สหรัฐบังคับใช้มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ มุ่งส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืน

 กองประมงต่างประเทศ


สหรัฐบังคับใช้มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ มุ่งส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืน 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT สหรัฐบังคับใช้มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ มุ่งส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืน..คลิก

            แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทรัพยากรทางน้ำที่สมบูรณ์แต่ยังมีการนำเข้าสินค้าประมงเพื่อการบริโภคภายในประเทศมากกว่าร้อยละ ๘๕ เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำประมงสัตว์น้ำบางประเภท รวมถึงกฎระเบียบที่เคร่งครัดทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมประมงภายในประเทศสูง ในขณะที่การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีราคาต่ำและหลากหลายกว่า จึงส่งผลกระทบให้การแข่งขันของอุตสาหกรรมประมงภายในประเทศเป็นไปได้ยาก และเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 อุตสาหกรรมประมงของสหรัฐฯ จึงได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การนำเข้าสินค้าประมงจากต่างประเทศลดลงจากสาเหตุการปิดประเทศของบางประเทศและปัญหาการขนส่ง ยอดจำหน่ายของสินค้าประมงมีปริมาณลดลง รวมทั้งส่งผลต่อการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมง โดยในเดือนมีนาคม 2563 สถิติการยื่นขอล้มละลายของธุรกิจฟาร์มสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นอุตสาหกรรมประมงของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงได้ลงนามบังคับใช้คำสั่งพิเศษ (Executive Order) เรื่อง Promoting American Seafood Competitiveness and Economic Growth เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นมาตรการการส่งเสริมการผลิตอาหารทะเลและการจ้างงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ ในตลาดต่างประเทศ เพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารให้มากขึ้น ส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืนและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมโดยการลดขั้นตอนกฎระเบียบและขั้นตอนอนุญาตการทำประมงที่ล่าสมัยและยุ่งยาก ปรับปรุงการปฏิบัติตามนโยบายอย่างโปร่งใสและความมีประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล มุ่งเน้นแก้ปัญหาการประมง IUU ลดอุปสรรคด้านการค้า และสนับสนุนการจ้างงานภายในประเทศสร้างงานให้แก่ชาวอเมริกันอย่างยั่งยืน ให้ชาวอเมริกันได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ โดยคำสั่งดังกล่าวมีสรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

(1) จัดทำนโยบายและยกเลิกกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นสำหรับชาวประมงและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสหรัฐฯ

ให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน เวลา ทรัพยากร และปรับปรุงแผนการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งชาติให้เป็นปัจจุบัน หลีกเลี่ยงขั้นตอนการออกใบอนุญาตทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น เพิ่มความโปร่งใสของกฎระเบียบและการวางแผนกลยุทธ์ในระยะยาวสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อลดปัญหาอุปสรรคและอำนวยความสะดวกให้กับโครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำการประมงภายในประเทศ ส่งเสริมกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มการผลิตที่ได้จากการทำการประมงแบบยั่งยืนและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมด้านการประมง และกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIS) ในการก่อสร้างฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี

(3) ต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การการควบคุม (Fishing (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing – IUU)

สนับสนุนให้ภาครัฐภาคเอกชนองค์กรระหว่างประเทศและรัฐบาลต่างประเทศ ร่วมพัฒนาความตระหนักรู้ทางทะเลโลก ความร่วมมือด้านกิจกรรมการขนถ่ายในทะเล และประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายการทำประมง เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการด้านประมงอย่างยั่งยืน มีการบังคับใช้กฎระเบียบการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU อย่างจริงจัง และสนับสนุนให้มีการใช้ความตกลงว่าด้วยมาตรการรัฐเจ้าของท่า (Port State Measures Agreement) โดยสหรัฐฯ เสนอให้เพิ่มประเด็นแรงงานให้อยู่ในคำจำกัดความของการทำประมง IUU ในข้อตกลง The Western and Central Pacific Fisheries Commission (WCPFC) เพื่อแสดงความมั่นใจว่าแรงงานที่ทำงานบนเรือประมงได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม

(3) ส่งเสริมด้านสุขภาพสัตว์น้ำ (Promoting Aquatic Animal Health)

กำหนดให้พิจารณาว่าจะยกเลิกแผนสุขภาพสัตว์น้ำแห่งชาติปี พ.ศ. 2551 หรือ 2008 National Aquatic Animal Health Plan และนำแผนฉบับใหม่มาใช้แทนหรือไม่ภายใน ๓๐ วันนับจากวันออกคำสั่งฉบับนี้ ทั้งนี้ จะต้องจัดทำแผนฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จและสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใน ๑๘๐ วันนับจากวันออกคำสั่งฉบับนี้ ซึ่งควรประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและกลยุทธ์การบริหารจัดการความเสี่ยงตามความเหมาะสม

(4) การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ (International Seafood Trade)

กำหนดให้จัดตั้งคณะทำงานด้านการค้าสินค้าประมงระหว่างหน่วยงาน (Interagency Seafood Trade Task Force)เพื่อให้คำแนะนำแก่สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (US Trade Representative - USTR) ในการจัดทำกลยุทธ์การเข้าถึงตลาดต่างประเทศผ่านนโยบายการค้าและการเจรจาแก้ไขปัญหาเทคนิคการกีดกันการส่งออกสินค้าประมงสหรัฐฯและสนับสนุนการเข้าถึงตลาดอย่างเป็นธรรมของการส่งออกสินค้าประมงสหรัฐฯในต่างประเทศภายใน ๙๐ วันนับจากวันออกคำสั่งฉบับนี้และกำหนดให้ USTR เสนอแผนการดังกล่าวต่อประธานาธิบดีฯ ภายใน ๙๐ วันนับจากวันที่คณะทำงานการค้าสินค้าประมงให้คำแนะนำนอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้ดำรงนโยบายการค้าสินค้าประมงที่ยุติธรรมและเท่าเทียม (Fair and reciprocal trade) และบังคับใช้กฎระเบียบด้านความปลอดภัยอาหาร (Food safety) ต่อสินค้าประมงภายในประเทศและสินค้าประมงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีสหรัฐฯจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อประเทศที่ส่งสินค้าประมงเข้าไปยังสหรัฐฯอย่างไร แต่เป็นที่ต้องจับตามองว่าคำสั่งพิเศษดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสินค้าประมงไทยในตลาดสหรัฐอย่างไรในอนาคต เพราะเมื่อสหรัฐฯ สามารถออกใบอนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ครอบคลุมการเพาะเลี้ยงได้หลายสายพันธุ์ทั้งสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำทะเล และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงสาหร่ายภายในประเทศได้สำเร็จ อาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในประเทศลดต่ำลงในระดับที่สามารถแข่งขันกับสินค้าประมงนำเข้าจากต่างประเทศได้ นอกจากนี้ การบังคับใช้กฎระเบียบด้านความปลอดภัยอาหารกับสินค้าประมงนำเข้าอย่างเคร่งครัดและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทำการประมง IUU คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ต้นทุนสินค้าประมงจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทยในอนาคตด้วย  

 

เรียบเรียง: ชรินรัตน์ อุบลบาน, กลุ่มความร่วมมือทวิภาคี กองประมงต่างประเทศ

อ้างอิง:

- สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 12 พฤษภาคม 2563. กษ 0211.2/98. “ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาออกคำสั่งพิเศษ เรื่อง การส่งเสริมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าประมงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา (Executive Order on Promoting American Seafood Competitiveness and Economic Growth)”

- สำนักการเกษตรต่างประเทศ. 3 สิงหาคม 2563. กษ 0204/1702. “สถานการณ์สินค้าประมงในตลาดสหรัฐฯ ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19”

- Globthailand.com. 2563. “สหรัฐบังคับใช้มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทะเลสหรัฐฯ มุ่งส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืน”. https://globthailand.com/usa-18052020

- ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐอเมริกา. 2563. “สหรัฐฯ เดินหน้าหนุนอุตสาหกรรมประมงภายในประเทศ”. https://www.thaibicusa.com/2020/05/19/fisheries-industry/

- Bridget Goldschmidt. 2563. "Trump Signs Executive Order Promoting U.S. Seafood". https://progressivegrocer.com/trump-signs-executive-order-promoting-us-seafood

 

 Tags

  •   Hits
  • วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. การประชุมเตรียมการเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศ The 5th International Technical and Conference and Exposition on Tilapia  วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. การประชุมเตรียมการเพื่อเป็นเจ... จำนวนผู้อ่าน 108  การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ  จำนวนผู้อ่าน 96 วันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการรับคณะเจ้าหน้าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (FAO Regional Office for Asia and the Pacific)  วันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการรับคณะเจ้าหน้าที่องค์การอา... จำนวนผู้อ่าน 85 วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 15.30 การหารือระหว่างกรมประมงและกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ในประเด็นการขอตัวอย่างสัตว์น้ำจากสาธารณรัฐกานา วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 15.30 การหารือระหว่างกรมประมงและกรมเอเชียใต้ ตะว... จำนวนผู้อ่าน 72 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ  จำนวนผู้อ่าน 68 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมยกย่องผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงาน กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมยกย่องผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงาน  จำนวนผู้อ่าน 68 การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM  จำนวนผู้อ่าน 67 กิจกรรมการแต่งกายด้วยเครื่องแบบทุกวันจันทร์และการแต่งกายชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและวันศุกร์ กิจกรรมการแต่งกายด้วยเครื่องแบบทุกวันจันทร์และการแต่งกายชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและ... จำนวนผู้อ่าน 58 อยู่ระหว่างการทดสอบ อยู่ระหว่างการทดสอบ  จำนวนผู้อ่าน 57 ตราสัญลักษณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ครบรอบ 133 ปี ตราสัญลักษณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและส... จำนวนผู้อ่าน 53 Advancing Sustainable Fisheries with Digital Technologies: The Gulf of Thailand Advancing Sustainable Fisheries with Digital Technologies: The Gulf of Thailand  จำนวนผู้อ่าน 47 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น.  การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง ครั้งที่ 24 (The 24th Ocean and Fisheries Working Group หรือ The 24th OFWG)  วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะทำง... จำนวนผู้อ่าน 40 วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น การประชุมหารือสำหรับการตอบแบบสอบถามของโครงการจากเขตเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น การประชุมหารือสำหรับการตอบแบบสอบถามของโครง... จำนวนผู้อ่าน 37 วันที่ 11 เมษายน 2568 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม : กตัญญู สืบสานประเพณีไทย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่  วันที่ 11 เมษายน 2568 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม : กตัญญู สืบสา... จำนวนผู้อ่าน 37 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.30 น. การประชุมหารือโครงการ Workshop on Small Scale Marine Fisheries Data Collection for Fisheries Management in ASEAN ร่วมกับกรมอาเซียน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.30 น. การประชุมหารือโครงการ Workshop on Small ... จำนวนผู้อ่าน 30


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองประมงต่างประเทศ

    รายละเอียด อาคารกองประมงต่างประเทศ กรมประมง เกษตรกลาง 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900   Fisheries Foreign Affairs Division Building Department of Fisheries, Kaset Klang 50 Phahonyothin Rd, Lat Yao, Chatuchak, Bangkok 10900  email  thaidoffifad01@gmail.com  โทรศัพท์ +66 2 579 7940  FAX +66 2 579 7940  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6