ส่งเสริมอาชีพ และให้คำแนะนำในการสร้างโรงเพาะฟักสัตว์น้ำจืด ของกลุ่ม องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำลุ่มน้ำปากพนัง

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช


ส่งเสริมอาชีพ และให้คำแนะนำในการสร้างโรงเพาะฟักสัตว์น้ำจืด ของกลุ่ม องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำลุ่มน้ำปากพนัง 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT ส่งเสริมอาชีพ และให้คำแนะนำในการสร้างโรงเพาะฟักสัตว์น้ำจืด ของกลุ่ม องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น  กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำลุ่มน้ำปากพนัง..คลิก

    วันที่ 22 มีนาคม 2566 นางสาวนิภา กาลศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วย นางณัฐวดี เบี้ยขาว นักวิชาการประมงชำนาญการ นางสาวชยพร ทิพศรีมงคล คงวุฒิ นักวิชาการประมงปฏิบัติการและนายอรรถพล สุดสะอาด ลงพื้นที่อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในนามของผู้แทนคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมประมง จังหวัดนครศรีธรรมราช (Fisheries Co-ordinator : FC) ร่วมกับสำนักงานประมงอำเภอเชียรใหญ่ นายอดิเรก กาฬสิงห์ ประมงอำเภอเชียรใหญ่ ในการให้ความรู้ และให้คำแนะนำการจัดสร้างโรงเพาะฟักสัตว์น้ำจืด แก่กลุ่ม องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำลุ่มน้ำปากพนัง หมู่ 5 ตำบลท่าขนาน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามโครงการ สร้างความเข้มแข็งกลุ่มผลิตด้านการประมง (กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการประมง) ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีนายธีระพงค์ ลิ่มสกุล ประธานของคณะกรรมการกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ลุ่มน้ำปากพนัง นำคณะเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ เยี่ยมชมความคืบหน้าในการสร้างโรงเพาะฟักสัตว์น้ำจืด ทั้งในด้านโครงสร้างอาคารโรงเพาะฟัก และวัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นสำหรับการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ รวมถึงการจัดเตรียมพ่อแม่ปลา โดยกิจกรรมจัดสร้างโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ ปัจจุบัน มีความคืบหน้าแล้วประมาณ 80 % โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช มีบทบาทในการร่วมเป็นพี่เลี้ยงของกลุ่มฯ ซึ่งศูนย์ฯ ได้ให้คำแนะนำ ในการเตรียมระบบเพาะฟักไข่ปลานิล โดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียน และการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลูกพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ เช่น กระชังสำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลานิล กระชังสำหรับอนุบาลลูกพันธุ์ปลานิล ฮอร์โมน แบะสารเคมีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช มีความพร้อมสนับสนุนพ่อแม่พันธุ์ปลานิลสายพันธุ์ดีของกรมประมง ปลานิลจิตรลดา 3 และปลาหมอสายพันธุ์ชุมพร 1 เพื่อมอบให้กลุ่มฯ นำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ในโอกาสต่อไป นอกจากนี้ ยังร่วมวางแผนการบริหารจัดการบ่อดิน เพื่อใช้ในการขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาสลิด และ ปลาหมอ เป็นต้น และ เตรียมปรับปรุงบ่อดิน เพื่อใช้เป็นบ่ออนุบาลลูกพันธุ์ปลาที่เพาะฟักจากชุด เพาะฟักเคลื่อนที่ Mobile Hatchery ของกลุ่มฯ รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านการลดต้นทุนในการเลี้ยงปลาด้วยวัตถุดิบจากท้องถิ่น เช่น ผำ แหนแดง และขี้เค้กปาล์ม ซึ่งปัจจุบันทางกลุ่ม ผลิต ผำ และ แหนแดงได้แล้ว และนำมาเป็นอาหารลดต้นทุนให้กับปลากินพืชชนิดต่างๆ เป็นประจำ และประธานกลุ่มฯ ยังได้มีการการแผนด้านตลาด เช่นการจำหน่ายผลผลิตปลานิลเอง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ในพื้นที่อำเภอที่อยู่ไกลจากอำเภอเชียรใหญ่ เช่นอำเภอบางขัน อำเภอทุ่งใหญ่ เป็นต้น ซึ่งลูกค้าในอำเภอที่อยู่ไกล มีความต้องการผลผลิตปลานิลสูงกว่าตลาดภายในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านต้นทุนการผลิต และปัญหาการตลาด ร่วมกับภาคีและเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกกลุ่มทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีคุณภาพ ปลอดภัยกับผู้บริโภค การจัดการการเพาะเลี้ยงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คงความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ และทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สำหรับการผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำจืด ที่มีคุณภาพ และมีผลผลิตอย่างต่อเนื่องนั้น ศูนย์ฯ ได้เสนอแนะให้ กลุ่มฯ นำคณะเจ้าหน้าที่ ของกลุ่มที่ปฏิบัติงานด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ไปศึกษาดูงาน และฝึกปฏิบัติจริง ในการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช เพื่อเจ้าหน้าที่ของกลุ่มฯ จะได้นำความรู้ ความชำนาญ กลับมาปฏิบัติในการบริการจัดการฟาร์ม ต่อไป ทั้งนี้ทางกลุ่มฯ มีแผนจะ ไปร่วมศึกษาดูงานฝึกปฏิบัติจริงกับศูนย์ฯ ในช่วงเดือน เมษายน พ.ศ. 2566 ที่จะถึงนี้ และมีแผนในการผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืด ชุดแรก ภายในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่จะถึงนี้

 Tags



สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช

รายละเอียด ตู้ ปณ.8 ตำบลกุแหระ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80240  email  nakhonsri_fish@yahoo.com  โทรศัพท์ 075-845-183  FAX 075-845-183  แฟนเพจ แฟนเพจ
CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6