ตามที่จังหวัดสกลนคร โดยสำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร ได้จ้างเหมาบริการคนพิการบันทึกข้อมูลเกษตรกร โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ผู้เสนอราคาที่ชนะการจ้าง ได้แก่ นายศักดิ์สิทธิ์ ก้อนเพ็ชร ผู้พิการประเภท 3 การเคลื่อนไหว โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น 11,895 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันแปดร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน) รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคมhttps://www4.fisheries.go.th/local/pic_activities/201907101343321_pic.pdf
ในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝน หลายพื้นที่ฝนตกหนักมีน้ำท่วมขัง ดินโคลนชื้นแฉะ ประชาชนที่ต้องสัมผัสดินและเดินลุยน้ำเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้ป่วยด้วยโรคฉี่หนู หรือเปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) ซึ่งเชื้อโรคมักจะปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำขัง พื้นดินโคลน หรือพื้นที่มีหนูอาศัยอยู่ชุกชุม เช่น ตลาด คันนา สวน รวมทั้งในบ้าน โดยเชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล รอยขีดข่วน ผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน หรือเยื่อบุตา รวมถึงอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ แนะนำวิธีป้องกันให้ประชาชน โดยไม่ย่ำน้ำท่วมขัง ดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า สวมรองเท้าบู๊ท ถุงพลาสติกสะอาด หรือวัสดุที่กันน้ำได้เพื่อป้องกันเท้าสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง หมั่นดูแลทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ ล้างมือ ล้างเท้า และเช็ดให้แห้งหลังลุยน้ำ ควรเก็บอาหารและน้ำดื่มให้มิดชิด เลี่ยงการรับประทานอาหาร เครื่องดื่มโดยใช้ปากสัมผัสโดยตรงจากกระป๋องหรือขวด เนื่องจากอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน และสำหรับเกษตรกรผู้ที่ต้องสัมผัสมูลสัตว์หรือสิ่งสกปรก ควรล้างมือและอาบน้ำชำระร่างกายทันทีหลังเสร็จจากการทำงาน ควรกำจัดขยะและเศษอาหารในบ้านเรือนรวมถึงสถานที่ทำงานให้สะอาดเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
โดยผู้ป่วยโรคฉี่หนูจะมี ลักษณะอาการ คือ มีไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่น่องและโคนขา บางรายอาจมีอาการปวดหัว ตาแดง แต่จะมีบางส่วนซึ่งมีอาการรุนแรง เช่น มีอาการไตวาย (ปัสสาวะไม่ออก) ตับวาย (ตัวเหลือง ตาเหลือง) อาจมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด และช็อค (ไม่รู้สึกตัว) ในหลายครั้งผู้ป่วยจะรอให้มีอาการหนักแล้วจึงมารักษาทำให้ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิต จึงขอให้ผู้ที่มีอาการดังกล่าว รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการลุยน้ำให้ทราบ เพื่อประเมินการรักษาได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงติดโรคสูง ที่สำคัญอย่าซื้อยากินเอง เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ประชาชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ขณะนี้หลายภูมิภาคมีฝนตกและลมกรรโชกแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ต้นไม้ล้มทับเส้นทาง ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่งและการสัญจรของประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ดังนั้น เพื่อป้องกันและบรรเทาสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น กรมทางหลวง จึงสั่งการให้สำนักงานทางหลวง ศูนย์สร้างทาง ศูนย์สร้างและบูรณะสะพาน และแขวงทางหลวงทั่วประเทศ ดำเนินการตรวจสอบสภาพความเรียบร้อยของผิวทาง ไม่ให้มีหลมบ่อ สำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ สะพาน ระบบระบายน้ำ ร่องน้ำในเขตทางให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน และดำเนินการขุดลอกร่องน้ำบริเวณสองข้างทาง ทำความสะอาดอาคารระบายน้ำ กำจัดเศษขยะ วัชพืชไม่ให้กีดขวางทางระบายน้ำ และตัดแต่งกิ่งไม้ รวมถึง จัดเตรียมเครื่องจักร ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ สิ่งอำนวยความปลอดภัย อาทิ ป้ายจราจร หลักนำทางไฟกระพริบ ให้สามารถใช้งานได้ทันที
ในกรณีเมื่อเกิดภัยพิบัติได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด เมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงหรือมีความจำเป็นเร่งด่วน ผู้บริหารในพื้นที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาทันทีจนกว่าสถานการณ์จะยุติ หากเกิดเหตุทางขาด สะพานขาดหรือชำรุดให้แต่ละหน่วยงานบูรณาการระหว่างกันเพื่อสนับสนุนเจ้าหน้าที่ เครื่องจักร และสะพานเบลีย์ เข้าดำเนินการแก้ไขโดยทันที พร้อมทั้งติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ การเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ปรับปรุงดูแลทางเดินเท้าให้สะอาด ปลอดภัยต่อการใช้งานในช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชน โรงเรียนและโรงพยาบาล ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจรบนถนนทางหลวงในพื้นที่ประสบอุทกภัย และขอรับความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุบนทางหลวง ได้ที่ สายด่วนกรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ โดยตั้งเป้าหมายภมยในปี 2565 ป้ญหาอ้อยไฟไหม้จะต้องหมดไป ประกอบด้วย
มาตรการทางกฎหมาย กำหนดให้โรงงานน้ำตาลลดสัดส่วนการรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบลง ในฤดูการผลิตปี 2562/2563 กำหนดให้โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกินร้อยละ 30 ต่อวัน สำหรับในฤดูการผลิต ปี 2563/2564 โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อวัน และในฤดูการผลิตปี 2564/2565 จะลดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเพียงร้อยละ 0-5 ต่อวัน ซึ่งจะทำให้อ้อยไฟไหม้หมดไปภายใน 3 ปี
มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งจะขยายโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรปี 2562-2564 รวมทั้งจะนำเสนอมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตรถตัดอ้อยไทยด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตและจำหน่ายให้เพียงพอกับความต้องการและส่งเสริมการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยการใช้รถตัดอ้อย และเครื่องจักรกลการเกษตรอื่น ๆ นำไปจดทะเบียนเครื่องจักรตามกฎหมายกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อนำไปเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันกับแหล่งเงินกู้ได้อีกด้วย พร้อมทั้งสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคลและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ วงเงินกู้ปีละ 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท จากธนาคารเพื่อการเกษตรแและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยใช้จากวงเงิน 10,000 ล้านบาท ของเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการปลูกอ้อย ทั้งยังให้การช่วยเหลือในการจัดหาแหล่งน้ำสำรองในการบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดภัยแล้ง การนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรมาใช้เพื่อลดการสูญเสียและลดต้นทุนในระยะยาว ส่งผลให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในไร่อ้อย และสอดคล้องกับเป้าหมายในการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร
มาตรการขอความร่วมมือด้านการบริหารจัดการ เพื่อเป็นต้นแบบการเก็บเกี่ยวและการขนส่งอ้อยให้โรงงาน โดยความร่วมมือจากโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิต ปี 2562/2563 เพื่อกำหนดพื้นที่ปลอดการเผาอ้อยเป็นจังหวัดต้นแบบปลอดการเผาอ้อย ตัดอ้อยสด 100% ในแต่ละภาค รวม 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเลย และจังหวัดอุตรดิตถ์ การจัดการพื้นที่ลดการเผาอ้อยรอบชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร และรอบโรงงานน้้ำตาลในรัศมี 10 กิโลเมตร และการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดคิวรับอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้
จากการที่ประเทศไทยมีการทำการประมงที่ผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) สหภาพยุโรปจึงได้ประกาศให้ใบเหลืองประเทศไทย เมื่อเดือน เมษายน 2558 ซึ่งประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรป ถือเป็นการประกาศเตือนการทำการประมงที่ผิดกฎหมายของประเทศไทย เพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานการทำประมงของประเทศไทย ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าประมงที่จับโดยเรือไทยในตลาดของสหภาพยุโรป รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาของดังกล่าว จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่องในทุกด้านและทุกมิติ จากผลการดำเนินการดังกล่าว สหภาพยุโรปได้ประกาศปลดสถานะใบเหลืองของภาคประมงไทยเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหภาพยุโรปให้การยอมรับต่อความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของไทยจนประสบความสำเร็จ ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปการประมงของไทยทั้งระบบ และยกระดับอุตสาหกรรมการประมงของไทยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของภาคการประมง ประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ในการดำเนินการระยะต่อไป ทั้งสหภาพยุโรปและไทยเห็นชอบร่วมกันในแผนงานความร่วมมือเพื่อให้ไทยบรรลุการเป็นประเทศปลอดประมงผิดกฎหมายฯ หรือ IUU-free ได้โดยสมบูรณ์ด้วย 6 ภารกิจ คือ
ด้านที่ 1 ด้านกฎหมาย เพื่อความเข้มงวดจาก พ.ร.ก.การประมง 2558 ให้เป็นพระราชบัญญัติ แต่อาจงดเว้นโทษทางอาญา
ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการประมงให้เกิดความสมดุล ไม่ให้มีการทำประมงเกินกว่าธรรมชาติจะสามารถผลิตทดแทนได้ทัน
ด้านที่ 3 ด้านการบริหารจัดการกองเรือ ได้ปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น โดยปรับปรุงท่าเทียบเรือ และเรือประมงพื้นบ้าน 27,000 ลำ ต้องสร้างอัตลักษณ์เรือ
ด้านที่ 4 ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคตที่จะยืนยันถึงประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา
ด้านที่ 5 ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ ติดตั้งระบบติดตามเรือและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศคู่ค้าว่าสินค้าประมงไทยปลอดประมงผิดกฎหมาย
ด้านที่ 6 ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ต้องเคารถกฎหมายเพราะเป็นกฎหมายของไทยเองและไม่เข้งมงวดเกินไป สามารถปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสม เช่น การกรอกข้อมูลแรงงานประมง คนเดินเรือต่าง ๆ จะให้ทำเท่าที่จำเป็นและควบคุมได้ หรือกรณีวันทกประมงที่ถูกควบคุม หากจำนวนปลาเพิ่มขึ้นก็จะเพิ่มวันให้ เช่น ปี 2559 เพิ่มจำนวนวันให้เรือประมงอวนลากฝั่งอ่าวไทย จาก 225 วัน เป็น 240 วัน และในปี 2561 ก็เพิ่มวันทำประมงให้เช่นกัน
ซึ่งรัฐบาลคาดว่าการดำเนินการทั้ง 6 ภารกิจดังกล่าว จะมีเป็นผลดีทั้งชาวประมงรวมถึงการส่งออกสินค้าประมงของไทย และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากชาวประมงและผู้เกี่ยวข้องด้วยดีต่อไป
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 ประมงจังหวัดสกลนคร มอบหมายให้นางสาวศิริยาพร ปิยะนันท์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานประมงปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบอำเภอภูพาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานประมงจังหวัดสกลนครเข้าร่วมประชาคมหมู่บ้าน ในการกำหนดเขตที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ แหล่งน้ำ ห้วยวังอีด่อน ณ ศาลาวัดบ้านโคกภูเก่า ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
![]() |
วันที่ 25 เมษายน 2560 ประมงจังหวัดสกลนครได้มอบหมายให้ น.ส.ยุพเยาว์ สายจันทร์จัดกิจกรรม 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง ในพื้นที่ ตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร มีเกษตรกรเข้าร่วม 13 ราย ได้รับความร่วมมือจาก ปศุสัตว์อำเภอ เกษตรตำบล นายกาพร ใยวังหน้า ปราชญ์เกษตรกร และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรฯสกลนคร
วันที่ 17 มีนาคม 2560 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเขต 3 (สกลนคร) สนับสนุนพันธุ์ปลานิล จำนวน 108 ถุง เพื่อให้สำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร มอบแก่เกษตรกร โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ในพื้นที่อำเภอเจริญศิลป์และอำเภอบ้านม่วง โดยมีประมงอำเภอบ้านม่วง เกษตรอำเภอเจริญศิลป์ ปศุสัตว์อำเภอเจริญศิลป์ และปศุสัตว์อำเภอ ร่วมส่งมอบแก่เกษตรกร ทั้งนี้นายอำเภอบ้านม่วงได้เป็นเกียรติมอบให้แก่เกษตรกรทฤษฎีใหม่ในอำเภอบ้านม่วง พร้อมทั้งติดตามเยี่ยนเยียนแปลงเกษตรกรอีกด้วย