นากุ้งผสม..ผสานสวน น้อมนำปรัชญาพอเพียง

 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง


นากุ้งผสม..ผสานสวน น้อมนำปรัชญาพอเพียง 

สาระน่ารู้

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT นากุ้งผสม..ผสานสวน น้อมนำปรัชญาพอเพียง..คลิก

หลายท่านอาจมองการเลี้ยงกุ้งเป็นอะไรที่ไกลตัว มีเทคนิคเยอะ ทำยาก ค่อนข้างเป็นเรื่องไฮโซ ไม่มีเงินลงทุนทำไม่ได้ แต่หารู้ไม่ เดี๋ยวนี้คนเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่ได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อลดต้นทุน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

“คนเลี้ยงกุ้งพื้นที่ภาคกลาง มักตกเป็นจำเลยสังคม ถูกกล่าวหาเป็นตัวการทำลายสิ่งแวดล้อม เอา น้ำเค็มมาทำให้นาข้าวเสียหาย แต่นั่นมันคืออดีต เพราะตอนนี้แทบจะ 100% ลดละเลิกใช้สารเคมี หันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติทดแทน เลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับกุ้งก้ามกรามหรือปลา ปลูกพืชผักไม้ผลริมบ่อ นอกจากจะช่วยลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว ยังได้สร้างความยั่งยืนให้ตัวเองอีกด้วย”

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำปี 2550 และนายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย บอกถึงการเลี้ยงกุ้งสมัยใหม่ของคนเลี้ยงกุ้งแถบภาคกลาง ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการเลี้ยงไปมาก มีการนำศาสตร์พระราชามาใช้ลดต้นทุน ลดความเสี่ยง และมีวางแผนการผลิต ทำอย่างพอเพียง ไม่เกินตัว ซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพ เพื่อไม่ให้มีอะไรกระทบต่อตัวเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม

มีการปรับเปลี่ยนใช้พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยวเหมือนในอดีต มีทั้งเลี้ยงกุ้งขาวกับกุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามแดง ปลานิล ปลากินพืช เพราะหากกุ้งขาวราคาตก ยังมีกุ้งก้ามกรามและปลายังคอยช่วยพยุงไม่ให้ขาดทุนมาก และมีการปลูกพืชผักผลไม้ไว้ริมบ่อ

 

“หลายคนมักมอง นากุ้งสร้างมลพิษ นำความเค็มไปสู่สิ่งแวดล้อมรอบข้าง แต่การที่เราปลูกพืชผักริมบ่อได้และให้ผลผลิตออกมาดี เป็นคำตอบที่บอกให้สังคมได้รู้ว่า คำกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริง เพราะพื้นที่ภาคกลางใช้น้ำมีค่าความเค็มต่ำมาก แค่ 1-2 พีพีที เท่านั้น บางที่ความเค็มเป็น 0 เลยก็มี”

 

ที่สำคัญเกือบทุกฟาร์มหันมาใช้ระบบน้ำหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ มีการจัดระบบน้ำอย่างดี ขุดคูคลองรอบบ่อ ทำเป็นบ่อพักและบ่อบำบัด แล้วหมุนเวียนน้ำมาใช้ต่อ

ข้างบ่อปลูกพืชผักสวนครัว ต้นไม้ ทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นทั้งร่มเงา บางรายหลังจับกุ้งเสร็จ ปลูกข้าวในบ่อ ให้ผลผลิตกินกันในฟาร์ม เหลือก็ขาย ใช้เลนจากบ่อกุ้งทำเป็นปุ๋ย พืชเจริญเติบโตให้ผลผลิตดีมาก

นอกจากนั้นยังมีวิธีลดต้นทุนในหลายเรื่อง เช่น นำสมุนไพรมาใช้รักษาโรคให้สัตว์น้ำ ใช้โซลาร์เซลล์ มาผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่องตีน้ำและแสงสว่างในฟาร์ม เลี้ยงปลากระดี่ ปลาสลิด ปลา ตะเพียน ให้เป็นเครื่องจักรบำบัดน้ำด้วยวิธีธรรมชาติ

ศาสตร์พระราชาสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกเรื่อง ทุกปัญหา...ถ้าเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา.

 

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/983327

  •   Hits
  • กุ้งทะเลไทยทะยานสู่จีน! ขนส่งครั้งประวัติศาสตร์ผ่านเส้นทางรถไฟฟ้าลาว-จีน กุ้งทะเลไทยทะยานสู่จีน! ขนส่งครั้งประวัติศาสตร์ผ่านเส้นทางรถไฟฟ้าลาว-จีน  จำนวนผู้อ่าน 159  กพช. ส่งเสริมคุณธรรมด้านวินัย แต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ และพนักงานราชการ กพช. ส่งเสริมคุณธรรมด้านวินัย แต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ และพนักงานราชการ  จำนวนผู้อ่าน 98 ประกาศขายครุภัณฑ์ชำรุด ประกาศขายครุภัณฑ์ชำรุด  จำนวนผู้อ่าน 59 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมรณรงค์ใส่ผ้าไทย กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมรณรงค์ใส่ผ้าไทย  จำนวนผู้อ่าน 50 รายงานผลสำเร็จการประเมินองค์กรคุณธรรม ของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 รายงานผลสำเร็จการประเมินองค์กรคุณธรรม ของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชา... จำนวนผู้อ่าน 44 กพช. ส่งเสริมคุณธรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย ประจำปี 2568 กพช. ส่งเสริมคุณธรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย ประจำปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 41 No Gift No Gift  จำนวนผู้อ่าน 41 กพช. ร่วมกิจกรรมประหยัดพลังงาน กพช. ร่วมกิจกรรมประหยัดพลังงาน  จำนวนผู้อ่าน 37 กิจกรรมยกย่อง เชิดชู หน่วยงานภายใน กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กิจกรรมยกย่อง เชิดชู หน่วยงานภายใน กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ... จำนวนผู้อ่าน 36 กพช. ส่งเสริมคุณธรรมการมาปฏิบัติงานตรงต่อเวลา กพช. ส่งเสริมคุณธรรมการมาปฏิบัติงานตรงต่อเวลา  จำนวนผู้อ่าน 32 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้รับเกียรติบัตรการประเมินองค์กร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ระดับ  กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้รับเกียรติบัตรการประเมินองค์กร ป... จำนวนผู้อ่าน 16 กพช. จิตอาสาบริจาคของกับมูลนิธิกระจกเงา กพช. จิตอาสาบริจาคของกับมูลนิธิกระจกเงา  จำนวนผู้อ่าน 16


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

    รายละเอียด Best Look 1024x768 on Internet Exploer Latest Version Copyright ? Coastal Aquaculture Research and Development Division Department Of Fisheries All rights reserved e-mail : vichakarn6504@hotmail.com ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันที่ 4 เมษายน 2563 22:00:00  email  vichakarn6504@gmail.com  โทรศัพท์ 0-2579-8522 , 0-2579-4496  FAX 0-2579-8522 , 0-2579-4496  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6