สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก
การเลี้ยงปลาดุก
ปลาดุกเป็นปลาน้ำจืดที่ชาวไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งพบได้ทั่วไปในทุกภาค ของประเทศ ปลาดุกที่รู้จักกันแพร่หลายนั้น มีอยู่ 2 ชนิด คือปลาดุกด้าน และ ปลาดุกอุย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากคนไทยนิยมบริโภค แม้จะมีขายอยู่ตามตลาดทั่วไป แต่ก็มีราคาสูง ซึ่งพันธุ์ปลาที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “บิ๊กอุย” ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเชีย เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถนำมาเลี้ยงได้หนาแน่น โตเร็ว อีกทั้งยังทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และ เป็นที่นิยมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก
1.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
บ่อดินที่ใช้เลี้ยงปลาดุกโดยทั่วไปจะมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความกว้างตั้งแต่ 20-40 เมตร ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 3 เท่าของความกว้าง โดยจะมีพื้นที่บ่อประมาณ 800-8,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เลี้ยง แต่ที่นิยมเลี้ยงมีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 1,600 ตารางเมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ ตั้งแต่ 80-100 เซนติเมตร บริเวณพื้นก้นบ่อควรมีความลาด และมีแอ่งสำหรับจับปลา
การเตรียมบ่อ การเลี้ยงในบ่อดินจำเป็นต้องมีการเตรียมบ่อที่ดี ถ้าเตรียมบ่อได้ถูกวิธีจะทำให้การเลี้ยงปลาดุกได้ผลถึง 80 เปอร์เซ็นต์
การเตรียมบ่อเลี้ยงควรปฏิบัติ ดังนี้
การเลี้ยงปลาดุก ควรจะหาทางป้องกันการหนีออกจากบ่อ ทั้งนี้เนื่องจากปลาดุกมีนิสัยชอบหนี ออกจากบ่อเลี้ยง โดยเฉพาะขณะที่ฝนตก น้ำไหลลงไปในบ่อ ปลาดุกจะว่ายทวนน้ำ หรือกระเสือกกระสน หนีออกจากบ่อ โดยทั่วไปผู้เลี้ยงปลาดุกมักนิยมล้อมบริเวณขอบบ่อด้วยรั้วไม้รวก หรือตาข่ายไนล่อนให้ มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร
อัตราการปล่อยและการปล่อย
ปลาดุกขนาด ความยาว 7-10 เซนติเมตร ปล่อย 50 ตัว/ตารางเมตร ปลาดุกขนาด ความยาว 3-5 เซนติเมตร ปล่อย 80-100 ตัว/ตารางเมตร
อาหารและการให้อาหาร
ปลาดุกเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผัก ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
- อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ หรือเครื่องในของสัตว์ต่างๆ เช่น เครื่องในของ วัว ควาย หมู ไส้เป็ด ไส้ไก่ และพวกแมลงต่างๆ เช่น ปลวก หนอน ดักแด้ ไหม และไส้เดือน เป็นต้น
- อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายขาว กากถั่ว กากมัน แป้งต่างๆ ข้าวโพด มันสำปะหลัง และผักต่างๆ
- อาหารเม็ดสำเร็จรูป เป็นอาหารเม็ดลอยน้ำมีระดับโปรตีนต่างกัน สูตรโปรตีนสูงสำหรับปลาเล็ก และโปรตีนต่ำลงมาสำหรับปลาขนาดใหญ่ ในการเลือกซื้ออาหารต้องพิจารณา ดังนี้
1.อาหารควรคงทนในน้ำได้นานไม่ต่ำกว่า 15 นาที ถ้าอาหารจมไวจะทำให้ปลากินไม่ทันก่อให้เกิดการสูญเสีย
2.ส่วนประกอบอาหารค่อนข้างละเอียด
การให้อาหารเม็ดลอยน้ำ เป็นแบบที่นิยมเพียงแต่สาดให้ปลากินด้านใดด้านหนึ่งของบ่อ ควรเป็นด้านเหนือลมเพราะกลิ่นอาหารจะกระจายได้ดี ทำให้ปลามากินอาหารได้ดีขึ้น ในครั้งแรกควรหว่านให้เพียงส่วนน้อยก่อน รอสักครู่เมื่อเห็นปลาเริ่มกินมากขึ้นจึงหว่านอาหารที่เหลือลงไป ควรดูให้อาหารหมดพอดีเมื่อปลาหยุดกิน โดยทั่วไป ปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่า อาหารประเภทพืชผัก และแป้ง แต่ถ้าอาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ปลาดุกที่ เลี้ยงเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน ดังนั้น ควรให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์ในอัตรา 30-50 เปอร์เซ็นต์ของอาหารประเภทพืชผักและแป้ง บริเวณที่ให้อาหารในแต่ละครั้งควรจะมีมากกว่า 1 แห่ง เพื่อให้กินอาหารได้ทั่วถึง ปริมาณของอาหารควรให้ประมาน 5% ของน้ำหนักปลาทั้งหมด ที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ ถ้าให้มากเกินไปก็จะทำให้เกิดมาวะน้ำเสีย จะทำให้ปลาชะงักหรือลดการเจริญเติบโต และอาจทำให้ปลาตายได้
ถ้าเป็นอาหารสัตว์ควรนำมาบดและผสมรำในอัตราส่วน อาหาร 9 ส่วนต่อ รำ 9 ส่วน เพื่อให้อาหารเหนียวขึ้น ควรผสมวิตามินซี ในอัตรา 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม หากหาวิตามินซีไม่ได้ ให้โรยผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทดแทน เช่น มะขาม มะนาว ฝรั่ง ส้มโอ เป็นต้น ข้อดีของอาหารสด คือ ปลาที่เลี้ยงจะมีเนื้อเหลืองสวยกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด
2.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อคอนกรีต
บ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2x4 เมตร , 3x4 เมตร และขนาด 5x10 เมตร
บ่อคอนกรีตกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 เมตร , 1 เมตร , 2 เมตร และ 5 เมตร
การเตรียมบ่อ
บ่อปูนใหม่ๆ ควรจะมีการแช่หรือล้างปูนซีเมนต์ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ปูนกัด ผิวหนังของปลาดุก วิธีล้างฤทธิ์ของปูนซีเมนต์ให้ใช้หยวกกล้วยหั่นเป็นท่อนๆ แช่ทิ้งไว้ติดต่อกัน 7-14 วัน โดยเปลี่ยนหยวกกล้วยทุกวัน หรืออาจใช้สารส้มประมาณ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร แช่ทิ้งไว้ 3-4 วัน แล้วทำการระบายน้ำทิ้งแล้วขัดให้สะอาดด้วยแปรง ตากบ่อให้แห้งก่อน และเติมน้ำใหม่ก่อนที่จะทำการเลี้ยง หรือแช่ด้วยน้ำส้มสายชู นาน 3-7 วัน ใส่น้ำในบ่อให้ สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน ก่อนปล่อยพันธุ์ปลาควรใส่เกลือลงไป ในบ่อปลา ประมาณ 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร แล้วจึงนำพันธุ์ปลามาปล่อย และเพิ่มระดับให้สูงขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตร/อาทิตย์ แต่ไม่ควรเกิน 60 เซนติเมตร
อัตราการปล่อยและการปล่อย
-ขนาดปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อคอนกรีต ควรเป็นลูกปลาขนาด 5-7 เซนติเมตร
-อัตราปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง จำนวน 50-70 ตัวต่อตารางเมตร
-การปล่อยปลาควรปล่อยในช่วงเช้า โดยการกวักน้ำในบ่อใส่ลงในถุงปลา ลอยทิ้งไว้ 10 นาที แล้วจึงปล่อยปลาลงบ่อ
อาหารและการให้อาหาร
ในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อคอนกรีต ควรใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ แทนอาหารที่ผสมด้วยปลาเป็ดบดและรำละเอียด เพราะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องกากหรือเศษอาหารตกค้างในปอ อันเป็นสาเหตุทำให้น้ำเน่าเสียได้งาย อาหารเม็ดลอยน้ำง่ายต่อการดูแล การจัดเก็บรักษา สะดวกต่อการให้อาหารปลาและทราบถึงปริมาณอาหารที่ปลากินว่าเพียงพอหรือไม่
การให้อาหารควรปฏิบัติ ดังนี้
-อายุการเลี้ยง 1-60 วัน ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ที่มีระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์
-อายุการเลี้ยง 60-100 วัน ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ที่มีระดับโปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์
-สามารถตรวจสอบคุณภาพอาหารได้ โดยการดมกลิ่นปลาป่นเป็นหลัก กลิ่นปลาป่นแรง คืออาหารมีโปรตีนจำนวนมากและคุณภาพดี ปลาจะโตเร็ว
การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงปลา
ใช้สมุนไพรข้าวเย็นเหนือแห้ง ข้าวเย็นใต้แห้ง และดีเกลือ อัตราส่วน 2:2:1 ต้มเคี่ยวด้วยน้ำ 20 ลิตร นำน้ำสมุนไพรมา 100 มิลลิลิตร (ซีซี) พ่นผสมอาหาร 20 กิโลกรัม ให้สัตว์น้ำในช่วง 7 วันแรก เพื่อลดอาการอาหารไม่ย่อย ส่งผลให้สัตว์น้ำกินอาหารได้ดี และสัตว์น้ำเจริญเติบโตได้ดี
การดูแลสุขภาพระหว่างการเลี้ยง
เพื่อปลาดุกเจริญเติบโตดี ไม่ป่วยเป็นโรค ต้องมีการดูแล ระหว่างการเลี้ยง ดังนี้
1.การถ่ายเทน้ำ เมื่อพบว่าสีของน้ำในบ่อมีสีเขียวเข้มขุ่น ให้ทำการปล่อยน้ำออกทีละน้อยโดยใช้วิธีกาลักน้ำ เอาตะกอนก้นบ่อออกเพื่อลดการหมักหมมของตะกอนในบ่อปลา โดยปล่อยน้ำออกประมาณ 3 ใน 4 ส่วน แล้วเติมน้ำใหม่คุณภาพดีเข้าไปในบ่อจนได้ระดับเดิม
2.คัดขนาดปลาที่ตัวใหญ่ออกทุกๆ 3 สัปดาห์ เพื่อให้การเจริญเติบโตของปลาดีขึ้น
3.เมื่อมีปลาตัวใดผิดปกติ ให้แยกออกเลี้ยงต่างหาก เพื่อป้องกันการป่วยติดกันทั้งบ่อ
ระยะเวลาการเลี้ยง
จะใช้เวลาการเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน ปลามีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 5-8 ตัว/กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่คุณภาพของอาหารที่ใช้เลี้ยงด้วย
3.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
การเลี้ยงปลาดุกของเกษตรกรเนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อีกทั้ง ยังทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมดี ทั้งยังเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชน เนื่องจากรสชาติดี และราคาถูก สำหรับการเลี้ยงปลาดุกเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น สามารถเลี้ยงทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และบ่อพลาสติกปัจจุบันเกษตรกรนิยมหันมาเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อพลาสติกกันมาขึ้น เพราะราคาบ่อพลาสติกมีราคาไม่แพง ขนส่งง่ายในพื้นที่ทุรกันดาร และที่การคมนาคมไม่สะดวก พลาสติกที่ใช้เป็นชนิด PVC ขนาด 3x5 เมตร หรือ 3x6 เมตร หรือ 5x10 เมตร ความหนาไม่ควรต่ำกว่า 0.25 มิลลิเมตร กรมประมงได้แนะนำส่งเสริม ให้เกษตรกรและโรงเรียนเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกขนาด 3.5x5 เมตร หนา 0.25 มิลลิเมตร มีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี
อัตราการปล่อยและการปล่อย 50-70 ตัว/ตารางเมตร
อาหารและการให้อาหาร
ในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ควรใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ถ้าโช้อาหารสดจะทำให้มีเศษอาหารตกค้างในบ่อ และเป็นสาเหตุทำให้น้ำเน่าเสียได้งาย การให้อาหารเม็ดจะง่ายต่อการดูแลจัดเก็บรักษา สะดวกต่อการให้และทราบถึงปริมาณอาหารที่ปลากิน ว่าเพียงพอหรือไม่การให้ อาหารควรถือปฏิบัติ ดังนี้
-อายุการเลี้ยง 1-60 วัน ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ที่มีระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์
-อายุการเลี้ยง 60-100 วัน ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ที่มีระดับโปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์
การให้อาหาร
วันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้นโดยให้อาหารเม็ด ประมาณ 3-7 %ของน้ำหนักตัวปลา ปลาจะเติบโตขนาดประมาณ 100-200 กรัม/ตัว ในระยะเวลาเลี้ยงประมาน 90 วัน อัตรารอดประมาณ 80-90%
อาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถใช้อาหารชนิดต่างๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ หากต้องการลดต้นทุนค่าอาหาร โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่ ปลวก หรือปลาเป็ดบดกับรำ แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยกว่าเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดเพื่อปองกันน้ำเสีย และต้องมีการฝึกให้ปลา กินแต่น้อยๆ ไปก่อน พอกินเป็นแล้ว ค่อยๆ เพิ่มจํานวนขึ้น เนื่องจากปีกแมลงและปากของแมลงแข็ง ทำให้กระเพาะและลำไส้เป็นแผลไป
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับ โดยเพิ่มระดับเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 5 เซนติเมตร/สัปดาห์ ควรเปลี่ยนเมื่อมีการเลี้ยงผ่านไปแล้วประมาณ 1 เดือน โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของน้ำในบ่อ หรือถ้าน้ำเริ่มเสียจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมากกว่าปกติ ถ้าบ่อได้รับแสงแดดมากเกินไปอาจทำให้น้ำมีสีเขียวเข้มเนื่องจากการสังเคราะห์แสงของพิชน้ำ แพลงก์ตอนพืช ซึ่งจะ ทำให้น้ำเสียเร็วขึ้น และปริมาณออกซิเจนในบ่อลดลงในช่วงกลางคืน ควรหาวัสดุสำหรับพรางแสงบังไว้
4.การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง
เนื่องจากการเลี้ยงปลาดุกในบ่อได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง การเลี้ยงปลาดุกในกระชังสามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกและเป็นอาชีพได้ ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นเพียง 3-5 เดือน อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงต่ำ
การปล่อยปลาลงเลี้ยง
ลูกปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงในกระชังควรมีขนาด 10-12 เซนติเมตร อัตราการปล่อย 70-100 ตัวต่อตารางเมตร
อาหารและการให้อาหาร
การให้อาหารให้วันละ 2 เวลา คือตอนเช้ากรณีอาหารผสมเอง และตอนเย็น อาหารหลัก ที่ใช้เลี้ยงมี 3 ชนิด คือ รำละเอียด ปลายข้าว และผักต้มรวมกัน โดยใช้รำละเอียด 1 ส่วน ปลายขาว 1.5 ส่วน เฉลี่ยการให้อาหารปลาประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ส่วนอาหารจำพวก เนื้อสัตว์นั้นให้อาทิตย์ละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 2 กิโลกรัม
5.การเลี้ยงปลาดุกในถังพลาสติก
ในการเลี้ยงปลาดุก เป็นปลาที่คนไทยนิยมกินกันมาแต่ช้านาน ดังนั้น การเลี้ยงปลาดุกเพื่อจำหน่าย หรือ เพื่อใช้เป็นอาหารในครัวเรือนนั้น เป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากปลาดุกถือว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายกินได้ทุกอย่าง และ มีรสชาติที่ถูกปาก คนไทยมาก
ซึ่งการเลี้ยงปลาดุกสามารเลี้ยงได้มากมายหลายวิธีทั้ง บ่อดิน บ่อปูน หรือ แม้แต่ในกะละมังพลาสติก เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการเลี้ยงที่เริ่มได้รับความนิยม และ ต้นทุนต่ำบวกกับการบริหารจัดการบ่อได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ ถังพลาสติก ที่นิยมนำมาใช้ในภาคการเกษตร เนื่องจากพลาสติกจะไม่มีสารพิษรั่วไหลเมื่อใช้ไปเป็นเวลานาน ซึ่งสารพิษที่ว่านี้จะพบมากในพลาสติกประเภท PVC หรือ พลาสติกชนิดเคลือบผิวต่างๆ
ขนาดของถังพลาสติก 100x70x20 เซนติเมตร นำมาเจาะรูไว้ด้านล่างเพื่อให้น้ำไหลออก ด้านบนถังพลาสติก ทำการเจาะรูเพื่อขึงตาข่าย สูง 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการกระโดดของปลาดุก และเป็นการป้องกันศัตรูของปลา
อัตราการปล่อยและการปล่อย 50-70 ตัว/ตารางเมตร 1 กะละมังสามารถปล่อยปลาได้ 100-150 ตัว
อาหารและการให้อาหาร
ในการเลี้ยงปลาดุกในถังพลาสติก ควรใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ถ้าใช้อาหาร สดจะทำให้มีเศษอาหารตกค้างในบ่อ และเป็นสาเหตุทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย การให้อาหารเม็ดจะง่ายต่อ การดูแลจัดเก็บรักษา สะดวกต่อการให้และทราบถึงปริมาณอาหารที่ปลากิน ว่าเพียงพอหรือไม่การให้ อาหารควรถือปฏิบัติ ดังนี้
-อายุการเลี้ยง 1-60 วัน ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ที่มีระดับไปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์
-อายุการเลี้ยง 60-100 วัน ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ ที่มีระดับโปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์
การให้อาหาร
วันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้นโดยให้อาหารเม็ด ประมาณ 3-7 % ของน้ำหนักตัวปลา ปลาจะเติบโตขนาดประมาณ 100-200 กรัม/ตัว ในระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 90 วัน อัตรารอดประมาณ 80-90 %
อาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถใช้อาหารชนิดต่างๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ หากต้องการลดต้นทุนค่าอาหารโดยใช้อาหารพวกไส้ไก่ ปลวก หรือปลาเป็ดบดกับรำ แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยกว่าเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดเพื่อป้องกันน้ำเสีย และต้องมีการฝึกให้ปลา กินแต่น้อยๆ ไปก่อน กินเป็นแล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น เนื่องจากปีกแมลงและปากของแมลงแข็ง ทำให้กระเพาะและลำไส้เป็นแผลได้
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับ โดยเพิ่มระดับเปลี่ยนถ่ายน้ำ ประมาณ 5 เซนติเมตร/สัปดาห์ ควรเปลี่ยนเมื่อมีการเลี้ยงผ่านไปแล้วประมาณ 1 เดือน โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำ ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของน้ำในบ่อ หรือถ้าน้ำเริ่มเสียจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมากว่าปกติ ถ้าบ่อได้รับแสงแดดมากเกินไปอาจทำให้น้ำมีสีเขียวเข้ม เนื่องจากการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ แพลงก์ตอนพืช ซึ่งจะทำให้น้ำเสียเร็วขึ้น และปริมาณออกซิเจนในบ่อลดลงในช่วงกลางคืน ควรหาวัสดุสำหรับพรางแสงบังไว้
การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงปลา
ใช้สมุนไพรข้าวเย็นเหนือแห้ง ข้าวเย็นใต้แห้ง และดีเกลือ อัตราส่วน 2:2:1 ต้มเคี่ยวด้วยน้ำ 20 ลิตร นำน้ำสมุนไพรมา 100 มิลลิลิตร (ซีซี) พ่นผสมอาหาร 20 กิโลกรัม ให้สัตว์น้ำในช่วง 7 วันแรก ลดอาการอาหารไม่ย่อย สัตว์น้ำกินอาหารได้ดี สัตว์น้ำเจริญเติบโตได้ดี
คณะผู้จัดทำ
นายบุญส่ง ศิริมา ประมงจังหวัดนครนายก
นางสาวมัลลิกา วรรณประภา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง
นายอนิวรรตน์ สมชีวิตา นักวิชาการประมงปฏิบัติการ
นายปรัชญา ชมเชย นักวิชาการประมง
นายปณิธาน ยิ้มพงษ์ นักวิชาการประมง
ติดต่อ
สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก ศูนย์ราชการจังหวัดนครนายก ชั้น 5 ถนน สุวรรณศร อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก โทร/โทรสาร 037-311-024
E-mail : Fpo-nakhonnayok@dof.in.th
คู่มือ โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษบนกระเบื้องและเกษตรผสมผสาน กิจกรรมบ่อเลี้ยงปลา ปีงบประมาณ 2564
กดเพื่อโหลดไฟล์ PDF ฉบับเต็มตรงนี้