สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (IORA)

 กองประมงต่างประเทศ


สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (IORA) 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (IORA)

สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Cooperation: IORA)

ที่ตั้งสำนักเลขาธิการ IORA

-ตั้งอยู่ ณ ประเทศมอริเชียส มีหน้าที่ประสานงานกับประเทศสมาชิก และติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานต่าง ๆ

ภูมิหลัง

IORA จัดตั้งขึ้นในการประชุม Indian Ocean Rim Initiative ครั้งที่ 1 ที่มอริเชียส เมื่อปี 2540 สมาชิกผู้ก่อตั้งมี 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ เคนยา สิงคโปร์ โอมาน และมอริเชียส ปัจจุบัน IORA มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 18 ประเทศ จาก 3 ทวีป คือ ออสเตรเลีย อินเดีย แอฟริกาใต้ เคนยา สิงคโปร์ โอมาน มอริเชียส อินโดนีเซีย มาดากัสการ์ มาเลเซีย โมซัมบิก ศรีลังกา แทนซาเนีย เยเมน ไทย บังกลาเทศ อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนี้ ยังมีประเทศคู่เจรจา (dialogue partners) ได้แก่ อียิปต์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน และ ฝรั่งเศส รวมทั้งมีองค์การการท่องเที่ยวแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tourism Organization - IOTO) เป็นผู้สังเกตการณ์

วัตถุประสงค์

-เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียในลักษณะไตรภาคี คือ ตัวแทนจากภาครัฐบาล เอกชน และวิชาการ โดยยอมรับในอำนาจอธิปไตยเขตแดน ไม่แทรกแซง กิจการภายในของกันและกัน การตัดสินใจในทุกระดับจะอาศัยฉันทามติ (consensus) และจะไม่มีการนำปัญหาทวิภาคี รวมทั้งกรณีใดๆ ที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งเข้ามาพิจารณาในกรอบของสมาคม ฯ

 

กลไกการทำงานของ IORA

กิจกรรมส่วนใหญ่ของ IOR-ARC มุ่งเน้นโครงการศึกษาด้านการอำนวยความ สะดวกทางการค้า (trade facilitation) เพื่อส่งเสริมการขยายปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยมีรูปแบบกิจกรรมกำหนดเป็นโครงการศึกษาระหว่างสมาชิกที่มีความสนใจร่วมกัน ภายใต้กลไกคณะทำงานด้านการค้าและการลงทุน (Working Group on Trade and Investment: WGTI) คณะทำงานด้านธุรกิจ (Indian Ocean Rim Business Forum: IORBF) และคณะทำงานด้านวิชาการ (Indian Ocean Rim Academic Group: IORAG)

สำหรับหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการ นั้น แต่ละโครงการจะต้องมีสมาชิกตั้งแต่ 5 ประเทศขึ้นไปที่มีความสนใจและมีความพร้อมเข้าร่วม โดยโครงการต้องได้รับความเห็นชอบกับโครงการโดยฉันทามติจากประเทศสมาชิกอื่นก่อน และจะต้องมีประเทศผู้ประสานงานหลัก (Project Coordinator) ของโครงการ และเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ สามารถเข้าร่วมโครงการได้ภายหลังเมื่อมีความพร้อม จากการประชุมสภารัฐมนตรี IOR – ARC ครั้งที่ 5 ที่ประชุมมีมติให้มีการจัดลำดับความสำคัญ โดยพิจารณาเลือกโครงการภายใต้คณะทำงานต่าง ๆ ที่มีความเป็นไปได้ ในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกันชัดเจน ประมาณ 2-3 โครงการ อาทิ ด้านประมง การท่องเที่ยว และการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน และให้มีการจัดตั้งกองทุนพิเศษ (Special Fund) โดยใช้เงินก่อตั้งจากเงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในการบริหารของสำนักเลขาธิการ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินโครงการ โดยให้สำนักงานเลขาธิการจัดทำเอกสารแนวทางการใช้เงินกองทุนมาพิจารณา และในอนาคตอาจขอให้ประเทศสมาชิกจ่ายเงินสมทบกองทุนโดยสมัครใจ รวมทั้งอาจหาเงินสมทบจากแหล่งเงินทุนภายนอกด้วย

กลไกการทำงาน ได้แก่

1. สภารัฐมนตรี IORA (Council of Ministers – COM) เดิมกำหนดให้ประชุมทุก 2 ปี ต่อมาเมื่อปี 2546 ประเทศสมาชิกเห็นชอบให้มีการประชุมทุกปี ที่ผ่านมามีการประชุมแล้วทั้งหมด 10 ครั้ง  การประชุมครั้งล่าสุดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ก.ค. – 5 ส.ค. 2553 ที่กรุงซานา ประเทศเยเมน และอินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งต่อไป

2. คณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโส IORA (Committee of Senior Officials – CSO) มีหน้าที่ทบทวนการดำเนินงานตามมติของสภารัฐมนตรีฯ โดยประสานกับคณะทำงานภาควิชาการ ธุรกิจ และการค้าและการลงทุน ของ IORA จัดประชุม ปีละ 2 ครั้ง

3. สำนักเลขาธิการ IORA มีหน้าที่ประสานงานกับประเทศสมาชิก และติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานต่าง ๆ

4. คณะทำงาน 3 ฝ่าย ได้แก่ (1) สภาธุรกิจ IORA (Indian Ocean Rim Business Forum – IORBF) (2) คณะทำงานภาควิชาการ IORA (Indian Ocean Rim Academic Group – IORAG) และ (3) คณะทำงานด้านการค้าและการลงทุน (Working Group on Trade and Investment – WGTI) ซึ่งคณะทำงานทั้งสามจะประสานกับ CSO และสำนักเลขาธิการ ในการพิจารณาดำเนินงานโครงการต่าง ๆ

5. National Focal Points ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศแต่งตั้งหน่วยงานหนึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานของ IORA เพื่อประสานงานและติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการต่างๆ

6. คณะทำงานของหัวหน้า สอท. ประเทศสมาชิก IORA (Working Group of Heads of Missions – WGHM) ซึ่งเป็นการประชุมระหว่าง ออท. ของประเทศสมาชิกที่ประจำการอยู่ในแอฟริกาใต้ จัดขึ้นที่กรุงพริทอเรีย ที่ผ่านมามีการประชุมทั้งหมด 13 ครั้ง โดยสาระสำคัญการประชุมเป็นการรายงานและติดตามความคืบหน้าโครงการต่าง ๆ ของ IORA

 

บทบาทของไทย

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2546 ครม. ได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยกรอบสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Cooperation: IOR-ARC) โดยมีอำนาจหน้าที่หลักในการเสนอแนะนโยบาย แนวทาง และท่าทีของไทยในการเข้าร่วมกระบวนการหารือ การที่ไทยมีส่วนร่วมใน IOR-ARC นับว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกที่มีถึง 18 ประเทศ จากหลายภูมิภาครอบมหาสมุทรอินเดีย และเป็นเวทีที่ไทยสามารถแสดงบทบาทในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาได้ดีอีกเวทีหนึ่ง โดยไทยสามารถแบ่งปันประสบการณ์ของไทยในเวทีอื่น ๆ เช่น ASEAN APEC และ BIMSTEC ได้ด้วย

ยุทธศาสตร์ของไทย/ประเด็นที่ไทยผลักดัน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา IORA ไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากการประสานงานระหว่างกลไกการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคเอกชน รวมถึงการประสานงานด้านข้อมูลข่าวสารระหว่าง สำนักงานเลขาธิการกับประเทศสมาชิกยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ จึงทำให้มีการกำหนดหัวข้อโครงการศึกษาซ้ำซ้อนและไม่เอื้อประโยชน์ต่อกัน ไม่สามารถดำเนินการให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้ รวมทั้งประสบปัญหาด้านเงินทุน กอปรกับอิหร่านยังถูกคว่ำบาตรจากสหประชาชาติ อีกทั้งประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมือนี้มาก นัก โดยมักจะไม่ส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมที่สำคัญ ทำให้โครงการความร่วมมือส่วนใหญ่ไม่มีความคืบหน้า และหลายโครงการต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากความพร้อมของประเทศเจ้าภาพ หรือการขาดความสนใจของประเทศสมาชิกที่จะเข้าร่วม

บทบาทของกรมประมง

ให้ความร่วมมือในการประสานข้อมูล ความคิดเห็นด้านการประมงระดับประเทศทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ตลอดจนส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง

 Tags

  •   Hits
  • วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. การประชุมเตรียมการเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศ The 5th International Technical and Conference and Exposition on Tilapia  วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. การประชุมเตรียมการเพื่อเป็นเจ... จำนวนผู้อ่าน 108  การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ  จำนวนผู้อ่าน 96 วันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการรับคณะเจ้าหน้าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (FAO Regional Office for Asia and the Pacific)  วันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการรับคณะเจ้าหน้าที่องค์การอา... จำนวนผู้อ่าน 85 วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 15.30 การหารือระหว่างกรมประมงและกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ในประเด็นการขอตัวอย่างสัตว์น้ำจากสาธารณรัฐกานา วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 15.30 การหารือระหว่างกรมประมงและกรมเอเชียใต้ ตะว... จำนวนผู้อ่าน 71 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ  จำนวนผู้อ่าน 68 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมยกย่องผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงาน กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมยกย่องผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงาน  จำนวนผู้อ่าน 68 การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM  จำนวนผู้อ่าน 67 กิจกรรมการแต่งกายด้วยเครื่องแบบทุกวันจันทร์และการแต่งกายชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและวันศุกร์ กิจกรรมการแต่งกายด้วยเครื่องแบบทุกวันจันทร์และการแต่งกายชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและ... จำนวนผู้อ่าน 58 อยู่ระหว่างการทดสอบ อยู่ระหว่างการทดสอบ  จำนวนผู้อ่าน 57 ตราสัญลักษณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ครบรอบ 133 ปี ตราสัญลักษณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและส... จำนวนผู้อ่าน 53 Advancing Sustainable Fisheries with Digital Technologies: The Gulf of Thailand Advancing Sustainable Fisheries with Digital Technologies: The Gulf of Thailand  จำนวนผู้อ่าน 47 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น.  การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง ครั้งที่ 24 (The 24th Ocean and Fisheries Working Group หรือ The 24th OFWG)  วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะทำง... จำนวนผู้อ่าน 40 วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น การประชุมหารือสำหรับการตอบแบบสอบถามของโครงการจากเขตเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น การประชุมหารือสำหรับการตอบแบบสอบถามของโครง... จำนวนผู้อ่าน 37 วันที่ 11 เมษายน 2568 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม : กตัญญู สืบสานประเพณีไทย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่  วันที่ 11 เมษายน 2568 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม : กตัญญู สืบสา... จำนวนผู้อ่าน 37 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.30 น. การประชุมหารือโครงการ Workshop on Small Scale Marine Fisheries Data Collection for Fisheries Management in ASEAN ร่วมกับกรมอาเซียน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.30 น. การประชุมหารือโครงการ Workshop on Small ... จำนวนผู้อ่าน 30


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองประมงต่างประเทศ

    รายละเอียด อาคารกองประมงต่างประเทศ กรมประมง เกษตรกลาง 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900   Fisheries Foreign Affairs Division Building Department of Fisheries, Kaset Klang 50 Phahonyothin Rd, Lat Yao, Chatuchak, Bangkok 10900  email  thaidoffifad01@gmail.com  โทรศัพท์ +66 2 579 7940  FAX +66 2 579 7940  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6