ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC)

 กองประมงต่างประเทศ


ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC)

ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC)

ที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการ BIMSTEC

ตั้งอยู่ ณ กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านบริหารของกรอบความร่วมมือ BIMSTEC

 

ภูมิหลัง

BIMSTEC เป็นกรอบความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจระหว่าง 7 ประเทศในภูมิภาคอ่าวเบงกอล ประกอบด้วย บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย เกิดขึ้นจากการริเริ่มของไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540

วัตถุประสงค์

BIMSTEC เป็นกรอบความร่วมมือเดียวที่เชื่อมเอเชียใต้เข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ไทยและ เมียนมาเป็นประเทศอาเซียน 2 ประเทศที่เป็นสมาชิก BIMSTEC ทำให้ไทยอยู่ในสถานะเป็นสะพานเชื่อมโยงอนุภูมิภาคทั้งสองและเป็นกลไกหนึ่งที่ไทยสามารถขยายความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดีย โดยเอเชียใต้เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีแหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรที่สำคัญต่างๆ อยู่มาก อาทิ ก๊าซธรรมชาติ และศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ และอินเดียจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งในอนาคต

BIMSTEC มีสาขาความร่วมมือ 14 สาขา ประกอบด้วย

1. สาขาการค้าและการลงทุน (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)

2. สาขาการคมนาคมและการสื่อสาร (อินเดียเป็นประเทศนำ)

3. สาขาพลังงาน (พม่าเป็นประเทศนำ)

4. สาขาการท่องเที่ยว (อินเดียเป็นประเทศนำ)

5. สาขาเทคโนโลยี (ศรีลังกาเป็นประเทศนำ)

6. สาขาประมง (ไทยเป็นประเทศนำ)

7. สาขาเกษตร (พม่าเป็นประเทศนำ)

8. สาขาสาธารณสุข (ไทยเป็นประเทศนำ)

9. สาขาการลดความยากจน (เนปาลเป็นประเทศนำ)

10. สาขาการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)

11. สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)

12. สาขาวัฒนธรรม (ภูฏานเป็นประเทศนำ)

13. สาขาปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน (ไทยเป็นประเทศนำ)

14. สาขาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)

กลไกการทำงานของ BIMSTEC

กลุ่ม BIMSTEC ถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพ โดยมีประชากรรวมถึง 1,300 ล้านคน แต่ปัจจุบันยังมีการค้า การลงทุน และการเดินทางติดต่อระหว่างกันค่อนข้างน้อย ทำให้ยังมีโอกาสและลู่ทางในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้าการลงทุนนั้น ประเทศสมาชิกได้ลงนามในกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMSTEC แล้ว และทุกประเทศได้เสร็จสิ้นกระบวนการภายในประเทศสำหรับการให้สัตยาบันแล้วเช่นกัน

การประชุม BIMSTEC มีความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิก 5 ระดับ คือ

1.การประชุมสุดยอด (BIMSTEC Summit)

2.การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting)

4.การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งมี 2 ด้าน คือ ด้านการค้าและเศรษฐกิจ (Senior Trade/Economic Official Meeting: STEOM) และด้านต่างประเทศ (Senior Official Meeting: SOM)

5.การประชุมคณะทำงาน Bangkok Working Group: BWG และการประชุมรายสาขาและสาขาย่อยประเทศนำ (Lead Country)

นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชน ผ่านการจัดประชุม Business Forum ปีละ 1 ครั้ง และการประชุมระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชนในกรอบ Economic Forum

บทบาทของไทย

BIMSTEC ประสานนโยบาย Look West ของไทยเข้ากับนโยบาย Look East ของอินเดีย และช่วยเน้นจุดยืนนโยบายต่างประเทศแบบ Forward Engagement ของรัฐบาลปัจจุบันที่มุ่งเน้นกระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรเดิม และบุกเบิกความสัมพันธ์กับพันธมิตรใหม่ๆ นอกจากนี้ ความร่วมมือที่ประสานจุดแข็งของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันใน BIMSTEC ก็เป็นการส่งเสริมความริเริ่มของไทยที่นำมาใช้ได้ผลเป็นที่ยอมรับในหลายเวที ทั้ง ACD และ ACMECS ซึ่งความสำเร็จในเวทีนี้ ก็จะเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (south-south cooperation) ที่จะทำให้ไทยมีบทบาทสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศต่อไป ไทยสนับสนุนความร่วมมือในกรอบ BIMSTEC ซึ่งไทยเป็นประเทศนำในสาขาประมง สาธารณสุข และการปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือ BIMSTEC เป็นการเชื่อมสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกรอบความร่วมมือที่ไทยมีบทบาทในฐานะประเทศ ASEAN เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างอนุภูมิภาคทั้งสองภูมิภาค

ที่มา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

บทบาทของกรมประมง

ที่ผ่านมาไทยได้ดำเนินโครงการความร่วมมืออย่างสม่ำเสมอ อาทิ

-โครงการ BIMSTEC Workshop on Fisheries Cooperation ที่ภูเก็ต ๘-๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐

-โครงการสำรวจทรัพยากรใต้ทะเลอ่าวเบงกอล (Ecosystem-Based Fishery Management in the Bay of Bengal) ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐

-โครงการ BIMSTEC Fisheries Meeting on Sustainable Fisheries in the Bay of Bengal ระหว่าง ๒๐-๒๒ มกราคม ๒๕๕๒ ที่กรุงเทพฯ

-โครงการฝึกอบรม BIMSTEC International Training Program on Ornamental Aquatic Plants Propagation ระหว่าง ๑-๒๘ สิงหาคม๒๕๕๓

-โครงการฝึกอบรม BIMSTEC International Training Program on Aquatic Plants Tissue Culture ระหว่าง ๒๙ สิงหาคม-๒๗ กันยายน ๒๕๕๔

-โครงการฝึกอบรม BIMSTEC International Training Program on Aquatic Plants Soilless Culture and Post-Harvest Technology หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพรรณไม้น้ำ ปีที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๓๐ กรกฎาคม - ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

-โครงการฝึกอบรม BIMSTEC International Training Program on Advance Aquatic Plants Tissue Culture หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพรรณไม้น้ำ ปีที่ ๓ ในระหว่างวันที่ ๑๕ ตุลาคม – ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

กองส่งเสริมเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

มกราคม ๒๕๕๗

 Tags

  •   Hits
  • วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. การประชุมเตรียมการเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศ The 5th International Technical and Conference and Exposition on Tilapia  วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 น. การประชุมเตรียมการเพื่อเป็นเจ... จำนวนผู้อ่าน 108  การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ  จำนวนผู้อ่าน 96 วันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการรับคณะเจ้าหน้าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (FAO Regional Office for Asia and the Pacific)  วันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการรับคณะเจ้าหน้าที่องค์การอา... จำนวนผู้อ่าน 85 วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 15.30 การหารือระหว่างกรมประมงและกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ในประเด็นการขอตัวอย่างสัตว์น้ำจากสาธารณรัฐกานา วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 15.30 การหารือระหว่างกรมประมงและกรมเอเชียใต้ ตะว... จำนวนผู้อ่าน 72 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ  จำนวนผู้อ่าน 68 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมยกย่องผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงาน กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมยกย่องผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงาน  จำนวนผู้อ่าน 68 การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM  จำนวนผู้อ่าน 67 กิจกรรมการแต่งกายด้วยเครื่องแบบทุกวันจันทร์และการแต่งกายชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและวันศุกร์ กิจกรรมการแต่งกายด้วยเครื่องแบบทุกวันจันทร์และการแต่งกายชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและ... จำนวนผู้อ่าน 58 อยู่ระหว่างการทดสอบ อยู่ระหว่างการทดสอบ  จำนวนผู้อ่าน 57 ตราสัญลักษณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ครบรอบ 133 ปี ตราสัญลักษณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและส... จำนวนผู้อ่าน 53 Advancing Sustainable Fisheries with Digital Technologies: The Gulf of Thailand Advancing Sustainable Fisheries with Digital Technologies: The Gulf of Thailand  จำนวนผู้อ่าน 47 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น.  การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง ครั้งที่ 24 (The 24th Ocean and Fisheries Working Group หรือ The 24th OFWG)  วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมคณะทำง... จำนวนผู้อ่าน 40 วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น การประชุมหารือสำหรับการตอบแบบสอบถามของโครงการจากเขตเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ วันพุธที่ 29 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น การประชุมหารือสำหรับการตอบแบบสอบถามของโครง... จำนวนผู้อ่าน 37 วันที่ 11 เมษายน 2568 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม : กตัญญู สืบสานประเพณีไทย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่  วันที่ 11 เมษายน 2568 กองประมงต่างประเทศจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม : กตัญญู สืบสา... จำนวนผู้อ่าน 37 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.30 น. การประชุมหารือโครงการ Workshop on Small Scale Marine Fisheries Data Collection for Fisheries Management in ASEAN ร่วมกับกรมอาเซียน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.30 น. การประชุมหารือโครงการ Workshop on Small ... จำนวนผู้อ่าน 30


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กองประมงต่างประเทศ

    รายละเอียด อาคารกองประมงต่างประเทศ กรมประมง เกษตรกลาง 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900   Fisheries Foreign Affairs Division Building Department of Fisheries, Kaset Klang 50 Phahonyothin Rd, Lat Yao, Chatuchak, Bangkok 10900  email  thaidoffifad01@gmail.com  โทรศัพท์ +66 2 579 7940  FAX +66 2 579 7940  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6