รัฐบาล...เปิดไฟเขียว “เพิ่มวันทำการประมง”
เยียวยาชาวประมง ช่วง COVID-19
จากกรณีชาวประมงยื่นหนังสือร้องเรียนที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้รัฐบาล ผ่อนผัน ยกเว้น การควบคุมวันทำการประมงของเรือประมงออกไปอย่างน้อย 2 ปี หรือ เพิ่มวันทำการประมง จากเดิม ปีละ 240 วัน (8 เดือน) เป็นปีละ 300 วัน (10 เดือน) เนื่องจากชาวประมงมีภาระค่าใช้จ่ายตลอดทั้งปี แต่เรือประมงต้องจอดเป็นเวลา 4 เดือน (120) วัน จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดทุนสะสม รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ขาดสภาพคล่องในอาชีพประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 จึงร้องขอให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาเป็นการเร่งด่วน
? นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ พิจารณามาตราการแก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง และต้องไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เช่น การเพิ่มสิทธิวันทำการประมงในรอบปีการทำประมงปัจจุบัน เป็นต้น
โดยล่าสุด (10 ก.พ.64) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่พี่น้องชาวประมง ควบคู่ไปกับการพิจารณาหามาตรการซึ่งจะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรประมงอย่างเหมาะสมและยั่งยืน โดยที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบในหลักการเรื่องการเพิ่มวันทำการประมงให้กับพี่น้องชาวประมง ในปีการประมง 2563 ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค.64 นี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ กรมประมงจึงได้นำปริมาณสัตว์น้ำที่ไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์จากวันทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ที่ออกทำการประมงแล้วมีวันทำการประมงเหลืออยู่ มาจัดสรรด้วยวิธีการคำนวณปริมาณสัตว์น้ำเป็นวันทำการประมง ให้กับผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตามแนวทาง ดังนี้
1. กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลาผิวน้ำ (เครื่องมืออวนล้อมจับ) จัดสรรวันทำการประมงเพิ่มให้เรือประมงทุกขนาด จำนวน 45 วัน
2. กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลากะตัก จัดสรรวันทำการประมงเพิ่มให้เรือประมงทุกขนาด จำนวน 45 วัน
3. กลุ่มเครื่องมือทำการประมงสัตว์น้ำหน้าดิน (เครื่องมืออวนลากทุกประเภท) จัดสรรวันทำการประมงเพิ่มให้ ดังนี้
• เรืออวนลากขนาดไม่เกิน 60 ตันกรอส เพิ่มวันทำการประมง 30 วัน
• เรืออวนลากขนาดเกินกว่า 60 ตันกรอส เพิ่มวันทำการประมง 20 วัน
? ทั้งนี้ เรื่องของการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง เป็นนโยบายสำคัญที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความห่วงใยและเน้นย้ำให้กรมประมงเร่งดำเนินการมาโดยตลอด ซึ่งกรณีการเพิ่มวันทำการประมงครั้งนี้ ท่านรัฐมนตรีฯ เห็นชอบให้กรมประมงออกประกาศ กรมประมงเพื่อเพิ่มวันทำการประมงให้ทันท่วงทีกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง
? สำหรับมาตรการการเพิ่มวันทำการประมงในครั้งนี้ จะเป็นมาตรการเพื่อเยียวยาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมงในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในรอบปีการทำการประมง 2563 เท่านั้น โดยหลังจากนี้ การเพิ่มวันทำการประมง จะดำเนินการภายใต้กลไกการควบรวมใบอนุญาตฯ และการยกสิทธิ์ทำการประมงต่อไป จึงขอให้ชาวประมงเชื่อมั่นว่ากรมประมง มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ จริงใจในการดำเนินการแก้ไขปัญหาภาคการประมงไทย และไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง แต่การจะออกประกาศใดๆ นั้น ต้องดำเนินการตามกระบวนการในการออกกฎหมายและสอดคล้องกับมาตรการในการควบคุมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรประมงควบคู่ไปกับวิถีความเป็นอยู่และอาชีพของพี่น้องชาวประมงที่มั่นคงยั่งยืนซึ่งจะเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ ท้ายนี้ ขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐมาโดยตลอด และมองเห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงเพื่อให้เกิดความยั่งยืน...อธิบดี กล่าว
บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไป
1.กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการและตำแหน่งช่างเครื่องเรือจักรกล
2.ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดพระนครศรีอยุทธยา กองตรวจการประมง ตำแหน่งนายท้ายเรือกลลำน้ำชั้น 1
3.สำนักงานประมงจังหวัดลพบุรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ
ประชาสัมพันธ์สำนักงานประมงจังหวัดสตูล
เรื่อง ขอให้ผู้เลี้ยงกุ้งทะเลยื่นคำขอใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์ การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ ( APD )
ด้วยกรมประมง มีนโยบายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมและผู้ประกอบการ เช่น แพซื้อกุ้งทะเล ผู้รวบรวมกุ้งทะเล สถานประกอบการ การแปรรูปกุ้งทะเลและการเลี้ยงเบื้องต้น โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ผู้ส่งออกกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยง ต้องจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำผ่านระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับซื้อขายสัตว์น้ำ (APD) เมื่อมีขั้นตอนการซื้อขายการส่งมอบกุ้งทะเล แก่บุคคลอื่น เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการด้านการประมงสามารถจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานประมงจังหวัดสตูล จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เกษตรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลจังหวัดสตูล และผู้ประกอบการด้านการประมง เกี่ยวกับการซื้อของทะเลจากการเพาะเลี้ยง มายื่นคำขอใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (APD) กุ้งทะเลได้ ณ สำนักงานประมงจังหวัดสตูล สำนักงานประมงอำเภอเมืองสตูล สำนักงานประมงอำเภอท่าแพ สำนักงานประมงอำเภอละงู สำนักงานประมงอำเภอทุ่งหว้า หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.074-772-201 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ประชาสัมพันธ์รับสมัครทำงานบนเรือประมง
หากคุณกำลังมองหา
งานที่ท้าทาย
ประสบการใหม่ๆ
รักการทำงานทางทะเล
ขณะนี้เรือประมงต้องการแรงงานจำนวนมาก
โดยจะได้รับค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด
.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>>https://drive.google.com/.../1vsSmZZW34mUmC56HXh25Ov.../view
วันที่ 23 พ.ย. 63 นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยนาวาตรีหญิงโนสมา หลีเส็น นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล นายโสภณ อ่อนคง ประมงจังหวัดสตูล ร่วมมอบเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ให้แก่ครอบครัวนายสุริยา เต๊ะปูยู สืบเนื่องจากเหตุการณ์เรือตรวจการของมาเลเซียพุ่งชนเรือประมงของราษฎรไทยเสียชีวิต (เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 63 ที่ผ่านมา)โดยมีนายอภิเชษฐ์ หนูชูสุข บุตรชายผู้เสียชีวิต เป็นผู้รับมอบ ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล (หลังใหม่)
กรมประมง เปิดรับสมัครชาวประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ เข้าร่วม “โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง” สามารถกู้เงินไปเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี (จ่ายเองร้อยละ 4 ต่อปี รัฐชดเชยให้ร้อยละ 3 ต่อปี) สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 – 25 พฤษภาคม 2564 ณ สำนักงานประมงจังหวัดชายทะเลทั้ง 22 จังหวัด และสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง
http://www4.fisheries.go.th/.../view_activities/1386/80349
โทร. 02 561 3353 ในวันเวลาราชการ
หรือ โทร. 074 772 201 (สำนักงานประมงจังหวัดสตูล)
จากกรณีที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รับประทานแมงดาทะเลที่หามาจากป่าชายเลนจนเกิดอาการแพ้และทำให้เสียชีวิต นั้น ล่าสุด...กรมประมงได้เร่งประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนให้ประชาชนได้เพิ่มความระมัดระวังในการเลือกรับประทาน แมงดาทะเลให้มากขึ้น เพราะหากบริโภคผิดชนิด อาจได้รับพิษรุนแรงอันตรายถึงตายได้
ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า แมงดาทะเลที่พบในน่านน้ำไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1. แมงดาจาน หรือ แมงดาทะเลหางเหลี่ยม ไม่มีพิษ สามารถรับประทานได้ ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าแมงดาถ้วย พื้นผิวด้านบนเรียบ มีสีน้ำตาลอมเขียว มีหางเหลี่ยม มีสันและหนามเรียงกันเป็นแถวคล้ายฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล วางไข่ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินทราย 2. แมงดาถ้วย หรือ แมงดาทะเลหางกลม หรือ เห-รา หรือ แมงดาไฟ มีพิษไม่สามารถรับประทานได้ ลำตัวโค้งกลม มีหางกลม ผิวด้านบนมีขนสั้น สีน้ำตาลอมแดง ต่อจากส่วนท้องมีหางค่อนข้างกลมไม่มีสันและไม่มีหนาม พบอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามคลองในป่าชายเลนฝั่งอ่าวไทยจะพบแมงดาทั้งสองชนิดนี้มากที่สุดตามพื้นที่แนวชายฝั่งของทะเลตั้งแต่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตลอดไปจนถึงชุมพรและฝั่งทะเลอันดามันตั้งแต่สตูลไปจนถึงระนอง
จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า สารพิษที่พบอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วยคือ สารเทโทรโดท็อกซิน (tetrodotoxin) และซาซิท็อกซิน (saxitoxin) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในปลาปักเป้า เป็นสารที่ส่งผล
ต่อระบบควบคุมการหายใจถึงขั้นเสียชีวิต โดยพิษในแมงดาถ้วยเกิดจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ 1.แมงดากินแพลงก์ตอนที่มีพิษ หรือกินสัตว์ทะเลอื่น ๆ ที่กินแพลงก์ตอนพิษเข้าไปทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดา 2. เกิดจากแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างพิษขึ้นมาได้เอง หรือสาเหตุประกอบกันทั้งสอง และที่สำคัญสารพิษทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นสารที่ทนต่อความร้อนได้ดี การปรุงอาหารด้วยความร้อนวิธีต่างๆ เช่น ต้ม ทอด หรือ อบ เป็นเวลานานมากกว่าชั่วโมงไม่สามารถทำลายสารพิษชนิดนี้ได้ ประชาชนจึงไม่ควรนำมาบริโภคอย่างเด็ดขาด
สำหรับผู้ได้รับพิษจากแมงดาทะเล อาการมักจะแสดงภายหลังรับประทานประมาณ 10 - 45 นาที หรืออาจช้าไปจนถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแหล่งที่อยู่อาศัยของแมงดา ฤดูกาล จำนวนที่รับประทาน หรือปริมาณของสารพิษที่ได้รับ เช่น รับประทานไข่แมงดาถ้วย อาการพิษจะเกิดรุนแรงกว่ารับประทานเฉพาะเนื้อ อาการมักเริ่มจากมึนงง รู้สึกชาบริเวณลิ้น ปาก ปลายมือ ปลายเท้าและมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจาก มือ แขน ขา ตามลำดับ รวมทั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางราย อาจมีน้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก พูดลำบาก ตามองเห็นภาพไม่ชัด ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจลำบากเนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมไม่ทำงาน ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ และสมองขาดออกซิเจน หากช่วยไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6 - 24 ชั่วโมง สำหรับวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับพิษ ให้ผู้ปฐมพยาบาลทำให้ผู้ป่วยหายใจคล่องที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด หากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการผายปอดจนกว่าจะถึงโรงพยาบาล ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้ำหรือยา เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการสำลักได้
ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ขอแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแมงดาทะเล แต่หากต้องการรับประทานขอให้เลือก แมงดาจาน โดยให้สังเกตลักษณะของหางตามที่กล่าวข้างต้น และงดรับประทานไข่แมงดาทะเลที่อยู่ในลักษณะบรรจุหีบห่อโดยไม่เห็นตัวและหางของแมงดาโดยเด็ดขาด เพราะเราไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าเป็นแมงดาชนิดไหน หรืออาจมีไข่แมงดาถ้วยปะปนอยู่ในไข่แมงดาจานหรือไม่ สำหรับพ่อค้า แม่ค้า ขอให้ท่านงดจำหน่ายไข่แมงดาทะเลหากไม่แน่ใจว่าเป็นไข่ที่มาจากแมงดาชนิดใดและขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการแยกชนิดพันธุ์แมงดาทั้ง 2 ชนิดจากลักษณะภายนอกให้แน่ชัดก่อนนำมาขายให้ผู้บริโภค หากพบแมงดาถ้วย หรือ เหรา ปะปนเข้ามาให้คัดทิ้งทันที กรณีท่านไม่สามารถแยกความแตกต่างของแมงดาทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ได้ สามารถสอบถามข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดใกล้บ้านท่าน หรือ Call Center กรมประมง โทร. 02 562 0600 ๏
เนื่องด้วยกรมประมงจัดทำระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการออกเครื่องหมายรับรองและการอนุญาตจำหน่ายสินค้าประมงเพื่อการบริโภคผ่านเว็บไซต์ Fisheries Shop พ.ศ. 2563 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 โดยผู้จำหน่ายสินค้าบนเว็บไซต์ Fisheries Shop ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับจะต้องยื่นคำขอภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่ระเบียบนี้ใช้บังคับ สามารถดาวโหลดระเบียบกรมประมงฯ ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/12c3aqnuRteOunC1RdW3ZestSsXVIW2_R/view?usp=sharing หรือ QR Code
ประชาสัมพันธ์ไปยังลูกจ้างในสังกัดกรที่ไม่มีสวัสดิการด้านประกันสังคม เช่น ลูกจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการ หรือลูกจ้างโครงการจ้างงานเร่งด่วนตามภารกิจ ตลอดจนประชาชน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ได้เข้าถึงการประกันสังคมโดยการสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ภาคสมัครใจ) แห่งพระราชบัญญัตติประกันสังคม พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีหลักประกันทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล
วันที่ 26 สิงหาคม 2563 จังหวัดสตูลร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดสตูล และองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จัดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ชุมชนพายเรือคลองดุสน หมู่ที่ 6 บ้านหัวสะพานเหล็ก ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล โดยมี นายทศพล สวัสดิสุข ปลัดจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธี และมีหัวหน้าส่วนราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา พ่อค้า ทหาร ตำรวจ ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากร และเพิ่มพูนปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น โดยได้รับสนับสนุนลูกพันธุ์สัตว์น้ำจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสตูล ได้แก่ ปลายี่สก ปลาบ้า และปลาลำปำ รวมจำนวนทั้งสิ้น 500,000 ตัว
ประชาสัมพันธ์ ผู้ที่มีคุณสมบัติและสนใจยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 8 กันยายน 2563 โดยสามารถดาวน์โหลดใบสมัครฯ ได้ที่เว็บไซต์กรมประมง www.fisheries.go.th และสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มเลขานุการคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง โทร 0 2558 0185
วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เวลา 11.00 น. สำนักงานประมงจังหวัดสตูล ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกรมประมงจังหวัดสตูล และเทศบาลตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จัดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 68 พรรษา ณ ศูนย์การเรียนรู้การเกษตรแปลงรวม คลองมำบัง ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและถวายเป็นราชกุศล อีกทั้งเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำ ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยมี นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธี และมีผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสตูล ทหาร ตำรวจ ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ ได้รับสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ (กุ้งก้ามกราม จำนวน 5 แสนตัว) จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสตูล
วันที่ 6 สค 63 เวลา 09.00- 15.00 น นายสุภกิจ เหรียญกิจการ ประมงอำเภอเมืองสตูล ร่วมกับ จนท.ประมงจาก สนง.ประมงจังหวัดสตูล และศูนย์วิจัยและพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสตูล ได้ชี้แจงโครงการเกษตรทฤษฏีใหม่( 5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฏีใหม่ ถวายในหลวง)ปีงบประม่ณ 2563 แก่เกษตรกรทั่เข้าร่วมโครงการ มีเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ ให้ตอบแบบสอบถาม และมอบพันธุ์ปลานิล ปลากระแก (ปลาลำปำ) 75 รายๆละ 1,000 ตัว รวมปลาทั้งสิ้น 75,000 ตัว เพื่อนำไปปล่อยเลี้ยงในโครงการ มีเกษตรกรจาก ต.ฉลุง ต.เกตรี ต.ควนโพธิ์ ต.คลองขุด ต.ควนขัน ต.เจ๊ะบิลัง ต.บ้านควน ีอ.เมือง จ.สตูล ซึ่งได้สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรได้อย่างดียิ่ง
วันที่ 12 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. นายสุภกิจ เหรียญกิจการ ประมงอำเภอเมืองสตูล ร่วมกิจกรรมจิตอาสา "วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2563 รักเอยรักลูก" เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชีนีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยร่วมกิจกรรปลูกต้นโกงกาง เก็บกวาดขยะ ตัดหญ้า ตักแต่งกิ่งต้นไม้ ปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชีนีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีจิจอาสาเข้าร่วม 214 คน ณ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บ้านตำมะลังใต้ ม.3 ต.ตำมะลัง อ.เมือง จ.สตูล โดยมีนางสาวพรรณี เพชรบุรี หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง รักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองสตูล เป็นประธานในพิธี
สามารถ Download ประกาศรับสมุครเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_blog2/1403/80727/2588
กรมประมง ขอเชิญประชาชนร่วมอุดหนุนสินค้าสัตว์น้ำ ผ่านระบบการสั่งจองสินค้าสัตว์น้ำออนไลน์รูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ “Fisheries Shop” เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำที่มีความสด สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน จากเกษตรกรไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งเกษตรกรสามารถบริหารจัดการสินค้าให้เป็นไปตามคำสั่งซื้อผ่านระบบฯ ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง จะทำให้ผู้บริโภค
เกิดความมั่นใจทั้งในเรื่องคุณภาพและราคาของสินค้าด้วย ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สนใจ สามารถแจ้งความประสงค์เพื่อสมัครเข้าใช้งานระบบการสั่งจองสินค้าออนไลน์ Fisheries Shop ได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดสตูล โทร.074-772201 หรือ ติดต่อสอบถามที่กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
กรมประมง โทร 02-5794496 ในวันและเวลาราชการ โดยมีเงื่อนไข คือ จะต้องเป็นเกษตรกร หรือ กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบ.1) และเป็นฟาร์มเลี้ยงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) จากกรมประมง หรือหน่วยงานอื่นที่อยู่ภายใต้การรับรองของกรมประมงเท่านั้น
สำหรับประชาชนที่สนใจอุดหนุนสินค้าประมงสามารถเลือกซื้อได้ทางหน้าเว็บไซด์ของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง หรือสแกน QR Code สั่งจองสินค้าและรับสินค้าได้ ณ สถานที่แจ้งไว้ในระบบ สอบถามรายละเอียดได้ที่ Call Center โทร.02-5620600-15 ในวันและเวลาราชการกรมประมง ขอเชิญประชาชนร่วมอุดหนุนสินค้าสัตว์น้ำ ผ่านระบบการสั่งจองสินค้าสัตว์น้ำออนไลน์รูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ “Fisheries Shop” เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำที่มีความสด สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน จากเกษตรกรไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งเกษตรกรสามารถบริหารจัดการสินค้าให้เป็นไปตามคำสั่งซื้อผ่านระบบฯ ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง จะทำให้ผู้บริโภค
เกิดความมั่นใจทั้งในเรื่องคุณภาพและราคาของสินค้าด้วย ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สนใจ สามารถแจ้งความประสงค์เพื่อสมัครเข้าใช้งานระบบการสั่งจองสินค้าออนไลน์ Fisheries Shop ได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดสตูล โทร.074-772201 หรือ ติดต่อสอบถามที่กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
กรมประมง โทร 02-5794496 ในวันและเวลาราชการ โดยมีเงื่อนไข คือ จะต้องเป็นเกษตรกร หรือ กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบ.1) และเป็นฟาร์มเลี้ยงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) จากกรมประมง หรือหน่วยงานอื่นที่อยู่ภายใต้การรับรองของกรมประมงเท่านั้น
สำหรับประชาชนที่สนใจอุดหนุนสินค้าประมงสามารถเลือกซื้อได้ทางหน้าเว็บไซด์ของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง หรือสแกน QR Code สั่งจองสินค้าและรับสินค้าได้ ณ สถานที่แจ้งไว้ในระบบ สอบถามรายละเอียดได้ที่ Call Center โทร.02-5620600-15 ในวันและเวลาราชการ
วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ณ ห้อง 112 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยผู้แทนธนาคารออมสิน คุณสุดารัตน์ กลิ่นเจริญ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหารลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คุณประสาน พูลเวช รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ผู้แทนชาวประมง คุณปิยะ เทศแย้ม รองนายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และคุณพิชัย แซ่ซิ้ม เลขาสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าว Kick Off เปิดโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับชาวประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ ให้สามารถกู้เงินไปเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยรัฐจะชดเชยให้ ร้อยละ 3 ต่อปี ชาวประมงจ่ายเอง ร้อยละ 4 ต่อปี ทั้งนี้ผู้เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 25 พฤษภาคม 2564 ณ สำนักงานประมงจังหวัดสตูล สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 07 477 2201 ในวันและเวลาราชการ
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้พัฒนาเว็บไซต์ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ (DGTFarm.com) เพื่อเป็นช่องทางให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน วางจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐาน ผ่านการรองรับ และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้า ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและตลอดเวลาบนแพลตฟอร์มออนไลน์จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้เกิดผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้าเกษตรในวงกว้างประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการปรับตัวหันมาเลือกซื้อสินค้าบนแฟลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น มกอช. จึงได้จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ใน 4 หลักสูตร ผู้ที่สนใจสามารถสแกน QR code เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมล่วงหน้าได้ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อประสานงานได้ที่ นางสาววิภาดา แสงขำ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ โทรศัพท์ 0 2561 2277 ต่อ 1509