นิทรรศการให้ความรู้ “การเลี้ยงปลาในบ่อผ้าเคลือบน้ำยางพารา” งาน Thailand ready for EUDR

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช


นิทรรศการให้ความรู้ “การเลี้ยงปลาในบ่อผ้าเคลือบน้ำยางพารา” งาน Thailand ready for EUDR 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

นิทรรศการให้ความรู้ “การเลี้ยงปลาในบ่อผ้าเคลือบน้ำยางพารา” งาน Thailand ready for EUDR..คลิก

วันที่ 27 เมษายน 2567 นางสาวนิภา กาลศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อจัดนิทรรศการให้ความรู้ เรื่อง “การเลี้ยงปลาในบ่อผ้าเคลือบน้ำยางพารา” โดยนำบ่อผ้าเคลือบน้ำยางพาราขนาด 2 x 3 เมตร พร้อมด้วยระบบการเลี้ยงปลาชะโอน ไปจัดแสดงในงาน Thailand ready for EUDR หน่วยงานผู้จัดหลัก การยางแห่งประเทศไทย โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นประธานในพิธีลงนามแสดงเจตจำนงในการขับเคลื่อนสินค้ายางพาราตามมาตรการ กฎระเบียบสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า EU Deforestation Regulation (EUDR) ณ โรงแรมบรรจงบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี การจัดนิทรรศการให้ความรู้ในครั้งนี้ ร่วมบูรณาการในหน่วยงานกรมประมงร่วมกับ นายกำพล ลอยชื่น ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายนพดล จินดาพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี โดยบ่อเลี้ยงปลาจากการใช้เทคโนโลยีผ้าเคลือบน้ำยางพารา มีความเหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากมีน้ำยางในพื้นที่ และน้ำยางมีความสามารถในการเกาะยืดกับผ้าดิบ เป็นวัสดุผสมที่มีความแข็งแรง ทนทาน ป้องกันการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี สามารถติดตั้งได้ง่าย สะดวกในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา สามารถใช้กักเก็บน้ำได้แม้ในสภาพที่เป็นดินปนทราย หรือดินที่ ไม่สามารถกักเก็บน้ำโดยธรรมชาติ หรือในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง โดยต้นทุน คำนวนแล้วอยู่ที่ ตรม.ละ 200 บาท ซึ่งราคาต้นทุน อิงกับราคาน้ำยาง ณ ปัจจุบัน และต้นทุนวัสดุที่ใช้ ผ้าด้ายดิบ และอุปกรณ์ที่ใช้ การเตรียมน้ำยางข้น น้ำยางข้น (Concentrated Latex) คือ น้ำยางสดที่ผ่านกระบวนการแยกส่วนที่ไม่ใช่ยาง และส่วนที่เป็นน้ำบางส่วนออกไป จนมีปริมาณเนื้อยางในน้ำยางเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 60% เป็นน้ำยางที่มีคุณภาพ และคุณสมบัติสม่ำเสมอ สามารถจัดเก็บไว้ได้นานกว่าน้ำยางสด

การเตรียมน้ำยางคอมปาวด์ ผสมสารเคมีลงในน้ำยางข้น โดยเติมสารเคมีตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปในน้ำยางข้น และทำการกวนผสมให้สารเคมีเข้ากับน้ำยาง ใช้เวลาประมาณ 10 - 15 นาที และพักน้ำยางทิ้งไว้อีกประมาณ 30 นาที เพื่อให้ฟองจากการกวนผสมแตกตัวเนื่องจากหากมีฟองอากาศในน้ำยางหลงเหลืออยู่มาก ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดรอยบนผิวยางเมื่อเคลือบลงบนผ้า ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วซึม โดยมี นายจิรศักดิ์ ทองรัดแก้ว เกษตรกรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเกษตรกรผู้ใช้บ่อผ้าเคลือบน้ำยางพาราในการอนุบาลลูกปลาก่อนปล่อยลงกระชัง และบ่อผ้าเคลือบน้ำยางพาราใช้เลี้ยงปลากดเหลือง ระบบน้ำไหลเวียนด้วยระบบโซลาเซล และสร้างสระว่ายน้ำ ขนาดมาตรฐาน 25 เมตร ช่วยให้ข้อมูลการใช้ผ้าเคลือบน้ำยางพารา ซึ่งยืนยันได้ว่า "มีเกษตรกรนำไปใช้จริง เกิดประโยชน์จริง" เกษตรกรท่านใดสนใจน้ำยางพาราเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลา สามารถประสาน ดร.เบิ้ม อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์การยาง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 086 292 5501

 Tags



สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช

รายละเอียด ตู้ ปณ.8 ตำบลกุแหระ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80240  email  nakhonsri_fish@yahoo.com  โทรศัพท์ 075-845-183  FAX 075-845-183  แฟนเพจ แฟนเพจ
CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6