แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย – ไทย (IMT-GT)

 กองประมงต่างประเทศ


แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย – ไทย (IMT-GT) 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย – ไทย (IMT-GT)

แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย – ไทย (Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle : IMT - GT)

ภูมิหลัง

แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 2536 โดยผู้นำทั้ง 3 ประเทศได้เห็นชอบที่จะให้ผลักดันการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในลักษณะไตรภาคี ระหว่างภาคใต้ของไทย ภาคเหนือของมาเลเซีย และพื้นที่บนเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย พื้นที่ความร่วมมือประกอบด้วย พื้นที่เกือบทั้งหมดของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ได้แก่ แคว้นอาเจะห์ จังหวัดสุมาตราเหนือ จังหวัดสุมาตราตะวันตก จังหวัดสุมาตราใต้ จังหวัดบังกูลู จังหวัดเรียวและจังหวัดจัมบี พื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันตกของมาเลเซีย ได้แก่ เคดาห์ เปรัก ปีนัง เปอร์ลิส เซลังงอร์ และกลันตัน และพื้นที่ 8 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ได้แก่ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช

 

วัตถุประสงค์

1) ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง 3 ประเทศ ให้มีการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้น ความร่วมมือด้านการผลิต การส่งเสริมการลงทุน

2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

3) การพัฒนาการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงข่ายคมนาคม ขนส่งและระบบสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ

โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้และกำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง 3 ประเทศ ให้มีการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นความร่วมมือด้านการผลิต การส่งเสริมการลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของพื้นที่ IMT - GT นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงข่ายคมนาคมขนส่งและระบบสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ

 

กลไกการทำงานของ IMT - GT

มีกลไกการดำเนินงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กล่าวคือ

1. การประชุมไตรภาคีระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรี ซึ่งจัดขึ้นทุกปี เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานของโครงการความร่วมมือต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยประสานงานกลางของไทยและมีกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ร่วมสนับสนุน

2. การประชุมสภาธุรกิจร่วมสามฝ่าย เป็นการประชุมของภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศ โดยจะจัดการประชุมก่อนการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแผนงานโครงการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน มีสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ของไทยเป็นผู้ประสานงานกลาง

ที่ผ่านมา IMT-GT ได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกรอบความร่วมมือให้กระชับและเน้นไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบของแนวพื้นที่สะพานเศรษฐกิจ สงขลา-ปีนัง-เมดาน (Seamless Songkhla-Penang-Medan Economic Development Corridor) ภายใต้การกำหนดประเด็นความร่วมมือบนพื้นฐานของการเชื่อมโยงศักยภาพการพัฒนาของพื้นที่สะพานเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ เพื่อให้เป็นฐานเศรษฐกิจหลักที่สนันสนุนและกระจายการพัฒนาไปสู่พื้นที่ต่อเนื่องใน IMT-GT ต่อไป โดยในปัจจุบันแนวทางดำเนินการแผนงาน ได้เน้นความร่วมมือตามแผนงานและโครงการที่ภาคเอกชนสนใจอย่างแท้จริงและเป็นโครงการที่ปฏิบัติได้โดยไม่ขัดผลประโยชน์แห่งชาติสมาชิก ซึ่งมีกรอบการพิจารณาแผนงาน/โครงการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนการอำนวยความสะดวกและปรับกฎระเบียบโดยภาครัฐ ซึ่งสาระสำคัญของการพัฒนาความร่วมมือได้แบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้

1. การค้าและการลงทุน

2. การเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

3. การท่องเที่ยว

4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม

5. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

6. ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล

แบ่งเป็นการดำเนินการ 6 ระดับ ได้แก่

1.การประชุมระดับสุดยอดผู้นำ IMT-GT (Leaders' Summit) เป็นองค์กรสูงสุดในระบบการตัดสินใจของกรอบ IMT-GTกำหนดเป้าหมายหลักและทิศทางความร่วมมือตามกรอบ IMT-GT

2.ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministers' Meeting: MM) เป็นหน่วยประสานงานที่มีความสำคัญลำดับที่สองในด้านการกำหนดทิศทาง และการเป็นองค์กรการตัดสินใจของกรอบ IMT-GT โดยเป็นผู้รายงานต่อที่ประชุมระดับสุดยอดผู้นำ IMT-GT

3.ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials' Meeting: SOM) เป็นองค์กรประสานงานของแผนงาน IMT-GT ในทุกภารกิจ โดยรายงานต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี จัดเตรียมและนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตาม IMT-GT Roadmap ต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี

4.คณะทำงาน (Working Groups) ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานมาตรการความร่วมมือต่างๆ ในแต่ละสาขาความร่วมมือ และเป็นผู้จัดการประชุมระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการตัดสินใจในการนำมาตรการต่างๆไปปฏิบัติ จัดเตรียมแผนดำเนินงานเพื่อการผลักดันยุทธศาสตร์ภายใต้ Roadmap และทบทวนมาตรการดำเนินงานของ IMT-GT เป็นระยะ เพื่อความชัดเจนในด้านความสอดคล้องกับแนวยุทธศาสตร์ตาม Roadmap

5.ศูนย์การประสานงานและติดตามผล (Coordination and Monitoring Center: CMC) จัดทำรายงานเสนอที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และเป็นหน่วยงานกลางในการติดตามผลและประสานงานในกิจกรรมของภาครัฐในกรอบ IMT-GT

6.ฝ่ายเลขานุการระดับชาติ (National Secretariats) เป็นผู้ร่วมดำเนินงานในระดับชาติกับศูนย์การประสานงานและติดตามผล หรือ CMC โดยทำหน้าที่ประสานงานภายในประเทศกับภาคเอกชนในกิจกรรม IMT-GT

 

บทบาทของไทย

-การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ IMT-GT ของไทย มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่นานาชาติซึ่งในเบื้องต้นหมายรวมถึง 5 จังหวัด คือ สงขลา สตูล ปัตตานียะลา และนราธิวาส เพื่อเพิ่มการค้าการลงทุน เพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น และสามารถให้แรงงานเข้าไปทำงานในมาเลเซียได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบในสาขาการค้าและการลงทุนของไทยได้มีการดำเนินงาน ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมศุลกากร เพื่อผลักดันโครงการต่าง ๆ ของประเทศไทยในสาขาการค้าและการลงทุน

 

บทบาทของกรมประมง

-ให้ความร่วมมือในการประสานข้อมูล ความคิดเห็นด้านการประมงระดับประเทศทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ตลอดจนส่งผูแทนเข้าร่วมประชุมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง

 

ที่มา

สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ

สำนักความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

 Tags

  •   Hits
  • วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. การประชุมเตรียมการเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศ The 5th International Technical and Conference and Exposition on Tilapia  วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. การประชุมเตรียมการเพื่อเป็นเจ... จำนวนผู้อ่าน 101  การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ  จำนวนผู้อ่าน 86 วันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการรับคณะเจ้าหน้าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (FAO Regional Office for Asia and the Pacific)  วันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการรับคณะเจ้าหน้าที่องค์การอา... จำนวนผู้อ่าน 75 วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 15.30 การหารือระหว่างกรมประมงและกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ในประเด็นการขอตัวอย่างสัตว์น้ำจากสาธารณรัฐกานา วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 15.30 การหารือระหว่างกรมประมงและกรมเอเชียใต้ ตะว... จำนวนผู้อ่าน 63 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมยกย่องผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงาน กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมยกย่องผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงาน  จำนวนผู้อ่าน 60 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ  จำนวนผู้อ่าน 58 การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM  จำนวนผู้อ่าน 58 รายชื่อผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในการรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานเดินเรือปฏิบัติงาน รายชื่อผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในการรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั... จำนวนผู้อ่าน 50 กิจกรรมการแต่งกายด้วยเครื่องแบบทุกวันจันทร์และการแต่งกายชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและวันศุกร์ กิจกรรมการแต่งกายด้วยเครื่องแบบทุกวันจันทร์และการแต่งกายชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและ... จำนวนผู้อ่าน 50 อยู่ระหว่างการทดสอบ อยู่ระหว่างการทดสอบ  จำนวนผู้อ่าน 46 ตราสัญลักษณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ครบรอบ 133 ปี ตราสัญลักษณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและส... จำนวนผู้อ่าน 46 Advancing Sustainable Fisheries with Digital Technologies: The Gulf of Thailand Advancing Sustainable Fisheries with Digital Technologies: The Gulf of Thailand  จำนวนผู้อ่าน 36 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น.  การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง ครั้งที่ 24 (The 24th Ocean and Fisheries Working Group หรือ The 24th OFWG)  วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะทำง... จำนวนผู้อ่าน 34 วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น การประชุมหารือสำหรับการตอบแบบสอบถามของโครงการจากเขตเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น การประชุมหารือสำหรับการตอบแบบสอบถามของโครง... จำนวนผู้อ่าน 31 วันที่ 11 เมษายน 2568 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม : กตัญญู สืบสานประเพณีไทย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่  วันที่ 11 เมษายน 2568 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม : กตัญญู สืบสา... จำนวนผู้อ่าน 28


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองประมงต่างประเทศ

    รายละเอียด อาคารกองประมงต่างประเทศ กรมประมง เกษตรกลาง 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900   Fisheries Foreign Affairs Division Building Department of Fisheries, Kaset Klang 50 Phahonyothin Rd, Lat Yao, Chatuchak, Bangkok 10900  email  thaidoffifad01@gmail.com  โทรศัพท์ +66 2 579 7940  FAX +66 2 579 7940  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6