การผสมข้ามกับงานปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ และการศึกษาการผสมข้ามในปลากะพงขาวในประเทศไทย

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง


การผสมข้ามกับงานปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ และการศึกษาการผสมข้ามในปลากะพงขาวในประเทศไทย 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

การผสมข้ามกับงานปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ และการศึกษาการผสมข้ามในปลากะพงขาวในประเทศไทย..คลิก

การผสมข้ามกับงานปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ และการศึกษาการผสมข้ามในปลากะพงขาวในประเทศไทย

อัตรา  ไชยมงคล

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง

 

          การผสมข้ามเป็นการผสมระหว่างสัตว์ที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรม (genetically differentiated)    ซึ่งอาจเป็นการผสมระหว่างตัว หรือผสมระหว่างกลุ่ม โดยคาดหวังผลที่ได้จากการผสมที่ดีกว่าการผสมของพ่อหรือแม่พันธุ์เดิม (Bartley et al., 2001) การผสมข้ามสามารถแบ่งเป็นการผสมข้ามภายในชนิดเดียวกัน (intraspecific hybridization (cross-breeding)) และการผสมข้ามระหว่างชนิด (interspecific hybridization) (Rahman et al., 2019; Wang et al., 2019) ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากการผสมข้าม ได้แก่  

1. การผสมข้ามระหว่างชนิด (interspecific hybridization) ซึ่งเป็นการผสมระหว่างสัตว์น้ำต่างชนิด (species) กันแต่มักอยู่ในสกุล (genus) ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ในพันธุ์ปลาที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย เช่น ปลาดุกลูกผสมบิ๊กอุย เป็นการผสมระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย (Clarias macrocephalus) กับ ปลาดุกรัสเซีย (Clarias gariepinus)  หรือ ปลาเก๋าลูกผสม (ปลาเก๋ามุก) ที่เป็นการผสมระหว่าง ปลาเก๋าเสือ (Epinephelus fuscoguttatus) เพศเมีย กับปลาหมาทะเล (Epinephelus lanceolatus) เพศผู้  หรือตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น  ปลาดุกอเมริกัน (channel catfish) ลูกผสม ที่เป็นการผสมระหว่างปลา channel catfish (Ictalurus punctatus)  เพศเมีย กับปลา blue catfish (Ictalurus furcatus) เพศผู้

2. การผสมข้ามภายในชนิด (intraspecific hybridization หรือ cross-breeding)  เป็นการผสมระหว่างสัตว์น้ำชนิด (species) เดียวกัน ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากการผสมข้ามภายในชนิดอาจมีให้เห็นเชิงประจักษ์  ไม่มากเท่ากับการผสมข้ามระหว่างชนิด แต่การใช้ประโยชนการผสมภายในชนิดมักใช้เพื่อผสมระหว่างสายพันธุ์ปลาที่พัฒนาขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว เช่นการผสมระหว่างสายพันธุ์ที่พัฒนาเพื่อการเจริญเติบโต  กับสายพันธุ์ที่พัฒนาเพื่อความต้านทานโรค  เพื่อให้ลักษณะที่พัฒนาขึ้นทั้ง 2 ลักษณะมาอยู่ในปลาลูกผสม  หรือเป็นการใช้ประโยชน์ในช่วงเริ่มต้นการพัฒนาโปรแกรมปรับปรุงพันธุ์เช่น ในการปรับปรุงพันธุ์ปลานิล (GIFT project) หรือเป็นการใช้เพื่อปรับปรุงลักษณะจีโนไทป์ หรือ ฟีโนไทป์ ของสัตว์น้ำที่ผ่านการคัดเลือกและเลี้ยงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ เช่นในกุ้งฟ้า (Blue shrimp, Litopenaeus stylirostris)

การผสมข้าม (hybridization) เป็นการปรับปรุงพันธุ์วิธีการหนึ่งที่ไม่ยุ่งยาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลพันธุกรรมของสัตว์น้ำมากนัก และมีค่าใช้จ่ายไม่มาก (Tave, 1986; Rahman et al., 2019) เมื่อเทียบกับแผนการปรับปรุงพันธุ์ระยะยาวที่จำเป็นต้องใช้บุคคลากร และค่าใช้จ่ายเยอะกว่า การนำเทคนิคการผสมข้ามมาใช้จึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากประชากรสัตว์น้ำที่เรามีอยู่

 

การศึกษาการผสมข้ามภายในชนิดในปลากะพงขาวที่เลี้ยงในประเทศไทย  

          ในปี พ.ศ. 2556 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง เริ่มรวบรวมพันธุ์ปลากะพงขาวภายในประเทศที่ได้จากพื้นที่ต่างกัน 4 แหล่ง  เพื่อเตรียมการสำหรับพัฒนางานปรับปรุงพันธุ์ปลากะพงขาว  การดำเนินงานของศูนย์ฯ ในระยะแรกเริ่มจากวิเคราะห์ความหลากหลายและความใกล้ชิดทางพันธุกรรมของ    ปลากะพงขาวทั้ง 4 แหล่ง ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ความใกล้ชิดทางพันธุกรรม พบว่าปลากะพงขาวที่ศูนย์ฯ รวบรวมไว้ สามารถแยกปลากะพงขาวที่มีอยู่ได้เป็น 3 ประชากร   

จากข้อมูลพันธุกรรมของปลากะพงขาวที่ศูนย์ฯ มีอยู่ ได้มีแนวคิดในการทดลองผสมข้ามระหว่างประชากรปลากะพงขาว โดยทดลองผสมระหว่างประชากรปลากะพงขาวสงขลา และประชากรปลากะพงขาวภูเก็ต  โดยใช้วิธีการผสมเทียมเพื่อผลิตลูกปลาได้ 4 รูปแบบการผสม ได้แก่ ภูเก็ต (เพศเมีย) x ภูเก็ต (เพศผู้), ภูเก็ต (เพศเมีย) x สงขลา (เพศเมีย), สงขลา (เพศเมีย) x ภูเก็ต (เพศผู้) และสงขลา (เพศเมีย) x สงขลา (เพศเมีย) โดยคาดหวังว่าอาจจะพบลักษณะที่ดีขึ้นกว่าการผสมระหว่างพ่อแม่ดั้งเดิมในปลากะพงขาวลูกผสม  การศึกษาครั้งนี้เป็นเก็บข้อมูลข้อมูลในช่วงตั้งแต่ปลาระยะแรกฟักจนถึงปลาขนาดความยาว 3 - 5 นิ้ว (ปลาวัยรุ่น) โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ    ความแข็งแรงของลูกปลาแรกฟัก ความทนทานต่อการลดลงของออกซิเจน  ทนทานต่อการเลี้ยงในสภาวะเครียด และข้อมูลการเจริญเติบโต การทดลองผสมข้ามครั้งนี้พบว่าการผสมข้ามรูปแบบการผสม ภูเก็ต (เพศเมีย) x สงขลา (เพศผู้) สามารถให้ลูกปลาที่แข็งแรง ปลาระยะวัยรุ่นมีทนทานต่อการลดลงของออกซิเจน ความทนทานต่อการเลี้ยงในสภาวะเครียด ได้ดีกว่ารูปแบบการผสมของพ่อแม่เดิม ภูเก็ต (เพศเมีย) x ภูเก็ต (เพศผู้) ขณะที่รูปแบบการผสม ภูเก็ต (เพศเมีย) x สงขลา (เพศผู้) มีการเจริญเติบโต ดีกว่ารูปแบบการผสมอื่นๆ  

ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นผลจากการศึกษาการผสมข้ามภายในชนิดในปลากะพงขาวครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการรายงานผลอย่างเป็นทางการ  และจากผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว โดยในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2563 ศูนย์ฯ สามารถผลิตลูกปลาแรกฟักจากปลากะพงขาวรูปแบบการผสม ภูเก็ต (เพศเมีย) x สงขลา (เพศผู้) เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกร และแจกจ่ายให้กับศูนย์อื่นๆ เป็นจำนวน 10 - 15 ล้านตัวต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากการผสมข้ามที่เป็นแผนการใช้ประโยชน์ระยะสั้นจากเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ ก่อนที่จะมีผลผลิตจากแผนงานการปรับปรุงพันธุ์ระยะยาวของปลากะพงขาวเพื่อนำใช้ประโยชน์ต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

Bartley, D. M., K. Rana and A. J. Immink.  2001. The Use of Inter-specific Hybrids in aquaculture and Fisheries.  Rev. Fish Biol. Fish. 10: 325-337. 

Rahman, A. M., S. G. Lee, F. M. Yusoff and S. M. Faiquzzaman. 2019. Hybridization and Its Application in Aquaculture. In: Wang, H. P., F. Piferrer, S. L. Chen and Z. G. Shen (eds).  Sex Control in Aquaculture, Volume I.  John Wiley & Sons Ltd, New York. pp. 163-178. 

Tave, D.  1986.  Genetics for Fish Hatchery Managers.  AVI Publishing Company, Inc., Connecticut, USA. 299 pp. 

Wang, S., C. Tang, M. Tao, Q. Qin, C. Zhang, K. Luo, R. Zhao, J. Wang, L. Ren, J Xiao, F. Hu, R. Zhou, W. Duan and S. Liu.  2019.  Establishment and Application of Distant Hybridization Technology in Fish.  Sci. China Life Sci. 62: 22-45.   

 

 Tags

  •   Hits
  • ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อวัสดุการเกษตร จำนวน 3 รายการ คือ อาร์ทีเมีย อาหารปลาทะเล และอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน ชนิดเม็ดลอยน้ำ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อวัสดุการเกษตร จำนวน 3 รายการ คือ อาร์ทีเมี... จำนวนผู้อ่าน 60  สนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 380,000 ตัว ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ สนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 380,000 ตัว ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  จำนวนผู้อ่าน 41 ปล่อยลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ ขนาด P15 จำนวน 1,500,000 ตัว ปล่อยลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ ขนาด P15 จำนวน 1,500,000 ตัว  จำนวนผู้อ่าน 32 นักศึกษาศึกษาดูงาน นักศึกษาศึกษาดูงาน  จำนวนผู้อ่าน 31 รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 26 มีนาคม 2568 รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 26 มีนาคม 2568  จำนวนผู้อ่าน 24 กิจกรรมเฝ้าระวังแหล่งน้ำธรรมชาติ (Mo.3) กิจกรรมเฝ้าระวังแหล่งน้ำธรรมชาติ (Mo.3)  จำนวนผู้อ่าน 22 อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพผู้ตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประจำปี 2568”  อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพผู้ตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยง... จำนวนผู้อ่าน 22 กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  จำนวนผู้อ่าน 20  รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 6 มีนาคม 2568   รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 6 มีนาคม 2568   จำนวนผู้อ่าน 19 กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศล ปล่อยลูกพันธุ์ปลากระบอกดำ กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศล ปล่อยลูกพันธุ์ปลากระบอกดำ  จำนวนผู้อ่าน 18 นำลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ ขนาด P19 จำนวน 1,200,000 ตัว ปล่อยในทะเลสาบสงขลา นำลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ ขนาด P19 จำนวน 1,200,000 ตัว ปล่อยในทะเลสาบสงขลา  จำนวนผู้อ่าน 16 ผลคุณภาพน้ำในทะเลสาบสงขลา วันที่ 3 - 4 มีนาคม 2568 ผลคุณภาพน้ำในทะเลสาบสงขลา วันที่ 3 - 4 มีนาคม 2568  จำนวนผู้อ่าน 15 เข้าร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลง ชาติไทยในตอนเช้า เข้าร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลง ชาติไทยในตอนเช้า  จำนวนผู้อ่าน 15  รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 19 กุมภาพันธ์ 2568   รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 19 กุมภาพันธ์ 2568   จำนวนผู้อ่าน 14 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา  จำนวนผู้อ่าน 14


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง

    รายละเอียด 1/19 หมู่ 3 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000  email  nica.carin@gmail.com  โทรศัพท์ 074-311895, 086-4895415  FAX 074-321032  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6