 368 บาท
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ รายละเอียด
ปี | ช่วงเกิดภัย | พื้นที่ (อำเภอ) |
เกษตรกรได้รับความเสียหาย (ราย) |
พื้นที่ (ไร่) |
วงเงินให้ความช่วยเหลือ (บาท) |
2554 | 1-31 สิงหาคม 25541 | เมืองเพชรบูรณ์ | 470 | 1,620.75 | 6,847,668.75 |
บึงสามพัน | 45 | 73.50 | 310,537.50 | ||
หล่มเก่า | 176 | 114.00 | 481,650.00 | ||
หล่มสัก | 424 | 692.25 | 2,924,756.25 | ||
วิเชียรบุรี | 89 | 202.00 | 853,450.00 | ||
ศรีเทพ | 31 | 40.25 | 170,056.25 | ||
หนองไผ่ | 18 | 38.50 | 162,662.50 | ||
รวม | 7 อำเภอ | 1,253 | 2,781.25 | 11,750,781.25 | |
2555 | 4-16 กันยายน 2555 | เมืองเพชรบูรณ์ | 15 | 53.50 | 226,037.50 |
หล่มสัก | 187 | 318.50 | 1,345,662.50 | ||
รวม | 2 อำเภอ | 202 | 372.00 | 1,571,700.00 | |
2556 | 17-30 กันยายน 2556 | เมืองเพชรบูรณ์ | 100 | 374.00 | 1,580,150.00 |
วิเชียรบุรี | 51 | 102.25 | 432,006.25 | ||
หล่มสัก | 95 | 151.50 | 640,087.50 | ||
ศรีเทพ | 3 | 5.50 | 23,237.50 | ||
รวม | 4 อำเภอ | 249 | 633.25 | 2,675,481.25 | |
2557 | 1-8 กันยายน 2557 | เมืองเพชรบูรณ์ | 15 | 65.00 | 274,625.00 |
รวม | 1 อำเภอ | 15 | 65.00 | 274,625.00 | |
2559 | 14-26 กันยายน 2559 | หล่มสัก | 115 | 183.25 | 774,231.25 |
รวม | 1 อำเภอ | 115 | 183.25 | 774,231.25 | |
2560 | 31 สิงหาคม 2560 ถึง | หล่มสัก | 10 | 24.50 | 103,512.50 |
16 กันยายน 2560 | |||||
รวม | 1 อำเภอ | 10 | 24.50 | 103,512.50 | |
2562 | 24 สิงหาคม 2562 ถึง | เมืองเพชรบูรณ์ | 37 | 83.25 | 351,731.25 |
4 กันยายน 2562 | หล่มสัก | 15 | 31.00 | 130,975.00 | |
เขาค้อ | 23 | 16.125 | 68,128.13 | ||
รวม | 3 อำเภอ | 75 | 130.375 | 550,834.38 | |
2563 | 14 กรกฎาคม 2563 | หล่มเก่ำ | 9 | 3.00 | 12,675.00 |
18-20 กันยายน 2563 | บึงสามพัน | 6 | 3.75 | 15,843.75 | |
วิเชียรบุรี | 17 | 22.00 | 92,950.00 | ||
ศรีเทพ | 123 | 74.80 | 316,030.00 | ||
30 กันยายน 2563 ถึง | หล่มสัก | 33 | 47.50 | 200,687.50 | |
2 ตุลาคม 2563 | |||||
รวม | 5 อำเภอ | 188 | 151.05 | 638,186.25 | |
2564 | 6 เมษายน 2564 | หล่มสัก | 1 | 2.75 | 11,618.75 |
9-30 กันยายน 2564 | หล่มสัก | 102 | 152.25 | 712,834.50 | |
24 กันยายน 2564 | บึงสามพัน | 20 | 14.00 | 65,548.00 | |
วิเชียรบุรี | 44 | 64.25 | 300,818.50 | ||
25 กันยายน 2564 | หนองไผ่ | 21 | 14.75 | 69,059.50 | |
25 กันยายน 2564 ถึง | ศรีเทพ | 462 | 391.375 | 1,832,417.75 | |
14 ตุลาคม 2564 | |||||
26 กันยายน 2564 ถึง | เมืองเพชรบูรณ์ | 185 | 552.50 | 2,586,805.00 | |
24 ตุลาคม 2564 | |||||
12-23 ตุลาคม 2564 | หล่มสัก | 7 | 7.875 | 36,870.75 | |
30 ตุลาคม 2564 ถึง | |||||
8 พฤศจิกายน 2564 | เมืองเพชรบูรณ์ | 8 | 32.00 | 149,824.00 | |
รวม | 6 อำเภอ | 850 | 1,231.75 | 5,765,796.75 | |
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562
- หลักเกณฑ์การใช้จ้ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563
- หลักเกณฑ์วิธีปฎิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการใช้จ้ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564