บทความ การพัฒนางานปรับปรุงพันธุ์ปลากะพงขาว

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง


บทความ การพัฒนางานปรับปรุงพันธุ์ปลากะพงขาว 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT บทความ การพัฒนางานปรับปรุงพันธุ์ปลากะพงขาว..คลิก

การพัฒนางานปรับปรุงพันธุ์ปลากะพงขาว ภายใต้การดำเนินการของ

กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง  กรมประมง

ประวัติความเป็นมา

ปลากะพงขาว (Lates calcarifer) เป็นปลาทะเลที่สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในน้ำทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด  เป็นสัตว์น้ำที่สามารถเพาะพันธุ์ได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2512  ซึ่งหลังจากการประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลากะพงขาวได้ทำให้มีการขยายการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในประเทศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  ส่งผลให้ปลากะพงขาวเป็นปลาทะเลที่มีการเพาะเลี้ยงมากที่สุด  โดยมีปริมาณมากกว่า 90 % ของปลาทะเลที่มีการเพาะเลี้ยงในประเทศไทย   ซึ่งถือได้ว่าปลากะพงขาวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของประเทศไทย

เนื่องจากความสำคัญของปลากะพงขาวที่ต่อภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของประเทศ  กรมประมง โดยกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จึงได้ริเริ่มงานปรับปรุงพันธุ์ปลากะพงขาว โดยเป็นความคิดริเริ่มของผู้เชี่ยวชาญ ดร. วารินทร์ ธนาสมหวัง ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในขณะนั้น เป็นผู้ริเริ่ม  และได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นผู้รับดำเนินการ   โดยในระยะแรกเป็นการดำเนินงานที่เป็นส่วนหนื่งของโครงการ “Development of Aquaculture Technology for Food Security and Food Strategy in the Next Generation”  เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2555 และ ระยะที่ 2 เริ่มดำเนินการปี พ.ศ. 2563 ผ่านโครงการ   “Utilization of Thailand Local Genetic Resources to Develop Novel Farmed Fish for Global Market” โดยกิจกรรมทั้ง 2 ระยะ เป็นการดำเนินกิจกรรม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมประมง กับ รัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan International Cooperative Agency)  และมีผู้อำนวยกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ท่านต่อๆ มา เป็นผู้อำนวยการโครงการฯ

วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ และวิธีการ 

การปรับปรุงพันธุ์ในระยะแรกมีวัตถุประสงค์ คือ  ต้องการพัฒนาปลากะพงขาวสำหรับลักษณะการเจริญเติบโตและพัฒนาปลากะพงขาวสำหรับลักษณะการทนทานต่อการลดลงของออกซิเจน   โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) โดยการปรับปรุงพันธุ์ในระยะแรกนี้ ดำเนินการโดยคณะนักวิจัยของกรมประมง

สำหรับการดำเนินกิจกรรมในระยะที่ 2 ยังคงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาปลากะพงขาวที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี  ลักษณะทนทานต่อการลดลงของออกซิเจน และเพิ่มเติมต้องการพัฒนาปลากะพงขาวที่ต้านทานโรคอิริโดไวรัส  โดยใช้วิธีการคัดเลือกพันธุ์ (Selection) ด้วยการประมาณค่าศักยภาพทางพันธุกรรม (Estimate Breeding Value) ร่วมกับการใช้เครื่องหมายพันธุกรรมเพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ (Marker assist selection) ซึ่งการใช้เครื่องหมายพันธุกรรมช่วยในการคัดเลือกพันธุ์นั้นจะดำเนินการโดยคณะนักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมแห่งชาติ และคณะนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น ขณะที่การคัดเลือกพันธุ์ด้วยการประมาณค่าศักยภาพทางพันธุกรรมดำเนินการโดยคณะนักวิจัยของกรมประมง    โดยใช้ทรัพยากรปลากะพงขาวร่วมกัน   ซึ่งได้จากการผสมเทียม อนุบาลและเลี้ยงแยกเป็นครอบครัว ภายได้การดูแลโดยคณะนักวิจัยของกรมประมง  โดยทรัยพากรสัตว์น้ำทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของกรมประมง

 

ผลการดำเนินการ และการดำเนินงานในอนาคต

ผลการดำเนินการจากกิจกรรมในระยะแรก ปลากะพงขาวที่คัดเลือกโดยวิธีคัดเลือกแบบหมู่ (Mass selection) สำหรับลักษณะการเจริญเติบโต และลักษณะการทนทานต่อการลดลงของออกซิเจน พบว่าการคัดเลือกให้ผลการตอบสนองต่อการคัดเลือกเป็นไปตามที่ลักษณะการคัดเลือก  และได้ผลิตพ่อแม่ปลาในรุ่นถัด (F2 generation) สำหรับลักษณะความทนทานต่อการลดลงของออกซิเจนได้สำเร็จ และอยู่ระหว่างรอให้พ่อแม่พันธุ์รุ่นดังกล่าวมีความสมบูรณ์เพศ ก่อนที่จะเริ่มผลิตลูกพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์    ขณะปลาที่คัดเลือกสำหรับลักษณะการเจริญเติบโต ยังไม่สามารถผลิตรุ่นต่อไปได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนพ่อแม่พันธุ์ที่เหลืออยู่   

ผลการดำเนินการในระยะที่ 2  ขณะนี้ผลจากการทดสอบและเก็บข้อมูลในระดับครอบครัวทำให้ทราบว่าปลาบางครอบครัวมีลักษณะดีสำหรับลักษณะการเจริญเติบโต  บางครอบครัวมีลักษณะดีสำหรับการต้านทานโรคอิริโดไวรัส และบางครอบครัวมีลักษณะดีสำหรับความทนทานต่อการลดลงของออกซิเจน    โดยขณะนี้ในส่วนของการดำเนินงานระยะที่ 2 อยู่ระหว่างการเลี้ยงปลาที่ทราบข้อมูลระดับครอบครัว นำมาประเมินค่าอัตราพันธุกรรมสำหรับลักษณะการเจริญเติบโต  การต้านทานโรค และความทนทานต่อการลดลงของออกซิเจน   และอยู่ระหว่างการเลี้ยงปลาเพื่อพัฒนาให้เป็นพ่อแม่พันธุ์   เลี้ยงปลาให้มีความสมบูรณ์เพศ  พร้อมทั้งเก็บข้อมูลการแสดงลักษณะเพศ และ การเปลี่ยนแปลงเพศของปลากะพงขาว ในระดับครอบครัว  เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ในรุ่นถัดไป

การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากวงชีวิตของปลากะพงขาวที่จะสมบูรณ์เพศได้ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงอย่างน้อย    4 ปี จึงจะสามารถผลิตปลาในรุ่นถัดไปได้  ดังนั้นขณะนี้คาดว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากปลากะพงขาวที่คัดเลือกสำหรับลักษณะความทนทานต่อการลดลงของออกซิเจนรุ่นที่ 2 ได้ในระยะเวลาอันใกล้  ก่อนที่ปลาที่ได้จากการดำเนินการในระยะที่ 2 มีความสมบูรณ์เพศ และเริ่มใช้ประโยชน์ได้ 

ข้อจำกัดและข้อกังวลในการดำเนินกิจกรรม 

แม้ว่างานปรับปรุงพันธุ์ปลากะพงขาว จะต้องการบ่อหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ในการเพาะเลี้ยงไม่ต่างจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วไปมากนัก แต่ในบางลักษณะจำเป็นต้องมีการปรับปรุงดัดแปลงพื้นที่ที่ใช้ดำเนินกิจกรรมบางส่วน ให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมสำหรับงานปรับปรุงพันธุ์โดยเฉพาะ   แต่ข้อจำกัดของระเบียบราชการบางอย่างทำให้การปรับปรุงแก้ไขระบบการเลี้ยง  เพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาให้ได้อย่างทันท่วงทีทำได้ได้อยาก และส่งผลต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีชีวิตรอด  ซึ่งส่งผลต่อผลต่อการดำเนินโครงการในระยะยาว  

ข้อจำกัดในด้านบุคคลากร  การดำเนินกิจกรรมปรับปรุงพันธุ์ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ และมีความเอาใจใส่ในการดูแลสัตว์น้ำในกิจกรรมปรับปรุงพันธุ์อย่างเพียงพอ   ส่วนนี้น่าจะเป็นสิ่งศูนย์ฯ และ กองฯ จำเป็นต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ  เพื่อพัฒนาบุคลากร หรือจัดสรร ให้มีทรัพยากรบุคลลเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมในระยะยาว

ข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ  สำหรับการดำเนินกิจกรรมปรับปรุงพันธุ์ปลากะพงขาว ที่มีวงชีวิตค่อนข้างยาว (มากกว่า 3 ปี) จึงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการเลี้ยงปลาจนกว่าจะเป็นพ่อแม่พันธุ์ค่อนข้างมาก   ประกอบกับงานปรับปรุงพันธุ์จำเป็นต้องใช้พ่อแม่พันธุ์ในปริมาณมากเพื่อให้แน่ใจได้ว่า จะมีจำนวนปลามากพอสำหรับการผสมเทียมเพื่อสร้างประชากรในรุ่นถัดไป  ทำให้จำเป็นต้องใช้งบประมาณสำหรับอาหาร และ พลังงานในปริมาณค่อนข้างสูง อาจทำให้การดำเนินโครงการระยะยาวติดขัดด้านงบประมาณ           

         

 Tags

  •   Hits
  • ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อวัสดุการเกษตร จำนวน 3 รายการ คือ อาร์ทีเมีย อาหารปลาทะเล และอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน ชนิดเม็ดลอยน้ำ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อวัสดุการเกษตร จำนวน 3 รายการ คือ อาร์ทีเมี... จำนวนผู้อ่าน 60  สนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 380,000 ตัว ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ สนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 380,000 ตัว ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  จำนวนผู้อ่าน 41 ปล่อยลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ ขนาด P15 จำนวน 1,500,000 ตัว ปล่อยลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ ขนาด P15 จำนวน 1,500,000 ตัว  จำนวนผู้อ่าน 32 นักศึกษาศึกษาดูงาน นักศึกษาศึกษาดูงาน  จำนวนผู้อ่าน 31 รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 26 มีนาคม 2568 รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 26 มีนาคม 2568  จำนวนผู้อ่าน 24 กิจกรรมเฝ้าระวังแหล่งน้ำธรรมชาติ (Mo.3) กิจกรรมเฝ้าระวังแหล่งน้ำธรรมชาติ (Mo.3)  จำนวนผู้อ่าน 22 อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพผู้ตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประจำปี 2568”  อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพผู้ตรวจประเมินมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยง... จำนวนผู้อ่าน 22 กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  จำนวนผู้อ่าน 20  รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 6 มีนาคม 2568   รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 6 มีนาคม 2568   จำนวนผู้อ่าน 19 กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศล ปล่อยลูกพันธุ์ปลากระบอกดำ กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศล ปล่อยลูกพันธุ์ปลากระบอกดำ  จำนวนผู้อ่าน 18 นำลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ ขนาด P19 จำนวน 1,200,000 ตัว ปล่อยในทะเลสาบสงขลา นำลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ ขนาด P19 จำนวน 1,200,000 ตัว ปล่อยในทะเลสาบสงขลา  จำนวนผู้อ่าน 16 ผลคุณภาพน้ำในทะเลสาบสงขลา วันที่ 3 - 4 มีนาคม 2568 ผลคุณภาพน้ำในทะเลสาบสงขลา วันที่ 3 - 4 มีนาคม 2568  จำนวนผู้อ่าน 15 เข้าร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลง ชาติไทยในตอนเช้า เข้าร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลง ชาติไทยในตอนเช้า  จำนวนผู้อ่าน 15  รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 19 กุมภาพันธ์ 2568   รายงานคุณภาพน้ำ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 19 กุมภาพันธ์ 2568   จำนวนผู้อ่าน 14 การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมประมง การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้... จำนวนผู้อ่าน 14


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง

    รายละเอียด 1/19 หมู่ 3 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000  email  nica.carin@gmail.com  โทรศัพท์ 074-311895, 086-4895415  FAX 074-321032  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6