วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม

 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง


วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม 

เกี่ยวกับเรา

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม

วิสัยทัศน์ : “ยกระดับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ด้วยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเกษตรกรไทยมั่งคั่ง และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน”

 

ค่านิยม :  “มุ่งมั่นพัฒนางานวิจัย ทำงานเป็นทีม ถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น”

 

พันธกิจ :

  1.  การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเปลี่ยนรูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Transformation) ให้มีการเพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่า
  2.  พัฒนาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตด้านนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสร้างมูลค่าให้กับสัตว์น้ำ ให้นำไปขยายผล เกิดการใช้ประโยชน์ได้จริง
  3.  การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
  4.  ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและการรองรับเทคโนโลยีเกษตร 4.0
  5.  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุลลากรของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเป็น Smart officer

 

การวิเคราะห์ SWOT :


จุดแข็ง Strength

  • S1 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีงานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ที่มีการบูรณาการกับหน่วยงานที่หลากหลาย ที่สามารถใช้ขยายผลในการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรได้
  • S2 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีหน่วยงานภายใต้สังกัดกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ในพื้นที่จังหวัดชายทะเลของประเทศไทย เพื่อทำวิจัยและส่งเสริมหลักวิชาการให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ได้ทั่วถึงทั้งในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านเพาะเลี้ยง
  • S3 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความร่วมมือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
  • S4 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีนโยบายอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีสภาพคล่องในธุรกิจ และเป็นโอกาสในการสร้างเกษตรกรหน้าใหม่ควบคู่ด้วย
  • S5 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีข้อมูลทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการกำหนดมาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
  • S6 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีการขยายผลสัตว์น้ำที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์แล้ว ให้มีคุณภาพที่ดี เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกร
  • S7 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีระบบเทคโนโลยีที่ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพได้สูงสุด
  • S8 บุคลากรของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้รับการสนับสนุนให้ศึกษาต่อ และอบรมในทักษะที่ก่อให้เกิดการพัฒนางานด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 

จุดอ่อน Weaknesses

  • W1 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีข้อมูลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจบางชนิด เพียงเป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังขาดองค์ความรู้ที่ใช้เทคโนโลยีพัฒนาต่อยอดให้เกิดการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน
  • W2 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีระบบฐานข้อมูลที่ใช้บริหารจัดการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและระบบตรวจสอบย้อนกลับ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมในการใช้งานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • W3 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาแนวทางการควบคุมต้นทุนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • W4 บุคลากรของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายยังมีความรู้และทักษะไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามหน้าที่รับผิดชอบ ด้านกฎหมายประมง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • W5 นักวิจัยของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ยังขาดการเข้าถึงฐานข้อมูลงานวิจัยระดับนานาชาติที่สะดวก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • W6 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ขาดข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและพฤติกรรม/ความต้องการในการบริโภคสัตว์น้ำทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการวางแผนคัดเลือกชนิดสัตว์น้ำที่ควรนำมาส่งเสริมการเพาะเลี้ยงให้กับเกษตรกรได้ โดยสอดคล้องกับนโยบายการตลาดนำการผลิตของกระทรวงเกษตรฯ


โอกาส Opportunity  

  • O1 ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้นทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ
  • O2 อาหารที่ผลิตจากสัตว์น้ำชายฝั่งเป็นอาหารทะเลที่มีโภชนาการสูง เหมาะสมสำหรับประชากรวัยเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และกลุ่มควบคุมน้ำหนัก:โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงที่สุดและมีความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ
  • O3 ภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการวัตถุดิบจากภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปริมาณที่สูง
  • O4 เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศมีหลากหลายระดับ รายย่อย รายกลาง รายใหญ่ เป็นส่วนสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อบริโภคทั้งภายในประเทศ และส่งออก
  • O5 มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพสามารถนำมาปรับใช้ในการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • O6 เทคโนโลยีสารสนเทศ (social media) มีความก้าวหน้ามากขึ้นและสามารถเข้าถึงได้ง่ายรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) และระบบพาณิชย์อิเลคทรอนิคส์ (E-commerce) ที่แพร่ขยายทั่วโลก ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรงและขยายช่องทางการตลาด ได้กว้างขวางในระดับสากล

 

อุปสรรค Threat

  • T1 การเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) ส่งผลต่อความไม่แน่นอน และยากจะคาดเดาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อทุกประเทศทั่วโลก ทั้งประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคจึงมีความเสี่ยงต่อการกำหนดนโยบายระยะยาว
  • T2 สภาพแวดล้อมแหล่งน้ำเสื่อมโทรมลง เนื่องจากการขยายของชุมชนเมือง โรงงานอุตสาหกรรม และมลภาวะต่าง ๆ
  • T3 ความขัดแย้งของการใช้ประโยชน์พื้นที่ของภาคการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่สาธารณสมบัติ
  • T4 การเกิดโรคอุบัติใหม่ และ โรคสัตว์น้ำอุบัติใหม่ สร้างความเสียหายต่อผลผลิตสัตว์น้ำที่ป้อนสู่อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • T5 สถานการณ์โรคระบาด COVID 19 ทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การตลาด การขนส่ง บางส่วนไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ
  • T6 สถานการณ์เศรษฐกิจโลกผันผวนส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาสัตว์น้ำ
  • T7 กฎระเบียบและมาตรฐานด้านสุขอนามัย การต่อต้านการทุ่มตลาด การถูกตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) กำหนดมาตรฐานเอกชน เพื่อกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการภาษีนำเข้า (non-tariff barriers) ทำให้ความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดลง
  • T8 แรงงานต่างด้าวซึ่งเป็นแรงงานหลักในอุตสาหกรรมประมงมีแนวโน้มย้ายไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมอื่น
  • T9 ระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังไม่มีประสิทธิภาพ
  • T10 งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐในการสนับสนุนโครงสร้าง เครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่เพียงพอต่อการพัฒนาศักยภาพระบบการเพาะเลี้ยงด้วยระบบพัฒนาแบบก้าวกระโดดด้วยนวัตกรรม (Disruption)
  • T11 ภาพลักษณ์คุณภาพทางด้านโภชนาการของสัตว์น้ำไทยยังด้อยกว่าสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงได้จากต่างประเทศ
  • T12 เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายย่อย ขาดการรับรู้ ความเข้าใจในการนำกฎหมายและกฎระเบียบ ไปใช้ในทางปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง ปี 2558 และฉบับที่ 2 ปี 2560 รวมทั้งระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • T13 ต้นทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านอาหารสัตว์น้ำ ค่าพลังงาน จึงแข่งขันในตลาด ต่างประเทศได้ไม่ดี
  • T14 รัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณการปฏิบัติงานวิจัยโดยมีวงเงินที่ได้รับการจัดสรรที่จำกัดและต้อง เขียนล่วงหน้าก่อน 2 ปี ทำให้บางครั้งเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูล และเกิดความล้าสมัย ไม่ทันเหตุการณ์ รวมทั้งมักพบปัญหาล่าช้าในการจัดสรร

 


 

 Tags

  •   Hits
  • กพช. ส่งเสริมคุณธรรมด้านวินัย แต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ และพนักงานราชการ กพช. ส่งเสริมคุณธรรมด้านวินัย แต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ และพนักงานราชการ  จำนวนผู้อ่าน 124  ประกาศขายครุภัณฑ์ชำรุด ประกาศขายครุภัณฑ์ชำรุด  จำนวนผู้อ่าน 76 รายงานผลสำเร็จการประเมินองค์กรคุณธรรม ของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 รายงานผลสำเร็จการประเมินองค์กรคุณธรรม ของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชา... จำนวนผู้อ่าน 67 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมรณรงค์ใส่ผ้าไทย กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ร่วมรณรงค์ใส่ผ้าไทย  จำนวนผู้อ่าน 66 กิจกรรมยกย่อง เชิดชู หน่วยงานภายใน กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กิจกรรมยกย่อง เชิดชู หน่วยงานภายใน กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ... จำนวนผู้อ่าน 61 กพช. ส่งเสริมคุณธรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย ประจำปี 2568 กพช. ส่งเสริมคุณธรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย ประจำปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 59 No Gift No Gift  จำนวนผู้อ่าน 54 กพช. ส่งเสริมคุณธรรมการมาปฏิบัติงานตรงต่อเวลา กพช. ส่งเสริมคุณธรรมการมาปฏิบัติงานตรงต่อเวลา  จำนวนผู้อ่าน 51 กพช. ร่วมกิจกรรมประหยัดพลังงาน กพช. ร่วมกิจกรรมประหยัดพลังงาน  จำนวนผู้อ่าน 49 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้รับเกียรติบัตรการประเมินองค์กร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ระดับ  กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้รับเกียรติบัตรการประเมินองค์กร ป... จำนวนผู้อ่าน 37 กพช. จิตอาสาบริจาคของกับมูลนิธิกระจกเงา กพช. จิตอาสาบริจาคของกับมูลนิธิกระจกเงา  จำนวนผู้อ่าน 37


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

    รายละเอียด Best Look 1024x768 on Internet Exploer Latest Version Copyright ? Coastal Aquaculture Research and Development Division Department Of Fisheries All rights reserved e-mail : vichakarn6504@hotmail.com ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันที่ 4 เมษายน 2563 22:00:00  email  vichakarn6504@gmail.com  โทรศัพท์ 0-2579-8522 , 0-2579-4496  FAX 0-2579-8522 , 0-2579-4496  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6